กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

“บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

โรงเรียนถนอมศรีศึกษา

ห้องประชุมอาคาทา ชั้น 4 โรงเรียนถนอมศรีศึกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมากซึ่งแรกเริ่มบุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่มาจนวันนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้กลายเป็นเหมือนกับทางเลือกสำหรับ “วัยรุ่น” มากขึ้นในฐานะ “แฟชั่นใหม่” ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “เท่ห์ สูบได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ”
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 เผยคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน ในจำนวนนี้อายุ 15-24 ปี 24,050 คน และผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มเด็กนักเรียนไทยเพิ่มจากร้อยละ 3.3 ปี 2558 เป็น ร้อยละ 8.1 ในปี 2564สัดส่วนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการขายและส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้า พบว่า มีการขายและส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อสังคมออนไลน์สูงถึง 300 ราย ใน 6 แพลตฟอร์ม พบการขายมากที่สุดผ่านทาง “เว็บไซต์” อยู่ที่ร้อยละ 23 รองลงมาคือผ่านทางแอปพลิเคชัน “Line” อยู่ที่ร้อยละ 21 และ “Youtube” อยู่ที่ร้อยละ 20 ส่วนช่องทาง “Facebook” พบอยู่ที่ร้อยละ 15 “Twitter” พบอยู่ที่ร้อยละ 12 และผ่านทาง “Instagram” พบอยู่ที่ร้อยละ 9จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” มีความแพร่หลายอย่างมากในกลุ่มเยาวชนไทย และยังสามารถหาซื้อได้ง่ายผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เราจึงพบเห็นแนวโน้มการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มากขึ้นในปัจจุบัน
จากการสังเกตและติดตามประเมินภายในโรงเรียนพบว่า เด็กอายุ11-15 ปีบางกลุ่มมีพฤติกรรม
เปลี่ยนไปอย่างผิดปกติเช่นติดเกมส์มาโรงเรียนพูดถึงแต่เกมส์ที่เล่นด้วยกันในค่ำคืนที่ผ่านมา ไม่สนใจเรียนก้าวร้าวและหลับในห้องเรียนบางคนมีการขอ (ขู่)เอาเงินจากเพื่อนๆและรุ่นน้องในโรงเรียนและ/หรือที่เล่นเกมส์ด้วยกัน และมีการโพสต์ในเฟสบุ๊คกลุ่ม(ปิด) ซักชวนให้ซื้อบุหรี่ไฟฟ้า โดยเป็นตัวแทนขายตรงพร้อมกับชักชวนเพื่อนๆและรุ่นน้องให้ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นเด็กที่มีฐานะค่อนข้างดีกลุ่มนี้จะมีทั้งเพื่อนในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียนมีนัดที่จะไปพบกันทั้งในสนามกีฬา และสถานที่ใกล้ร้านจำหน่ายโดยผู้ปกครอง หรือ ครู ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ ตลอดจนไม่รู้ถึงสาเหตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของบุตรหลานของตน เช่น ขอเงินมากกว่าปกติโดยอ้างเหตุซื้ออุปกรณ์การเรียนฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามาแรงในปัจจุบัน ซึ่งที่พบมีมากในกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และที่น่าเป็นห่วงก็พบในระดับชั้น ป.5 - ป.6และที่เพิ่งตรวจพบคือชั้น ป.4
ทางโรงเรียนถนอมศรีศึกษาได้เห็นความสำคัญของภัยร้ายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อกลุ่มเยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียนที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นวัยอยากรู้อยากลองโรงเรียนถนอมศรีศึกษาจึงได้จัดโครงการ “บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์” เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้รู้เท่าทันเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และเกิดความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการสูบของบุหรี่ไฟฟ้า และเป็นแกนนำในการช่วยเพื่อนมิให้ตกเป็นเหยื่อของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และ ตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม  ร้อยละ 100%  มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษ  รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน

นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม  ร้อยละ 100%  สามารถถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน  ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 “บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์”

ชื่อกิจกรรม
“บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4) กิจกรรมที่ 1กิจกรรมจัดนิทรรศการ และ อบรมสร้างความรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน
(นักเรียนระดับชั้นป.6-ม.3จำนวน 130 คน) กิจกรรมที่ 2กิจกรรมเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด (นักเรียนระดับชั้นป.6-ม.3จำนวน 130คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงโทษรู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
2.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เรียนรู้และเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียงในการหลีกเลี่ยง การสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34710.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,710.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทั้งโครงการโดยมีกิจกรรมอย่างครบถ้วน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงโทษรู้วิธีป้องกันและ
หลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
2.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เรียนรู้และเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียงในการหลีกเลี่ยง การสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า


>