กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสมุนไพรรักษ์โลกเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ)

โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปีแต่เมื่อการแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเราสรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อย ๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุดซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวางแต่เป็นเพราะเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลัง ๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมากและแทบจะไม่รู้จักเลยทั้ง ๆ ที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ ๆ ตัวเราเอง โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ) เห็นความสำคัญของการสืบสานภูมิปัญญาไทยไม่ให้สูญหาย และเพื่อให้นักเรียน มีการส่งเสริมการนำสมุนไพรและใช้สมุนไพรในพื้นที่บริเวณรอบตัว นำมาทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เช่น การทำยาหม่องการทำน้ำมันไพล การทำลูกประคบ การทำสมุนไพรอบตัวเพื่อสุขภาพ บำบัดโรค บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงประสาท สมุนไพรแต่ละชนิด มีคุณค่าและสรรพคุณในตัวเอง แตกต่างกันไป เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองได้

สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทยปี พ.ศ.2552, 2554 และ 2556 โดย รัชนี จันทร์เกษและคณะ เผยแพร่ในวารสารวิจัยระบบสาธารณสุขฉบับเมษายน-มิถุนายน 2559 ประชากรไทยที่เจ็บป่วยส่วนใหญ่เลือกไปรักษาที่สถานพยาบาลภาครัฐ การไปหาหมอพื้นบ้าน/หมอแผนโบราณ หรือหมอนวดไทยมีค่อนข้างน้อย ไม่ถึงร้อยละ 2 ของประชากรที่เจ็บป่วย การรักษา ด้วยยาสมุนไพรในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง โดยพบว่ากลุ่มอายุ 25-59 ปีที่เจ็บป่วยมีการใช้ยาแผนโบราณ หรือยาสมุนไพรระหว่างร้อยละ 51.0-60.3 ของประชากรที่เจ็บป่วยทั้งหมดที่น่าสนใจคือโรคปวดหลังและปวดกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นกลุ่มอาการที่พบมากเป็นอันดับสอง แต่กลับมีการใช้ยาแผนโบราณหรือสมุนไพรเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 27.3 33.4 และ 31.1 ของประชากรที่ใช้ยาแผนโบราณหรือสมุนไพรในปี พ.ศ.2552, 2554 และ 2556 ตามลำดับ
ดังนั้น โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ) จึงได้เสนอโครงการแปรรูปสมุนไพรไทย เพื่อสุขภาพขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรที่แปรรูปขึ้นมา เช่น น้ำมันไพล ยาหม่อง ลูกประคบ สมุนไพรรอบตัว น้ำสมุนไพรไทย ป้องกันรักษาโรคตามสรรพคุณของสมุนไพร เป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่าพร้อมสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดในการป้องกันรักษาโรค เพื่อสู้ภัยโรค ลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืชในโรงเรียน ครัวเรือน ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข และยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน ทั้งในกลุ่มเด็กวัยเรียน เยาวชน รวมถึงวัยทำงาน หันมาใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่รอบๆบ้านหรือในชุมชนในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ขอรับรองว่าโครงการนี้ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น มีความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน และเทศบาลเมืองเบตงได้รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ส่งเสริมให้คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสมุนไพรที่ใช้นำมาแปรรูปสมุนไพรใช้บำบัดรักษาโรคและการดูแลสุขภาพ
  1. คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสมุนไพรที่ใช้นำมาแปรรูปสมุนไพรใช้บำบัดรักษาโรคและการดูแลสุขภาพ
0.00
2 2. เพื่อคณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมี จากยาแผนปัจจุบัน นำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาพยาบาลระดับเบื้องต้น
  1. คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมี    จากยาแผนปัจจุบัน นำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาพยาบาลระดับเบื้องต้น
0.00
3 3. ส่งเสริมให้คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้โดยนำสมุนไพรรอบตัวได้
  1. คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้โดยนำสมุนไพรรอบตัว
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการทำสมุนไพรใกล้ตัวรักษาสุขภาพและป่วยยามฉุกเฉิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการทำสมุนไพรใกล้ตัวรักษาสุขภาพและป่วยยามฉุกเฉิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน 3,750 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท
              จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร    เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าวัสดุประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 40 บาท           (ปากกา,สมุด,แฟ้ม)    เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินโครงการ    เป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าวัสดุที่ใช้ในโครงการฯ ประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้  เป็นเงิน 43,660 บาท


