กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบี

ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545มาตรา 18(9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น มีมติเมื่อวันที่27 กุมภาพันธ์ 2549เห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ซึ่งหมายถึง กองทุนสุขภาพตำบล โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่มีสวัสดิการชุมชนรองรับและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยการบริการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่ในระดับท้องถิ่น เป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นโยบายดังกล่าวยังสอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจบนหลักแนวคิดลดบทบาทของรัฐส่วนกลางในการดำเนินการเอง ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบีได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบีขึ้นเพื่อบริหารจัดการงานกองทุนให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกิดประโยชน์สูงสุดแก่การบริหารจัดการงานกองทุน และอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุนฯ ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบริหารจัดการของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

1.มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน

1.กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 2.กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00

ข้อที่ 1เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุนฯ ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบริหารจัดการของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เพื่อพิจารณาแผนงาน โครงการ กลั่นกรอง ติดตามผลการดำเนินการโครงการ และรับทราบรายงานสถานะการเงินกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เพื่อพิจารณาแผนงาน โครงการ กลั่นกรอง ติดตามผลการดำเนินการโครงการ และรับทราบรายงานสถานะการเงินกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนที่ปรึกษา จำนวน 3 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 400 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 17 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 400 บาท เป็นเงิน 20,400 บาท -ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 19 คนๆละ3ครั้งๆละ300บาท เป็นเงิน 11,400 บาท -ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 10 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 300 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือฯ คณะอนุกรรมการLTC

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41400.00

กิจกรรมที่ 2 2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการฯ คณะทำงาน ฯลฯ

ชื่อกิจกรรม
2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการฯ คณะทำงาน ฯลฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามระเบียบของทางราชการฯ  จำนวน  5,000   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 3. ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานที่จำเป็น

ชื่อกิจกรรม
3. ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานที่จำเป็น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ เช่น ตู้เก็บเอกสาร กระดาษถ่ายเอกสาร A4, ปากกา ดินสอ ยางลบ ฯลฯ จำนวน  6,727  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุ ครุภัณฑ์ ในการดำเนินโครงการบริหารจัดการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6727.00

กิจกรรมที่ 4 4.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ เช่น ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการรับรองการประชุม หรือการตรวจเยี่ยม

ชื่อกิจกรรม
4.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ เช่น ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการรับรองการประชุม หรือการตรวจเยี่ยม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  5,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,627.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีการดำเนินงานบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.คณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุนฯ ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ
3.การเสนอแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
4.การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีหรือทรัพย์สินในกองทุนฯเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด


>