กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

วัยรุ่นยุคใหม่ รักปลอดภัย ใส่ใจอนาคต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลเมืองเบตง

1. นางสาวปรารถนาธัมมากาศ หัวหน้าคณะทำงาน
2. นางวราทิพย์บวรเลิศธัญนนท์ รองหัวหน้าคณะทำงาน
3. นายจิตรภณบุญเกิด คณะทำงาน
4. นางสุปราณีทับทวี คณะทำงาน/เลขานุการ
5. นายปพนเอก กิตติธรโภคินคณะทำงาน/ผู้ช่วยเลขานุการ

ณ โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ), โรงเรียนเบตง "วีระราษฎร์ประสาน"

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เพศศึกษามีความสำคัญต่อคนในสังคม โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียนหรือวัยรุ่น เพราะเป็นเครื่องมือที่จะสามารถแนะแนวและแนะนำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องเพศได้อย่างถูกต้อง มีความรู้มากพอที่จะใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศและเพศวิถีได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเพื่อปกป้องผู้เรียนจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศต่างๆ หรือช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อาทิ ปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากความประมาท หรือการขาดข้อมูลที่ควรทราบ เช่น วิธีคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ วิธีป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความไม่เสมอภาคทางเพศ หรือการถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกับคนอีกกลุ่มโดยอ้างอิงจากความแตกต่างทางรสนิยมทางเพศหรือเพศสภาพ ความรุนแรงบนฐานทางเพศสภาพ หรือการใช้ความรุนแรงกับผู้ที่มีเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศแตกต่างจากตัวเองหรือพวกของตัวเอง
วัยรุ่นจะมีความแตกต่างจากเด็กโตหลายประการ พัฒนาของวัยรุ่นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และหลายด้านพร้อมๆกัน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม วัยรุ่นต้องปรับตัวอย่างมาก เพื่อให้เขาสามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างเป็นสุข และพัฒนาตนเองเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี มีวิชาชีพเหมาะสมกับตนพร้อมที่จะดำเนินชีวิตครอบครัวต่อไปได้อย่างปลอดภัย การจัดการเรียนรู้ในวัยรุ่น มีความแตกต่างบางประการ ซึ่งต้องการความเข้าใจในจิตวิทยาของวัยรุ่น ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมจะแตกต่างจากวัยเด็กอย่างชัดเจน ถ้าวัยรุ่นเรียนรู้ไปอย่างไรแล้ว มักจะเกิดพฤติกรรมติดตัว กลายเป็นนิสัย และบุคลิกภาพซึ่งจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยากในภายหลัง วัยนี้จึงควรมีการเรียนรู้อย่างถูกต้องก่อนที่วัยรุ่นจะไปเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างผิด ๆ และกลายเป็นพฤติกรรมทีเป็นปัญหาต่อไป เช่น ปัญหาการติดยาเสพติด ปัญหาทางเพศ และปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ที่หน่วยงานและทุกภาคส่วนต้องระดมความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา พบว่า เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ โรคหนองใน ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี มากขึ้นกว่าคนปกติ 3 - 9 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัยโดยพบว่าอัตราการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในรอบปีที่ผ่านมา ยังต่ำอยู่ เพียงร้อยละ 46.9 เท่านั้น ผลกระทบประการสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น นอกจากติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ คือ การตั้งครรภ์ ซึ่งจากสถิติ ในปี 2554 พบว่าวัยรุ่นหญิงของไทยอายุ 10-19 ปี คลอดบุตรจำนวน 131,400 คน ส่วนหนึ่งเกิดมาจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการร่วมเพศคิดว่าการร่วมเพศครั้งเดียวแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ การใช้ถุงยางอนามัยจะขัดขวางความรู้สึกทางเพศ โดยร้อยละ 80 เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ทำให้วัยรุ่นตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์หรือทำแท้ง ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ปลอดภัย เสี่ยงอันตรายและอาจเสียชีวิตได้ และยังพบว่า มีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นอีกด้วย พร้อมทั้งปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในสังคมไทย
การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นและเยาวชนเป็นประเด็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15 – 19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนา แห่งสหัสวรรษ (MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่นานาชาติต้องการให้บรรลุได้ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10 – 14 ปี และอายุ 15 – 19 ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะ ที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย สำหรับประเทศไทย อัตราการคลอดในวัยรุ่นของประเทศมีแนวโน้มลดลงทุกปี ข้อมูลล่าสุดในปี 2564 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 14 ปี ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2564 เท่ากับ 1.05 ต่อพัน (HDC 16 ส.ค. 64) และอัตราการคลอด มีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2564 เท่ากับ 26.20 ต่อพัน (HDC 16 ส.ค. 64) แต่อย่างไรก็ตามยังมีการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี อยู่ในระดับสูง โดยร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี เท่ากับ 13.91 (HDC ณ 16 ส.