กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชาวกะรุบีร่วมใจ ห่างไกลไข้เลือดออก ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง

นางพนิดา กุลุแป

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องด้วยพื้นที่ชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าสวนยางพารา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้มีการระบาดของการเกิดโรคได้ง่ายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาคือ ประชาชนขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพและการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เพราะความเชื่อเดิมๆที่ไม่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคและวิถีชีวิตที่ประกอบอาชีพกรีดยางพารา การใช้กะลาให้การรองน้ำยางซึ่งหลังการเก็บยางนั้นทำให้มีน้ำขังในกะลาก่อให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายได้ง่าย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีการทิ้งขยะรอบๆบ้าน ไม่มีการกำจัดที่ถูกวิธีทำให้เกิดการเพาะพันธ์ยุงลาย ก่อนหน้านี้ ชุมชุนมีการนำเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงหลาย เช่น การพ่นหมอกควัน การใช้ทรายอะเบท และการใช้สมุนไพรมาใช้ในการช่วยควบคุมการติดต่อของโรค
ทางทีมงานเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อให้คนในชุมชุนตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรค และได้มีส่วนร่วมในชุมชุนการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงด้วยกัน เป็นการสร้างเสริมกิจกรรมในชุมชุนร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียน

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียน ร้อยละ 80

80.00 50.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายใน โรงเรียนและชุมชน

ค่า HI , ค่า CI ลดลง ร้อยละ 60

80.00 60.00
3 เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนัก ถึงภัยโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ  ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ร้อยละ 80

50.00 80.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

สามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหา และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 60

40.00 60.00
5 เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหา และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนัก ถึงภัยโรคไข้เลือดออกและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่ง

60.00 80.00
6 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

ความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 56
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 29/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เดินรณรงค์และแจกแผ่นพับให้ความรู้ ทำความสะอาดในชุมชุนที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายร่วมกัน 3 เดือนครั้ง ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน(5,6,8) หมู่บ้านละ 3 ครั้ง/ปี

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์และแจกแผ่นพับให้ความรู้ ทำความสะอาดในชุมชุนที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายร่วมกัน 3 เดือนครั้ง ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน(5,6,8) หมู่บ้านละ 3 ครั้ง/ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เดินรณรงค์และแจกแผ่นพับให้ความรู้ ทำความสะอาดในชุมชุนที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายร่วมกัน 3 เดือนครั้ง ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน(5,6,8) หมู่บ้านละ 3 ครั้ง/ปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5100.00

กิจกรรมที่ 2 ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลายและพ่นยุงในครัวเรือน พ่น 3 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ และในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม

ชื่อกิจกรรม
ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลายและพ่นยุงในครัวเรือน พ่น 3 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ และในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลายและพ่นยุงในครัวเรือน  พ่น 3 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ และในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พื้นที่เป้าหมายมีความปลอดภัยจากยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,840.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียน
2.ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในโรงเรียนลดลงและชุมชน พื้นที่รอบๆบ้านประชาชนในชุมชนสะอาดน่าอยู่ขึ้น
3.เกิดความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนัก ถึงภัยโรคไข้เลือดออกและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>