กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ คลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center) เทศบาลเมืองเบตง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองเบตง

1. นายทวีปจิรรัตนโสภา
2. นางสาวปรารถนา ธัมมากาศ
3. นางสาวเบ็ญจมาภรณ์ชินวรพิทักษ์
4. นางสาวรัตติยาพรเบ็ญเจ๊ะมะ
5. นายแวอิลฮัมแวบราเฮง

อาคารเทศบาลเมืองเบตงหลังเก่า ชั้น 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และการวางแผนครอบครัวที่ผ่านมา ทำให้อัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มที่ลดลง ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2573 ประเทศไทยจะมีประชากรวัยสูงอายุราวๆ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 26.9 โดยคาดการณ์ว่าจะมีผู้ที่อายุ 80 ปีขึ้นไปสูงถึง 3.5 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก ทำให้ความต้องการบริการของประชากรในสังคมจำเป็นต้องมีบริการที่จำเพาะกับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
เมื่อกล่าวถึงธรรมชาติของผู้สูงอายุและบริการที่จำเพาะ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ปัญหาด้านสุขภาพและความเสื่อมถอยของร่างกายทั้งจากความเสื่อมถอยตามธรรมชาติและจากโรคประจำตัว ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีชีวิตประจำวัน สังคม ร่างกาย และจิตใจ ทำให้ผู้สูงอายุต้องการการดูแลที่แตกต่างไปจากกลุ่มวัยอื่น และหากไม่ได้รับการส่งเสริม ดูแล หรือรักษาที่ถูกต้อง ต่อเนื่อง ทันท่วงที ก็จะทำให้มีความเสื่อมถอยและรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สถานการณ์ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเบตง ปี 2565 จากการสำรวจพบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเบตงรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,100 คน มีคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันในแต่ละคน มีทั้งผู้สูงอายุที่ติดเตียง ติดบ้าน และติดสังคม โดยพบว่าบริการหรือกิจกรรมที่มีส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้นเหมาะสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง และผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ยังขาดบริการที่จำเพาะกับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน หรือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อยซึ่งเป็นกลุ่มที่สำคัญเพราะหากได้รับการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูที่เหมาะสม ก็จะเปลี่ยนเป็นผู้สูงอายุติดสังคมหรือไม่มีภาวะพึ่งพิงได้ แต่หากขาดการดูแลที่เหมาะสมก็จะเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงสูงได้เช่นกัน
คณะกรรมการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองเบตง ซึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อจัดระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ได้เห็นความสำคัญของการจัดบริการในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย หรือกลุ่มติดบ้าน จึงได้ บูรณาการร่วมกับเทศบาลเมืองเบตง จัดทำโครงการ คลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center) เทศบาลเมืองเบตงสำหรับให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย หรือกลุ่มติดบ้าน แบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care center) โดยมีการจัดสถานที่และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อยหรือมีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว มีการให้บริการรถรับ-ส่ง กรณีไม่สะดวกในการเดินทางมาเอง ให้บริการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละหัวข้อ โดยบริการครอบคลุมถึงการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูในหลากหลายด้านด้วยกัน ทั้งด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านร่างกาย ตลอดจนการติดตามประเมินภาวะสุขภาพกายและใจอย่างสม่ำเสมอโดยนักวิชาชีพเฉพาะด้าน ทำให้ผู้สูงอายุติดบ้านออกมาทำกิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งด้านร่างกายและจิตใจในชุมชน เพื่อชะลอความเสื่อมที่อาจเกิดขึ้น ให้ผู้สูงอายุติดบ้านพัฒนาไปเป็นผู้สูงอายุติดสังคมแทนการเสื่อมถอยไปเป็นผู้สูงอายุติดเตียง อนึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้สูงอายุติดบ้านในเขตเทศบาลเมืองเบตงเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข มีร่างกายแข็งแรง สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ เพราะผู้สูงอายุนั้นเป็นบุคคลที่เต็มไปด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในชีวิต เป็นแหล่งของภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรของลูกหลาน และเป็นพลังเบื้องหลังที่สำคัญของสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกายและจิตใจ มีกิจกรรมและความรู้ที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ลดภาวะพึ่งพิง ชะลอความเสื่อมที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งให้คำแนะนำการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลแก่ครอบครัว

 

0.00
2 2. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ

มีศูนย์กลางในการเรียนรู้ การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ

0.00
3 3. เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการดูแล และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาว และใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/08/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ(Day Care Center)

ชื่อกิจกรรม
คลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ(Day Care Center)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม (ตามแนบ) เป็นเงิน 5,290 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น (ตามแนบ) เป็นเงิน 3,120 บาท
  • ค่าครุภัณฑ์
    • รถเข็นชนิดนั่ง คันละ 3,600 บาท X 2 คัน เป็นเงิน 7,200 บาท • ไม้เท้าช่วยพยุงเดินชนิด 4 ขา อันละ 600 X 2 อัน เป็นเงิน 1,200 บาท • ไม้เท้าช่วยพยุงเดินชนิด 3 ขา อันละ 450 X 2 อัน เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าป้ายพลาสวู้ดติดสติ้กเกอร์ “คลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center)
    เทศบาลเมืองเบตง” 0.5 X 2.2 เมตรเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์หน้าอาคาร1 X 2 เมตรเป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารใบงาน เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวิทยากร 600 บาท X 34 วัน X วันละ 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 61,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันผู้สูงอายุ 75 บาท X 20 คน X 17 มื้อเป็นเงิน 25,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่ 75 บาท X 5 คน X 34 มื้อเป็นเงิน 12,750 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้สูงอายุ 35 บาท X 20 คน X 34 มื้อเป็นเงิน 23,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ 35 บาท X 5 คน X 68 มื้อเป็นเงิน 11,900 บาท
  • ค่าตอบแทนจิตอาสากายภาพ จำนวน 5 คน X วันละ 300 บาท X 17 สัปดาห์ละๆ 2 วัน เป็นเงิน 51,000บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 207,360.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ(Day Care Center) จำนวน 1 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
207360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 207,360.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย ที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิดความเสื่อมเพิ่มมากขึ้น มีภาวะพึ่งพิงลดลงหรือคงที่ ประเมินจาก ADL และ TMSE คงที่หรือเท่าเดิม
2. คลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center) เทศบาลเมืองเบตงเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นแหล่งศึกษาดูงานการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีภาวะสุขภาพดีขึ้น จากแบบประเมินคัดกรองผู้สูงอายุ (Basic Geriatic Screening: BGS)


>