กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

ศูนย์เครือข่าย 28 ชุมชนเทศบาลเมืองเบตง

1. นายโกศลปิ่นเพชรประธาน 098-718-249-9
2. นายชาติชายโยธารองประธาน 089-876-823-3
3. นางวราทิพย์บวรเลิศธัญนนท์ กรรมการ 081-748-795-1
4. นางสาวปรารถนาธัมมากาศ กรรมการ 081-541-668-9
5. นายจิตรภณบุญเกิดเลขานุการ 065-049-736-4

- โรงแรมเบตงเมอร์ลิน ชั้น 3

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก " ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม " ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนและในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็ก เยาวชน และประชาชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้คนกลุ่มนี้โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีกเช่นเด็กและเยาวชนเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้อยากลองต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด คณะกรรมการชุมชนและผู้นำศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สามารถช่วยปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีบทบาทหน้าที่และภารกิจอีกหลายด้าน รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดมาในรูปแบบ และวิธีต่างๆ มากมาย เข้าไปสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน ในชุมชนและสถานศึกษา ต่างๆ มากยิ่งขึ้น ศูนย์เครือข่าย 28 ชุมชนเทศบาลเมืองเบตง จึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนไทย ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนขึ้น
จากข้อมูล ศป.ปส.อ.เบตง ในเขตเทศบาลเมืองเบตง ณ 10 พ.ค. 66 มีผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัด จำนวน 27 ราย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี และผู้ค้า จำนวน 12 ราย สำหรับผู้ค้าต้องดำเนินคดีตามกฎหมายมิให้กระทำอีกต่อไป เพราะไม่มีผู้ค้าก็จะไม่มีผู้เสพจากข้อมูลดังกล่าวกลุ่มเครือข่ายชุมชนจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ปีงบประมาณ 2566 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

1 เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

0.00
2 2 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยใช้คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชน

2 เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยใช้คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชน

0.00
3 3 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการกับชุมชน ในการร่วมกันต่อต้านยาเสพติด

3 ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการกับชุมชน ในการร่วมกันต่อต้านยาเสพติด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 140
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการจัดการ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการจัดการ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารกลางวัน จำนวน 140 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 250 บาท          เป็นเงิน  35,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 140 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 50 บาท  เป็นเงิน  14,000  บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 6 คน    เป็นเงิน  21,600  บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.80x2.40 เมตร จำนวน 1 ผืน        เป็นเงิน    1,080  บาท
  • ค่าเช่าสถานที่จัดอบรม (โรงแรมเบตงเมอร์ลิน ชั้น 3)           เป็นเงิน    3,500  บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม (แฟ้มเอกสาร สมุก ปากกา) จำนวน 140 ชุดๆละ 40 บาท                                            เป็นเงิน  5,600 บาท
  • ค่าวัสดุเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม เช่น กระดาษบรุ๊ฟ,ปากกาเมจิก ฯลฯ เป็นเงิน   2,560  บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มสรุปโครงการ    จำนวน 2 เล่ม            เป็นเงิน       300  บาท                                         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  83,640.-  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการจัดการ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
83640.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 83,640.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เยาวชน และประชาชน มีความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดที่มีต่อตนเอง และผู้อื่น
2 เยาวชน และประชาชน มีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
3 เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการต่อต้านยาเสพติดระหว่างภาครัฐ โรงเรียน และชุมชน


>