กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพในเด็กแรกเกิด - 2 ปี 11 เดือน ตำบลผดุงมาตร ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

รพ.สต.ผดุงมาตร

ตำบลผดุงมาตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

 

7.69

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว ชุมชน และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป

ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็กแรกเกิด - 2 ปี 11 เดือน ปี พ.ศ. 2563 - 2565 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 8.77 ,15.84 และ 7.69 ตามลำดับ ซึ่งเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการยังเป็นปัญหาของพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10ที่กำหนดไว้ว่าภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพในเด็กแรกเกิด - 2 ปี 11 เดือน ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการเฝ้าระวังโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน

ร้อยละ 100 เด็ก 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังโภชนาการ

98.50 100.00
2 เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กแรกเกิด - 2ปี 11 เดือน

ด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7

7.69 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินพัฒนาการ และตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินพัฒนาการ และตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-2 ปี 11 เดือน ในเขตตำบลผดุงมาตร 2.ชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด -72 เดือน ทุกๆ 3 เดือน 3.ประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย (9,18,30,42,60เดือน) 4.ตรวจฟันและทาฟลูออไรด์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กแรกเกิด -72 เดือน ได้รับการชั่งน้ำหนัก ประเมินพัฒนาการตามวัยตรวจฟันและทาฟลูออไรด์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ทุกๆ 1 เดือน 2.จ่ายยาถ่ายพยาธิเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ทุกๆ 6 เดือน 3.จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก และยาเสริมวิตามิน เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป 4.จ่ายอาหารเสริม(นม)สำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ งบประมาณ 1.อาหารเสริม(นมขนาด200ml)จำนวน 20 คน x 10 บาท x 30 กล่อง x 5 เดือน เป็นเงิน 30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้เรื่องหลักโภชนาการแก่ผู้ปกครองเด็กรายบุคคล 2.แนะนำเมนูอาหารสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 3.สอนวิธีนวดกระตุ้นให้เด็กอยากอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก 0-72 เดือนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ได้ตามเป้าหมาย
2.ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 2ปี 11เดือน ลดลง


>