กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L1479-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นางธิดา หูดัง
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 กุมภาพันธ์ 2564 - 4 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 22,826.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธิดา หูดัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.101,99.581place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ก.พ. 2564 4 ก.พ. 2564 22,826.00
รวมงบประมาณ 22,826.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งอายุระหว่าง 2 ขวบครึ่งถึง 5 ขวบ คือ ปัญหาโรคฟันน้ำนมผุ โดยข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ปี 2560 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 47.1 ในขณะที่ภาคใต้ พบว่าเด็ก ๓ ปี มีอัตราการเกิดสูงอันดับที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ เป็นร้อยละ 57.0
ผลการตรวจฟันระดับจังหวัดตรังประจำปี ๒๕๖๒ อำเภอปะเหลียนมีจำนวนเด็ก ๓ ปี อัตราฟันน้ำนมผุ
ร้อยละ ๖๒.๓ และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกรมีจำนวนเด็กฟันผุทั้งหมดร้อยละ ๓๖.๕ แม้นเด็กส่วนใหญ่จะมีปัญหาฟันน้ำนมผุมาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แต่ในช่วงที่เด็กได้รับการดูแลจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กมีปัญหาฟันน้ำนมผุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากเด็กในช่วงวัยนี้มีโอกาสสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ เช่น เด็กมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมเช่นการบริโภคขนมหวานเหนียวติดฟัน น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว มีพฤติกรรมติดขวดนมและไม่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ส่งผลให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกือบทุกคนเป็นโรคฟันผุ และบางคนฟันผุเกือบทั้งปาก ทั้งนี้ มีการวิจัยที่พบว่าการมีฟันผุหลายซี่ในปาก มีความสัมพันธ์กับภาวะแคระแกร็น (Stunt) ของเด็ก ปัญหาฟันน้ำนมผุส่งผลเสียต่อพัฒนาการ และสุขภาพของเด็กทั้งในช่วงวัยเด็กและในระยะยาว การป้องกันและแก้ปัญหาฟันน้ำนมผุให้มีประสิทธิผล ต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะที่แม่ตั้งครรภ์ ช่วงของการเลี้ยงดูที่บ้าน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกรจึงจัดทำโครงการ การส่งเสริมและดูแลสุขภาพช่องปาก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดหรือยับยั้งอัตราการเพิ่มของโรคฟันน้ำนมผุของเด็กปฐมวัย ๒. เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี ๓. เพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน

๑. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกรมีอัตราการสูญเสียฟันจากฟันผุลดลง ๒. เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี ๓. เด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 85 22,826.00 0 0.00
4 ก.พ. 64 โครงการส่งเสริมและดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ 85 22,826.00 -

๑. จัดทำโครงการ และขอเสนออนุมัติโครงการ ๒. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ๓.ตรวจสุขภาพช่องปาก/ฟันผุ และการอุดฟัน ๔. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกรมีอัตราการสูญเสียฟันจากฟันผุลดลง ๒. เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี ๓. เด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 10:19 น.