โครงการพัฒนาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กตามมาตรฐาน ประจำปี 2564
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กตามมาตรฐาน ประจำปี 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L4120-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร |
วันที่อนุมัติ | 17 พฤศจิกายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2564 |
งบประมาณ | 45,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายยูสนิง หะมะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.105,101.204place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 2 ธ.ค. 2563 | 31 ธ.ค. 2563 | 45,950.00 | |||
รวมงบประมาณ | 45,950.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนางานสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต เน้นการสร้างเสริม โดยมีเป้าหมายเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่่งตนเองด้านสุขภาพได้ รัฐเป็นผู้สนับสนุนและระบบบริการสุขภาพก็ต้องมีการพัฒนาให้มีคุรภาพเพื่อที่ประชาชนเข้าถึงได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ โดยการร่วมมือกับองค์กรภาคประชาชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน งานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานส่งเสริมสุขภาพงานหนึ่งซึ่งหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครบตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเพื่อควบคุมความเสี่ยงและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ภายใต้บริบทการเข้าถึงการบริโภคข่าวสารข้อมูลทางสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กปีของจังหวัดยะลา ปี 2563 พบว่ายอดการตั้งครรภ์สูงขึ้นร่วมกับหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นเดียวกัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร พบรายใหม่ 124 รายมีภาวะเสี่ยง 22 ข้อ จำนวน 117 รายคิดเป็นร้อยละ 94.35 เป็นโรคเสี่ยงสูง 5 โรคจำนวน 8 รายคิดเป็นร้อยละ 6.45 ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ 84.96 ตามตัวชี้วัด>60% หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ร้อยละ 16.12 ตามตัวชี้วัด < 10% ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 77.55 ตามตัวชี้วัด>60% ได้รับยาเสริมไอโอดีนร้อยละ 99.45 ตามตัวชี้วัด>10% ดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 74 ตามตัวชี้วัด >65% น้ำหนักแรกคลอดน้อย 2,500 กรัมร้อยละ 4.41 ตามตัวชี้วัด 50% หญิงตั้งครรภ์ต้องไปทำงานต่างถิ่นร่วมกับสามีร้อยละ 7.69 สามีทำงานต่างถิ่นร้อยละ 12.8 หญิงตั้งครรภ์มีความเครียดทางเศรษฐกิจขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 8.54
ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวถึงแม่ว่า หลายตัวอาจจะผ่านตัวชี้วัด บางตัวเป็นปัญหาเฉพาะหญิงเสี่่ยงสูงและการทำงานต่างถิ่น และถึงแม้ว่า รพ.สต บ้านแหร ได้ผ่านการประเมินมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กปี 2559 แล้ว แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งมาตฐานการดูแลเพื่อความปลอดภัยส่งเสริมลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ร่วมกับพัฒนาคุณชีวิตของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวควบคู่ร่วมด้วย โดยความสำเร็จกิจกรรมดังกล่าวสืบเนื่องจาก รพ.สต ได้มีโครงการรองรับและอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา ของทุกภาคส่วนหรือภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน (อบต.บ้านแหร) ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของตำบลบ้านแหร บรรลุตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้และเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์และชุมชน ส่งผลสูงสุดต่อประชาชนผู้รับบริการทั้งแม่และเด็ก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร และองค์กรในชุมชนทุกภาคส่วนจึงร่วมกันจัดทำ โครงการพัฒนาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กตามมาตรฐาน ประจำปี 2564 เพื่อบรรลุตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพแม่และเด็ก ส่งเสริมกิจกรรมขณะตั้งครรภ์และรักษาซึ่งมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อสร้างเครือข่ายบูรณาการเชิงรุกในการติดตามและให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่างๆ มีตัวแทนคณะกรรมการจากเครือข่ายบูรณการทั้ง 7 หมู่บ้าน ร้อยละ 100 |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ผลลัพท์การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กผ่านตัวชี้ตัวที่กำหนดร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | 3.เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก เช่นในกลุ่มหญิงวัยรุ่น หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงมีครรภ์ ผู้เข้าการอบรมในแต่ละกลุ่มมีเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจร้อยละ 80 |