ค. 64) เนื่องจากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบในหลายมิติทั้งผลกระทบทางสุขภาพ เช่น ความเสี่ยงต่อสุขภาพเด็ก แรกเกิด การทำแท้ง และการทอดทิ้งทารก ผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ผลกระทบต่อการศึกษา ครอบครัวและอาชีพและผลกระทบด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตามที่เทศบาลเมืองเบตง ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลเมืองเบตง เพื่อเป็นศูนย์รวมในการพัฒนาสถาบันครอบครัว ที่มีการบริหารจัดการโดยชุมชน เป็นการสร้างโอกาสให้ชุมชนได้เรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาบันครอบครัวที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ในการบริหารงาน และแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อให้การดำเนินงานตามบทบาทและภารกิจของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลเมืองเบตง จึงได้จัดทำโครงการวัยรุ่นยุคใหม่ รักปลอดภัย ใส่ใจอนาคตขึ้น เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นและเยาวชนมีความรอบรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิต การเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของวัยรุ่นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่เป็นปัญหาสำคัญในเขตเทศบาลเมืองเบตง และไม่เคยมีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต อนามัยการเจริญพันธุ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกทั้งกิจกรรมจัดนิทรรศการเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต อนามัยการเจริญพันธุ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน และเพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น และเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการรู้จักป้องกัน หรือลดพฤติกรรมเสี่ยงด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชนต่อไปในอนาคต ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลเมืองเบตงจึงได้ดำเนินโครงการในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรอบรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิต การเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของวัยรุ่น
  1. ส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรอบรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิต การเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของวัยรุ่น
0.00
2 2. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น
  1. ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น
0.00
3 3. เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการรู้จักป้องกัน หรือลดพฤติกรรมเสี่ยงด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  1. เสริมสร้างจิตสำนึกการรู้จักป้องกัน หรือลดพฤติกรรมเสี่ยงด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 381
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเตรียมโครงการ และเตรียมอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมโครงการ และเตรียมอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ (ขนาด 2.00 X 3.0 เมตร)              เป็นเงิน    1,500 บาท
  2. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม (กระดาษA4,กระดาษสี,ปากกา,ปากกาลบคำผิด,ดินสอ,สมุด,คลิปดำหนีบกระดาษ ฯลฯ และสื่อการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา,แบบจำลองอวัยวะเพศชาย)                                            เป็นเงิน 6,000 บาท
  3. ค่าจ้างเหมาจัดจัดนิทรรศการเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต อนามัยการเจริญพันธุ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์    (3,000 บาท X 3 โรงเรียน)                เป็นเงิน 9,000 บาท
  4. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการฯ                  เป็นเงิน    300 บาท
  5. ค่าที่พักวิทยากร (1,200 บาท X 2 ห้อง X 1 คืน)            เป็นเงิน  2,400 บาท
  6. ค่าเดินทางวิทยากร (230 บาท X 4 คน X 2 เที่ยว)            เป็นเงิน1,840 บาท รวมเป็นเงิน   24,040    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้วัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดอบรมฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24040.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และอบเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และอบเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร (600 บาท x 3 ชั่วโมง x 4 คน x 2 ครั้ง)        เป็นเงิน 14,400 บาท
  2. ค่าอาหารว่างสำหรับนักเรียน 381 คน และเจ้าหน้าที่ 20 คน    (35 บาท x 401 คน x 1 มื้อ)                  เป็นเงิน  14,035 บาท
  3. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์จัดกิจกรรมอบเชิงปฏิบัติการ นักเรียน 381 คน            (40 บาท x 381 คน x 1 ชุด)                  เป็นเงิน 15,240 บาท เป็นเงิน   43,675  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กันยายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดอบรมให้ความรู้และอบเชิงปฏิบัติการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43675.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,715.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา และสามารถเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธุ์
2. ลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น
3. วัยรุ่นมีจิตสำนึกในการป้องกัน ลดพฤติกรรมเสี่ยงด้านอนามัยเจริญพันธุ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


>