โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2564
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L4120-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร |
วันที่อนุมัติ | 17 พฤศจิกายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2564 |
งบประมาณ | 27,870.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายยูสนิง หะมะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.105,101.204place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 2 ธ.ค. 2563 | 31 ธ.ค. 2563 | 27,870.00 | |||
รวมงบประมาณ | 27,870.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มเป้าหมาย 30-70 ปี จำนวน 990 ราย ได้รับการคัดกรอง 805 ราย คิดเป็นร้อละ 81.31 พบความผิดปกติ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.49 และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ในเขตพื้นที่ รส สต บ้านแหร พบว่ากลุ่มเป้าหมาย865 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปี 2558 -2562 จำนวน 342 ราย ร้อยละ 39.53 จากข้อมูลพบว่ากลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ เนื่องจากยังขาดความรู้และความเข้าใจ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อนำ่สู่การปรับทัศนคติและให้ความสำคัญกับการตรวจทั้งมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ดังนั้น รพ สต บ้านแหร จึงได้จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2564 เพื่อเป็นการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ที่ยังปฏิเสธและยากที่จะเข้าถึงบริการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและทำต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน |
0.00 | |
2 | 2.สตรีกลุ่มเป้ัาหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมมตรฐานอย่างมีคุณภาพ พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ |
0.00 | |
3 | 3.ความครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกมีอัตราเพิ่มขึ้น มีความครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกกลุ่มเป้าหมาย 30-60 ปี ร้อยละ 80 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 27,870.00 | 1 | 27,870.00 | 0.00 | |
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 | อบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรอง กลุ่มเป้าหมาย | 100 | 27,870.00 | ✔ | 27,870.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 100 | 27,870.00 | 1 | 27,870.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุม อสม.และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ 2. วิเคราะห์ปัยหาที่พบและจัดทำแผนการดำเนินงาน 3.เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ 4.ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน 6.ดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมการดำเนินการ 1.จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี 2.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรี อายุ 30-60 ปี ที่ยังปฏิเสธและยากที่จะเข้ามาถึงการรับบริการ - ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปกามดลูก - สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง - การตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pep Smear 3.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ 4. อสม ให้ความรู้/สอนทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเป้ากหมายในเขตรับผิดชอบ 5.จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 6. แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่ผุ้รับบริการ 7.ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและได้รับการรักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง 8.ประเมินผลการดำเนินงาน
1.ความครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกมีอัตราที่เพิ่มขึ้น 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 3.พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 4.ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 11:07 น.