0.00 | |
4 | 4.เพื่อให้มีกิจกรรมผ่อนคลายลดปัญหาภาวะเครียดในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ไม่พบปัญหาด้านความเครียด ด้านสุขภาพจิตในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเสี่ยง |
0.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ธ.ค. 63 | ม.ค. 64 | ก.พ. 64 | มี.ค. 64 | เม.ย. 64 | พ.ค. 64 | มิ.ย. 64 | ก.ค. 64 | ส.ค. 64 | ก.ย. 64 | ต.ค. 64 | พ.ย. 64 | ธ.ค. 64 | ม.ค. 65 | ก.พ. 65 | มี.ค. 65 | เม.ย. 65 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและภาวะเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมาย(1 ธ.ค. 2563-31 ธ.ค. 2564) | 31,750.00 | |||||||||||||||||
รวม | 31,750.00 |
1 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและภาวะเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมาย | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 215 | 31,750.00 | 5 | 31,750.00 | 0.00 | |
16 เม.ย. 64 | การจัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการอนามัยแม่และเด็ก ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ | 50 | 6,250.00 | ✔ | 6,250.00 | 0.00 | |
3 ธ.ค. 64 | การจัดประชุมแกนนำเครือข่ายตำบลนมแม่ | 15 | 3,750.00 | ✔ | 3,750.00 | 0.00 | |
17 ธ.ค. 64 | การจัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการอนามัยแม่และเด็ก ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ที่อยู่กินกับสามี | 50 | 6,250.00 | ✔ | 6,250.00 | 0.00 | |
30 ธ.ค. 64 | การจัดอบรมให้ความรู้และสาธิตกิจกรรมพิมเสมน้ำแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะเครียด | 50 | 9,250.00 | ✔ | 9,250.00 | 0.00 | |
19 เม.ย. 65 | การจัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะซีน และภาวะเสี่ยงในก่อนการตั้งครรภ์ ในกลุ่มนักเรียนหญิง ชั้น ป.6 และชั้นศาสนาตอนปลาย | 50 | 6,250.00 | ✔ | 6,250.00 | 0.00 | |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 200 | 45,950.00 | 1 | 0.00 | 45,950.00 | |
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 | อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและภาวะเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมาย | 200 | 45,950.00 | ✔ | 0.00 | 45,950.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 415 | 77,700.00 | 6 | 31,750.00 | 45,950.00 |
1.สรุปผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา 2.จัดทำโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร 3.คัดเลือกและออกคำสั่งแต่งตั้งแกนนำเครือข่ายตำบลนมแม่ และกำหนดวาระการประชุมกรรมการ 4.แต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงานประชาสัมพันธ์ 5.การจัดสื่อ ประชาสัมพันธ์อนามัยแม่และเด็ก และกิจกรรมการรณรงค์ใช้สื่อสาธารณะ ดังนี้ - ป้ายประชาสัมพันธ์ - ป้ายรณรงค์ ภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ 6.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องงานอนามัยแม่และเด็กในรูปแบบ การจัดประชุม/อบรมตามกลุ่มเป้าหมายและหลักสูตรต่างๆ 7.รพสต จัดทำมาตรฐานการดูแลในช่วงก่อนตั้งครรภ์/คลอด/สุขภาพเด็กดี (WCC) เพื่อประเมินส่วนขาดพัฒนาตามาตรฐาน MCH 8.รพสต.จัดมุม/จัดห้อง ANC/WCC ประชาสัมพันธ์และรายงานผลการดำเนินงาน 9.การติดตามเยี่ยยมบ้านเชิงรุก การออกให้บริการฝากครรภ์นอกสถานที่ และติดตามเยี่ยมหลังคลอด 10.ประเมินผลโครงการ
1.กลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่นหญิงวัยรุ่น หญิงวัยเจริญพันธ์ และหญิงมีครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปกิบัติตัวเพื่อลดปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก 2.เกิดเครื่อข่ายบูรณการเชิงรุกในการติดตามและให้ความรู้กับกลุ่มเสี่ยงต่างๆ 3.มีระบบการให้บริการงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้คุณภาพมาตรฐาน 4.มีกิจกรรมเสริมเพื่อผ่อนคลายความเครียดในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 10:52 น.