กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชีวาผ่อนคลาย ออกกำลังกายด้วยรำมวยไทเก๊ก ชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

ชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์
กลุ่มคน (ระบุ 5 คน)
1. นายประสิทธิ์ แซ่ลู่โทร. 087-2851060
2. นางสาวสุดสมัย คงคา
3. นางศุภวรรณ ใจเรือง โทร. 062-3489907
4. นางอาภรณ์ จักรวาลกุลโทร. 086-9693658
5. นางบุญทรง ดารีเย๊าะ

ลานอเนกประสงค์ศาลาประชาคม (ด้านข้างศาลาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาทุกชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี และต้องปฏิบัติโดยสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง การออกกำลังกายแบบไท้เก๊กก็เป็นการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่มีผู้คนนิยมทั่วโลก เพราะเป็นการออกกำลังกายแบบยืดหยุ่นร่างกายทุกส่วนทั้งแขนและขา ท่าทางการเคลื่อนไหวเป็นท่าที่มีการยืดและหดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆมีจังหวะที่ผสมผสานกลมกลืน มีลักษณะนุ่มนวล โอนอ่อนผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวลื่นไหลต่อเนื่อง การหายใจสอดประสานไปกับการเคลื่อนไหว พร้อมต้องตั้งจิตติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกายไปตลอด ทำให้เกิดสมาธิ เนื่องจากไม่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ หรือการออกแรงกระแทก จึงมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บร่างกายได้น้อย เมื่อเทียบกับกีฬาที่ใช้แรงชนิดอื่นๆทำให้เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แม้แก่ชรา อายุ 90-100 กว่าปีก็ยังฝึกฝนได้ ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตทั้งร่างกาย ปอด หัวใจแข็งแรง และช่วยให้เกิดการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินในร่างกาย
ชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายแบบไท้เก๊ก จึงได้ส่งเสริมให้สมาชิกในชมรมและประชาชนที่สนใจได้มีการออกกำลังกายแบบไท้เก๊กขึ้น ในวันจันทร์-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 05.30-06.30 น. ณ ลานอเนกประสงค์ศาลาประชาคม (ด้านข้างศาลาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) มาเป็นระยะเวลา 5 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกชมรม จำนวน40 คน สมาชิกชมรมมีทั้งคนในเขตเทศบาลเมืองเบตงและพื้นที่ใกล้เคียง จากการดำเนินงานของชมรม พบว่า สมาชิกชมรมส่วนใหญ่มาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และจากการสำรวจข้อมูลสมาชิกชมรม มีสมาชิกป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง,โรคความดันเบาหวาน ,โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด,โรคเส้นเลือดสมองแตก/ตีบ เป็นต้น และพบว่า ถึงแม้สมาชิกส่วนใหญ่จะมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ด้วยศาสตร์การออกกำลังกายแบบไท้เก๊กจะต้องมีใช้ทักษะสูงในด้านการใช้ปราณ การฝึกหายใจ การเคลื่อนไหว อย่างมีสมาธิ สมาชิกบางคนยังไม่มีทักษะเท่าที่ควร อีกทั้งพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวันของสมาชิก เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การนอน การจัดการอารมณ์ และสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย ไม่เหมาะกับสุขภาพของ ช่วงวัย และโรคที่เป็น ส่งผลให้การออกกำลังกาย ไม่สามารถควบคุมโรคที่เป็นให้อยู่ในระดับปกติได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจำเป็นต้องส่งเสริม สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมๆกับการออกกำลังกายอย่างจริงจัง จึงจะส่งผลต่อร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์ จึงได้จัดทำโครงการชีวาผ่อนคลาย ออกกำลังกายด้วยรำมวยไทเก๊ก ชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์ขึ้น เพื่อให้สมาชิกชมรมไท้เก๊กและประชาชนที่สนใจมีทักษะมีความรู้นำไปซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้สมาชิกมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงและสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สมาชิกชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ มีความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง

สมาชิกชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ มีความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อเพิ่มศักยภาพสมาชิกชมรมชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ ให้มีทักษะการออกกำลังกายด้วยรำมวยไท้เก๊ก อย่างถูกต้อง

สมาชิกชมรมชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ มีทักษะการออกกำลังกายด้วยรำมวย ไท้เก๊ก อย่างถูกต้องร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้สมาชิกชมรมชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ นำความรู้ ทักษะ ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์สู่พฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 สมาชิกชมรมชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ นำความรู้ ทักษะ ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองและอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ ดังนี้

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองและอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ ดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนักและคัดกรองวัดความดันโลหิตก่อนเริ่มอบรม
  • เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  • เรื่องการป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค (การกิน ,การนอน ,นาฬิกาชีวิต ,ชีวจิตสร้างสุข ,การจัดการสิ่งแวดล้อม)
  • เรื่องการออกกำลังกายด้วยรำมวยไท้เก๊กและการสาธิตการรำมวยไทเก๊ก


    ค่าอาหารกลางวัน จำนวน40คนx75บาท
    เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    จำนวน40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ
    เป็นเงิน 2,800 บาท
  • ค่าวิทยากรจำนวน5ชั่วโมงๆละ600บาท
    เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม(แฟ้ม,สมุด,ปากกา) จำนวน 40คนๆละ 40 บาท
    เป็นเงิน 1,600 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 2 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน1,500 บาท
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตสูง
    จำนวน1 เครื่องๆละ1,150 บาท เป็นเงิน 1,150 บาท
  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล
    จำนวน 1 เครื่องๆละ 1,090 บาท เป็นเงิน 1,090 บาท
  • ค่าสายวัดรอบเอวเป็นเงิน 50 บาท
  • ค่าทำรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน เป็นเงิน 300 บาท
    รวมเป็นเงิน 14,490 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14490.00

กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายด้วยรำมวยไทเก๊ก

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายด้วยรำมวยไทเก๊ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกำลังกายด้วยรำมวยไทเก๊ก             - ออกกำลังกายทุกวันจันทร์ , พุธ ,ศุกร์ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน ระยะเวลา 9 เดือน (ขอสนับสนุนงบประมาณฯ จำนวน 6 เดือน และดำเนินการเอง จำนวน 3 เดือน) **หมายเหตุ  ค่าตอบแทนผู้นำการออกกำลังกายสนับสนุนไม่เกิน 6 เดือนๆละ 2,000 บาทต่อปีงบประมาณ ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย
จำนวน 1 คน เป็นเงิน 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,490.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1.ขั้นวางแผน
1.1 ประชุมปรึกษารูปแบบของโครงการ
1.2 นำเสนอโครงการ
1.3 ติดต่อ และนำเสนอรายระเอียดโครงการ
1.4 จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ วันและเวลาตลอดจนรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 กิจกรรมคัดกรองและอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ ดังนี้
- วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนักและคัดกรองวัดความดันโลหิตก่อนเริ่มอบรม
- เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

- เรื่องการป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลด
โรค (การกิน ,การนอน ,นาฬิกาชีวิต ,ชีวจิตสร้างสุข ,การจัดการสิ่งแวดล้อม)
-เรื่องการออกกำลังกายด้วยรำมวยไท้เก๊กและการสาธิตการรำมวยไทเก๊ก
2.2 กิจกรรมออกกำลังกายด้วยรำมวยไทเก๊ก
-ออกกำลังกายทุกวันจันทร์ , พุธ และศุกร์ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน ในระยะเวลา 9 เดือน
( ดำเนินโครงการฯโดยใช้งบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 6 เดือน และดำเนินการเอง จำนวน 3 เดือน )
3. ขั้นสรุปและเขียนรายงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ มีความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
สู่พฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
2. สมาชิกชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ มีทักษะการออกกำลังกายด้วยรำมวยไท้เก๊ก ได้อย่างถูกต้อง
3.สมาชิกชมรมไทเก๊กพหุศาสตร์สัมพันธ์และประชาชนที่สนใจ นำความรู้ ทักษะ ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
สู่พฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง


>