  • ปากาเคมี 2 หัว สีดำ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว อย่างละ 1/2 โหล            โหลละ  120 บาท เป็นเงิน 480 บาท

  • กระดาษบรู๊ฟ  จำนวน 25 แผ่นๆละ 5 บาท  เป็นเงิน 125 บาท

วัสดุอุปกรณ์การทำลูกประคบ
-  ผ้าดิบ 11 ปอนด์ หน้ากว้าง 90 cc(1พับ 40 หลา) จำนวน 2 พับๆละ 700 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท -  เชือกเกลียวสีดิบ NO.60 จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 200 บาท  เป็นเงิน 400 บาท -  การบูร จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 650 บาท  เป็นเงิน 1,950 บาท -  ใบส้มป่อย จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 500 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท -  ใบเปล้า จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 1,000 บาท  เป็นเงิน 3,000 บาท -  เมนทอล จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 800 บาท  เป็นเงิน 2,400 บาท -  กล่องพลาสติกใสมีฝาปิดและหูหิ้ว ขนาด 30x43x24cm (ใส่A4ได้) จำนวน 3 กล่องๆละ 170 บาท  เป็นเงิน 510 บาท วัสดุอุปกรณ์การทำยาหม่อง
-  ตะแกรงเหลี่ยมญี่ปุ่น NO.16 จำนวน 6 อันๆละ 90 บาท    เป็นเงิน 540 บาท -  ขวดยาหม่องพลาสติก ขนาด 8 cc จำนวน 100 ใบๆละ 6 บาท  เป็นเงิน 600 บาท -  ขวดลูกกลิ้ง ขนาด 100 cc จำนวน 30 ใบๆละ 16 บาท  เป็นเงิน 480 บาท -  น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 500 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท -  พิมเสน จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 1,070 บาท    เป็นเงิน 3,210 บาท -  เกล็ดสะระแหน่ จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 1,650 บาท เป็นเงิน 4,950 บาท -  ไขพาราฟิน จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 500 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท -  น้ำมันยูคาลิปตัส จำนวน 3,000 ml (1,000 mlๆละ 1,160 บาท) เป็นเงิน 3,480 บาท -  น้ำมันระกำ จำนวน 3,000 ml (1,000 mlๆละ280 บาท)  เป็นเงิน 840 บาท -  น้ำมันสะระแหน่ จำนวน 3,000 ml(1,000 mlๆละ1,500 บาท) เป็นเงิน 4,500 บาท -  วาสลิน(ปิโตรลาทัม) จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 200 บาท  เป็นเงิน 600 บาท -  น้ำมันกานพลู จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 1,270 บาท  เป็นเงิน 3,810 บาท -  น้ำมันอบเชย จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 1,270 บาท  เป็นเงิน 3,810 บาท -  น้ำมันสกัดสมุนไพร จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 450 บาท  เป็นเงิน 1,350 บาท


-  สำลีก้อน จำนวน 1 ถุงๆ (ขนาด 450 กรัม) จำนวน 10 ถุง           ถุงละ 145 บาท    เป็นเงิน 725 บาท                                                        รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  57,560 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการทำสมุนไพรใกล้ตัวรักษาสุขภาพและป่วยยามฉุกเฉิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57560.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ ความเข้าใจในสรรพคุณในการรักษา ป้องกัน โรคต่างๆเบื้องต้น สามารถแปรรูปสมุนไพรรอบตัว รอบรั้ว รอบโรงเรียน
2. ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมีเพื่อให้พืชผักสมุนไพรไว้รับประทานและนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาพยาบาลระดับเบื้องต้น
3. ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองโดยใช้พืชผักสมุนไพรได้ถูกต้อง


>