กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์ ลดโลกร้อน ห่างไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก เทศบาลเมืองเบตง
กลุ่มคน (ระบุ 5 คน)
1. นางฟาตีเมาะ มะหะหมัด ประธานกรรมการ
2. นายกำชัยสากลเจริญ รองประธานกรรมการ
3. นางสาวปรารถนาธัมมากาศ กรรมการฝ่ายเหรัญญิก
4. นางซัมเซียห์ดือมาลี กรรมการและเลขานุการ
5.นางสาวรัตนา ฐิติเมฆินทร์ กรรมการ

เขตเทศบาลเมืองเบตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เทศบาลเมืองเบตง เป็นพื้นที่แห่งหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งมีปริมาณมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการบริโภคที่เกินความจำเป็นของประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมการท่องเที่ยวปัญหาขยะมูลฝอยส่งผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง โดยเฉพาะขยะอินทรีย์ ซึ่งเป็นขยะที่มีปริมาณประมาณร้อยละ 50 ของปริมาณขยะทั้งหมด และเป็นขยะที่หากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสมจะก่อให้เกิดปัญหาเหตุรำคาญจากกลิ่นเหม็นของขยะอินทรีย์ที่เกิดการเน่าเปื่อยหมักหมมและ ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคของหนู แมลงสาปตามบ้านเรือนและคูระบายน้ำในชุมชนจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลให้ประชาชนในชุมชนเกิดโรคภูมิแพ้ และโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และที่สำคัญที่สุดคือ ผลกระทบจากก๊าซจากขยะอินทรีย์ที่ฝังกลบร่วมกันในปริมาณมากอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก โดยจากการศึกษาพบว่าวงจรชีวิตการเติบโตของเชื้อโรค ทั้งเชื้อแบคทีเรีย และ ไวรัส โดยเฉพาะไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ และโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค เช่น โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้เลือดออก เนื่องจากอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้ระยะเวลาการฟักตัวของยุงสั้นลง ยุงจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและจากการ ศึกษาโรคที่มีความสัมพันธ์กับระบบทางเดินอาหาร พบว่ายีนก่อโรคและรูปแบบดีเอ็นเอของเชื้ออหิวาตกโรคสายพันธุ์ที่ทำให้ก่อโรคอหิวาตกโรคในคนเป็นผลที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ซึ่งปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้ ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเบตงเพียงอย่างเดียว ยังก่อให้เกิดผลกระทบกับประเทศไทย และสังคมโลกด้วย จนเป็นเหตุให้กระทรวงมหาดไทยมีการกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ด้วยการให้ครัวเรือนในชุมชน โรงเรียน จัดทำถังขยะเปียกประจำครัวเรือนแบบแม่บ้านมหาดไทย(ตัดท้าย ฝังดิน มีฝาปิด) สำหรับกำจัดขยะอินทรีย์ ณ แหล่งกำเนิด เมื่อขยะเกิดการย่อยสลายจะซึมเป็นสารบำรุงดินให้กับพืช ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซจากการย่อยสลายเมื่อมีฝาถังปิด ก็จะสลายไปในถัง ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้ อีกทั้งเป็นการลดแหล่งรังโรคจากสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอีกด้วย
อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก เทศบาลเมืองเบตง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะอินทรีย์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์ ลดโรคร้อน ห่างไกลโรค ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ถึงผลกระทบจากขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพ วิธีการจัดการขยะอินทรีย์อย่างง่าย ด้วยการทำถังขยะเปียกลดโรค เพื่อบำรุงดินและลดภาวะโลกร้อน เพื่อป้องกันโรคร้าย อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้พื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง มีความสะอาด ปราศจากขยะ ลดแหล่งรังโรค และสามารถป้องกันการเกิดเชื้อโรคใหม่จากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะอินทรีย์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะอินทรีย์ส่งผลต่อสุขภาพ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะอินทรีย์ที่ต้นทางพร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการจัดทำถังขยะอินทรีย์รักษ์โลก

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะอินทรีย์ที่ต้นทางพร้อมทั้งได้รับความรู้ในการการฝึกปฏิบัติการจัดทำถังขยะอินทรีย์รักษ์โลก

0.00
3 เพื่อสร้างกระแสโดยการรณรงค์เคาะประตูบ้านให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงภัยอันตรายด้านสุขภาพที่มีมาจากการจัดการขยะอินทรีย์อย่างไม่เหมาะสม และวิธีการจัดทำถังขยะอินทรีย์รักษ์โลก

ครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองเบตงได้รับการกระตุ้นให้มีการจัดการขยะอินทรีย์อย่างเหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนชุมชนในเขตเทศบาล

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60950.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างกระแสการคัดแยกขยะต้นทาง ห่างไกลโรค เดินรณรงค์เคาะประตูบ้าน ทำความเข้าใจกับประชาชน

ชื่อกิจกรรม
สร้างกระแสการคัดแยกขยะต้นทาง ห่างไกลโรค เดินรณรงค์เคาะประตูบ้าน ทำความเข้าใจกับประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 3 การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางโดยการจัดตั้งบ้านตัวอย่างจัดการขยะอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางโดยการจัดตั้งบ้านตัวอย่างจัดการขยะอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
108000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 174,950.00 บาท

หมายเหตุ :
เตรียมการ
- จัดเตรียมเอกสาร ประสานงานวิทยากร และความพร้อมก่อนดำเนินการอบรม
- ประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์ ลดโรคร้อน ห่างไกลโรค เขตเทศบาลเมืองเบตง
- รับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมเป็นบ้านสาธิตทำถังขยะรักษ์โลกในโครงการ
ขั้นดำเนินการ
5.2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติ
- ผลกระทบจากขยะอินทรีย์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ
- สาธิตการทำถังขยะอินทรีย์รักษ์โลก ลดโลกร้อน ไล่โรคร้าย
5.2.2 กิจกรรมสร้างกระแสการคัดแยกขยะต้นทาง ห่างไกลโรค
- แกนนำที่เข้ารับการอบรมเดินรณรงค์เคาะประตูบ้าน ทำความเข้าใจกับประชาชนทั้ง 28 ชุมชน มอบ
แผ่นพับภัยอันตรายจากขยะอินทรีย์ที่ส่งผลต่อสุขภาพและวิธีการจัดทำถังขยะอินทรีย์รักษ์โลกรวมถึง
เชิญชวนชมการสาธิต การจัดทำถังขยะอินทรีย์รักษ์โลก ณ บ้านตัวอย่าง
5.3 ขั้นสรุปและประเมินผล
5.4 รายงานผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะอินทรีย์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะอินทรีย์ที่ต้นทาง และได้รับการฝึกปฏิบัติการจัดการขยะอินทรีย์รักษ์โลกพร้อมทั้งสร้างครัวเรือนสาธิตในชุมชนให้ประชาชนในชุมชนได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม


>