กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติดTO BE NUMBER ONE

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนผดุงมาตร

หาดตะโล๊ะสือมีแลตำบลแหลมโพธิ์อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กและเยาวชน ขาดความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

 

25.00
2 เด็กและเยาวชนที่ไม่เข้าถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในการป้องกันปัญหายาเสพติด

 

25.00
3 จำนวนเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาทางครอบครัว

 

25.00

จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันจัดได้ว่าอยู่ในชั้นวิกฤตการแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมีการผลิตยาเสพติดในประเทศและมีการลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศจุดอ่อนที่สำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวของปัญหายาเสพติดมาจากปัจจัยต่างๆเช่นการแพร่ระบาดค่านิยมพฤติกรรมเสี่ยงและก้าวไปสู่ปัญหายาเสติดที่เพิ่มมากขึ้นอันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติดอีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคม เช่นการลักขโมยฉกช่ิงวิ่งราวการเกิดปัญหาอาชญากรรมอื่นตามาอีกมากมายซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวมตามพระราบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2537 แก้ใขเพ่ิมเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546เนื่องจากการป้องกันและแก้ไข้ปัญหายาเสพติดโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ดังนั้นชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนผดุงมาตร จึงได้ตระหนังถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อให้ความรู้ คำแนะนำแนวทางป้องกันแก่เด็กและเยาวชนรวมทั้งร่วมเป็นเครือข่ายเฝ่าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียนและชุมชนภายในตำบลผดุงมาตร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

เด็กและเยาวชนมีความรู้และความเข้าใจถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

25.00 25.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในการป้องกันปัญหายาเสพติด

เด็กและเยาวชนเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในการป้องกันปัญหายาเสพติด

25.00 25.00
3 เพื่อลดจำนวนเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาทางครอบครัว

เด็กและเยาวชนมีครอบครัวที่สมบูรณ์และมีความสุข

25.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานในการอบรม 5

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(วันแรก ประกอบด้วย) 1. อบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติด2.อบรมให้ความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของตนเองในการป้องกันปัญหายาเสพติด3.บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักธรรมและมารยาทในสังคมของเยาวชน4.กิจกรรมละลายพฤติกรรม งบประมาณ1.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.0 X 3.0 เมตรเป็นเงิน 690 บาท2. ค่าวัสดุุในการอบรมเป็นเงิน 2,400 บาทประกอบด้วย2.1. กระเป๋าใส่เอกสารจำนวน 25 ใบๆ ละ 80 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท2.2. ค่าสมุคจดบันทึก จำนวน 25 เล่มๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 250 บาท2.3.ค่าปากกาลูกลื่นจำนวน 25 ด้ามๆ ละ 6 บาทเป็นเงิน 150 บาท3. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 ชุดๆ ละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 1,500 บาท4.ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท 5. ค่าอาหารเย็นพร้อมน้ำดืีม จำวนวน 30 คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท6.ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน 4 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท7.ค่าพาหนะไป-กลับ จำนวน 2 คันๆ ละ 2,000 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท8. ค่าห้องพักจำนวน 9 ห้องๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท9.ค่าห้องประชุมจำนวน 2 วันๆ ละ 2,000 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนมีความรู้และเข้าใจถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31190.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กิจกรรมนันทนาการและบำเพ็ญประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กิจกรรมนันทนาการและบำเพ็ญประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(วันที่สอง ประกอบด้วย)1.ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและปฏิบัติพร้อมกัน 2.กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เก็บขยะตามชายหาด3.อบรมให้ความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดในครอบครัวและสังคม งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 30 ชุดๆ ละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 1,500 บาท 2. ค่าอาหารเช้าพร้อมน้ำดื่มจำนวน 30 คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท 3.ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดืีมจำนวน 30 คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท4.ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน 3 คนๆ ละ2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและเยาวชน มีความรู้และเข้าใจถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2.เด็กและเยาวชนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในการป้องกันปัญหายาเสพติด
3.เด็กและเยาวชนมีความรักและความสามัคคีกัน


>