กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วมและร่วมพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วม ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3011-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มกราคม 2564 - 15 มกราคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 76,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดินันท์ หะยีสามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 760 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สภาพอากาศบริเวณภาคใต้ พบว่าในช่วงวันที่ 4-8 มกราคม 2564 มีฝนตกหนักในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง ส่งผลให้เกิดภาวะอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้นที่ร่วมถึงพื้นที่ตำบลตะลุโบะ ถือเป็นวิกฤติการณ์อีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดความเสียหายตามมา ประชาชนที่ประสบปัญหาด้านปัจจัยในการดำรงชีวิต อาหารสิ่งของอุปโภคบริโภค รวมจนถึงผลกระทบที่จะส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจทั้งในระหว่างที่เกิดอุทกภัย และหลังจากเกิดอุทกภัย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชนในชุมชน ให้สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนอย่างมากของประชาชน อันได้แก่ การเกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ การป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์อุทกภัย การรักษาพยาบาลเบื้องต้นในพื้นที่ และศูนย์อพยพ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบด้านสุขภาพโดยรวมจากสถานการณ์ในครั้งนี้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร น้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ภาวะซึมเศร้า ปัญหาความเครียด และปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มีผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ มีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคน้ำกัดเท้า หรือ บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วมส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่ม ตลอดจนการระบาดของโรคฉี่หนู หรือ โรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องดำเนินโครงการเผชิญและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติเพื่อช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ภาวะน้ำท่วมให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กและสตรีมีครรภ์ ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงประชาชนกลุ่มอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้ ให้สามารถได้รับการช่วยเหลือและดูแลในสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

๑. ร้อยละ 80 ผู้ประสบภัยพิบัติ ได้รับการดูสุขภาพหลังภาวะอุทกภัย 2. สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 760 76,000.00 2 76,000.00
27 เม.ย. 64 การสำรวจผลกระทบจากอุทกภัยและการบรรเทาปัญหาสุขภาพจากอุทกภัย 0 0.00 -
27 เม.ย. 64 จัดซื้อและมอบชุดยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วม 760 76,000.00 -
20 ต.ค. 64 การสำรวจผลกระทบจากอุทกภัยและการบรรเทาปัญหาสุขภาพจากอุทกภัย 0 0.00 0.00
21 ต.ค. 64 การจัดซื้้้้้อและมอบชุดยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วม 0 0.00 -
21 ต.ค. 64 การจัดซื้้้้้อและมอบชุดยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วม 0 0.00 76,000.00
  1. คณะกรรมการกองทุนอนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณกองทุนฯ 5-10% หรือ มากกว่าเพื่อรับมือภัยพิบัติ
  2. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุน
  3. ดำเนินอนุมัติโดยนายกฯ ให้ดำเนินโครงการ
  4. การสำรวจผลกระทบจากอุทกภัยและการบรรเทาปัญหาสุขภาพจากอุทกภัย
    • เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณาสุขประจำหมู่บ้าน ลงพื้นที่สำรวจ ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่
  5. จัดซื้อและมอบชุดยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วม
    1. การฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนและสถานที่น้ำท่วม ป้องกันการระบาดของโรคภายหลังน้ำท่วม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนไม่เกิดโรคจากน้ำท่วม
  2. ประชาชนได้รับการดูแลเบื้องต้นทางสุขภาพภายหลังจากน้ำท่วม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2564 16:43 น.