กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วน สมวัย หนูน้อยโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์)

โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งวัยเด็กเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆและอาหารก็มีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม เด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกายด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ จากการตรวจสุขภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล6(ประชาสันติ์) ประจำปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด จำนวน 137 คน พบว่า นักเรียนที่มีภาวะสูงดีสมส่วน จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 57.66 ภาวะอ้วน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 9.48 น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อย16.06 และเตี้ย จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 16.78
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนเทศบาล6(ประชาสันติ์) จึงได้เสนอโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการ สูงดีสมส่วน สมวัย หนูน้อยโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืนและที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 90ของ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 100 ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและรู้ถึงประโยชน์ของผัก

ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและรู้ถึงประโยชน์ของผัก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 137
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ผู้ปกครอง 70

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33745.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเสริมโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
สาธิตปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเสริมโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28820.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,865.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. เสนอโครงการเพื่อการอนุมัติตามวาระการประชุมของคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุกๆ เดือน
3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก
4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
5. อบรมครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)
5.1 บรรยายให้ความรู้เรื่อง ความหมายและความสำคัญของภาวะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย(ผู้ปกครอง,เด็กนักเรียน)
5.2 บรรยายให้ความรู้เรื่อง ปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย (ผู้ปกครอง,เด็กนักเรียน)
5.3 บรรยายให้ความรู้เรื่อง “ภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย”(ผู้ปกครอง)
5.3.1 การประเมินภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย
5.3.2 โรคขาดสารอาหาร ภาวะเด็กน้ำหนักต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์
5.3.3 โรคอ้วน โรคและความผิดปกติที่เกี่ยวกับโภชนาการและการเจริญเติบโต
**หมายเหตุนักเรียนอนุบาล 1– ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและแปรผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง

5.4 บรรยายให้ความรู้เรื่อง “อาหารหลัก 5 หมู่และธงโภชนาการ 6 กลุ่ม”(ผู้ปกครอง)
5.4.1อาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
5.4.2 ปริมาณวัตถุดิบในการจัดอาหาร
5.4.3 การเลือกซื้อ การเตรียม การปรุงอาหาร
5.4.4 ปริมาณสารอาหารที่ได้รับใน 1 วัน
5.5 บรรยายให้ความรู้เรื่อง“การจัดสิ่งแวดล้อมและการสร้างสุขนิสัยที่ดีสำหรับเด็กในการรับประทานอาหาร(ผู้ปกครอง)
**หมายเหตุนักเรียนอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ฟังบรรยายให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและสาธิตปลูก ผักปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมโภชนาการ
6. ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
6.1 ที่โรงเรียน
- ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
6.2 ที่บ้าน
- ผู้ปกครอง กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติมกรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
7. จัดหานม และไข่เพิ่มเติม สำหรับให้เด็กที่โรงเรียน และสนับสนุนให้เด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
8. ดำเนินการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3 เดือน และแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9. ติดตามประเมินผล โดยการทำแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม ,ถาม-ตอบระหว่างการอบรม และสังเกตความสนใจของผู้เข้ารับการอบรมและการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และแปรผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง
10. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน
2. เด็กวัยเรียนได้รับการประเมินและส่งเสริมภาวะ โภชนาการด้านสุขภาพอนามัยได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย


>