กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย 3 อ 2 ส ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีไทย ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

อสม. ชุมชนเบตงฮูลู
1. นางสาวปรารถนาธัมมากาศประธานอสม.
2. นางอังสนา สะมะแอรองประธานอสม.
3. นางฮารอฮะมะบาฮาเลขานุการ
4. นายอารยะ อิมัม กรรมการ
5. นางธันยาภัทร์ แซ่ตั้นกรรมการ

พื้นที่อบรม : ณ สมาคมตละกูลฉั่น ชุมชนเบตงฮูลู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชนชุมชนเบตงฮูลู อายุ 35 ปีขึ้นไปทั้งหมด จำนวน 1,264 คนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 543 รายคิดเป็นร้อยละ 42.96 พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.58 กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน53 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.76ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 543 ราย พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน5 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.92 กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.58 (ข้อมูลจากศูนย์บริการสาธารณสุขศาลาประชาคม วันที่ 14 กันยายน 2565) และยังพบอีกว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นๆของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่มจะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้องโดยใช้หลัก 3อ 2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นคณะกรรมการ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเบตงฮูลู ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย 3อ 2ส ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีไทย ประจำปี 2566 โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ 2ส ตามวิถีชุมชน เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคร่วมกันของคนในชุมชน

เกิดกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง ในชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เน้นกระบวนการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เน้นกระบวนการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9225.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้สมุนไพรและการนวดเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้สมุนไพรและการนวดเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38150.00

กิจกรรมที่ 3 แบ่งโซนจัดทำฐานการเรียนรู้และฟื้นฟูกลุ่มเพื่อนเตือนเพื่อนพันธะสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
แบ่งโซนจัดทำฐานการเรียนรู้และฟื้นฟูกลุ่มเพื่อนเตือนเพื่อนพันธะสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,375.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1.เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
2.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม
4.ประชาสัมพันธ์โครงการ
5.ดำเนินการ
5.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เน้นกระบวนการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
หัวข้อ 1)การควบคุม พัฒนาพฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี
2)อาหารเพื่อสุขภาพ และโภชนาการที่เหมาะสม
3)สิ่งแวดล้อมกับการส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
4)สิ่งเสพติด บุหรี่ สุรา
5.2 อบรมให้ความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรและการนวดเพื่อสุขภาพ
5.3 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้สมุนไพรและการนวดเพื่อสุขภาพ (แบ่งกลุ่ม)
6.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีสถานะสุขภาพดีขึ้นและไม่มีผู้ป่วยรายใหม่
3. เกิดกลุ่มสุขภาวะในชุมชนและมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง


>