กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนตลาดสดเทศบาล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

กลุ่มอสม.ชุมชนตลาดสดเทศบาล

1.นาย ชาตรีทิมพวงทอง0894675482
2.นางทับทิมศรีลายกาญจนไพบูลย์
3.นางกัญมนต์วณิชย์ไกวัล
4.นางปราณีชินวรพิทักษ์
5.นางนวลอนงค์นุคระอานนท์

ในชุมชนตลาดสดเทศบาล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ปัญหาโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาลำดับต้นๆของประเทศ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ทุกชนิด และจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. 2554 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1ใน10 ของประชาชน ในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีปัจจัยมาจากสภาวะความเป็นอยู่วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่การบริโภค เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มี จำนวนเพิ่มขึ้น และจากการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกพบผู้ป่วยในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายในการดูแลสุขภาพประชาชน เพื่อ ป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เหล่านี้โดยการตรวจค้นหา คัดกรองสุขภาพของประชาชนและการควบคุม ปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะ คิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค
จากการปฏิบัติงาน ของกลุ่มอสม.ชุมชนตลาดสดเทศบาล พบว่าปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง พบว่าปี 2564 มีประชากรในชุมชนทั้งหมดจำนวน 703 คนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับ การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 438 ราย พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.42 กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน92 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.01ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 438 ราย พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.22 กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.10 (ข้อมูลจากศูนย์บริการสาธารณสุขสวนน้ำฯ วันที่ 14 กันยายน 2565) และจากการปฏิบัติงานยังพบอีกว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ขาดการป้องกัน ควบคุม รักษาอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องมีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคไต หัวใจ อัมพฤก อัมพาต จนเกิดความพิการทางด้านร่างกายสูญเสียสุขภาวะตามมา
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มอสม.ชุมชนตลาดสดเทศบาล ได้เล็งเห็นถึงอันตรายของโรคดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนตลาดสดเทศบาล ขึ้น เพื่อสร้างศักยภาพให้แกนนำสุขภาพและประชาชนชุมชนในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชนได้รับการส่งต่อ และรักษาได้ทันท่วงที อนึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดความพิการ ทุพพลภาพ จากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาได้ต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/09/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม และครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล เครื่องวัดส่วนสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม และครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล เครื่องวัดส่วนสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปและแกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปและแกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11700.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผล ประเมินผล กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในรอบ 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผล ประเมินผล กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในรอบ 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,600.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. ประชุมวางแผนการดำเนินการจัดโครงการ
- ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประชุมปรึกษารูปแบบของโครงการ
- จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ วันและเวลาตลอดจนรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
2. กิจกรรม จัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม และครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล
เครื่องวัดส่วนสูง เครื่องตรวจเบาหวาน
3. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้สร้างศักยภาพแก่แกนนำสุขภาพและประชาชนในชุมชน
4. กิจกรรม เฝ้าระวังคัดกรองกลุ่มเสี่ยง เพื่อค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคแก่กลุ่มเสี่ยง
5. ส่งต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่
6. กิจกรรมติดตามผล ประเมินผล กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทุก 3 เดือน
7. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง.

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุขภาพและประชาชนชุมชนมีศักยภาพในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจากแกนนำสุขภาพและประชาชนที่มีความรู้และศักยภาพ และได้รับความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรค
3. กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ได้รับการส่งต่อ และรักษาได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการขาดสุขภาวะ


>