กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเบตงฮูลูร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

กลุ่มอสม. ชุมชนเบตงฮูลู

1. นางสาวปรารถนาธัมมากาศประธานอสม.
2. นางอังสนา สะมะแอรองประธานอสม.
3. นางฮารอฮะมะบาฮาเลขานุการ
4. นาย อารยะ อิมัมกรรมการ
5. นางอัจฉรา บือโตกรรมการ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสาธารณสุขไทยตลอดระยะเวลาหลายปี เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความเจ็บป่วยในระดับรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิต เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลพุ่งสูงขึ้น เกิดความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาอย่างต่อเนื่องชุมชนเบตงฮูลูก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ชุมชนเบตงฮูลู มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 395 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,434 คน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 6 ราย ในปี พ.ศ.2560 – 2561และในปี 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 11 ราย ในปี 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย(ข้อมูลจากศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองศาลาประชาคม) จากผลการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามบ้านจำนวน 250 ครัวเรือน (HI,CI) พบลูกน้ำยุงลาย 52 ครัวเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจ 413 ชิ้น พบลูกน้ำยุงลายจำนวน 86 ชิ้น มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) คิดเป็นร้อยละ 13 และ 23 ตามลำดับซึ่งเกินค่ามาตรฐาน
โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วย ในช่วงเดือน มีนาคม-กันยายน ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน อสม, เบตงฮูลู เล็งเห็นว่า การแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน โรงเรียน มัสยิด การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาล โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1.ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยน เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อย ปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่าง ๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝน ต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น อสม. ชุมชนเบตงฮูลู จึงได้จัดทำโครงการเบตงฮูลูร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2565 เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพื่อความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนตามเป้าหมายเพื่อป้องกันและลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
เป้าหมายการอบรม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน

ร้อยละ 80 ประชากรในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31070.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสรุปผล (จำนวน 4 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสรุปผล (จำนวน 4 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,370.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์โรคมาจัดทำโครงการ
2. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง และกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเดินการ
3. ทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง เพื่อขอสนับสนุนฯ
4. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
5. ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้
- อบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ประชาชน โดยวิทยากร เรื่อง โรคไข้เลือดออก
- สาธิตและปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
- อสม. และอสม.น้อย ออกสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และประเมินค่า HI,CI ในชุมชนมัสยิด ทุกเดือน/ ทุกแห่ง
- รณรงค์ภายในชุมชนให้ตระหนักถึงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก
6. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดได้
2. มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง


>