กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร

ตำบลผดุงมาตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีฟันผุ

 

17.91

ปัญหาทางทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของโลก และเป็นปัญหาอันดับต้นๆของประเทศไทยที่ไม่สามารถแก้ไขให้ได้อย่างถาวร เนื่องจากเกิดจากปัจจัยหลายๆอย่างร่วมกัน เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร รวมถึงลักษณะของอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนไปมาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ทัศนคติ สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์และเด็กปฐมวัย ปัญหาสุขภาพช่องปากในหญิงมีครรภ์ จากการเป็นโรคปริทันต์จะส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์และการคลอดของทารกได้ นอกจากนี้แม่ที่มีฟันผุยังส่งผลต่อการเกิดฟันผุในลูกด้วย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้ เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่อง ปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้ เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ จากผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและทันตกรรมป้องกันฟันผุในเด็กต่ำกว่า 2 ปีพบว่า โดยเฉลี่ยในเขตตำบลผดุงมาตร ปี 2564 - 2566 เด็กมีฟันผุ ร้อยละ 10.0,40.0 และ 17.91 ตามลำดับ ซึ่งพบเด็กมีความเสี่ยงฟันผุแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันดี ด้วยมือเราในเด็กต่ำกว่า 3 ปีตำบลผดุงมาตร ปี 2567 โดยความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรและกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตรเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพในตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กต่ำกว่า 2 ปี ได้รับการตรวจฟันและฟลูออไรด์

เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ได้รับการตรวจฟันและฟลูออไรด์ ทุกราย

150.00 150.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก

ผู้ปกครองมีความรู้ดูแลสุขภาพช่องปาก

150.00 150.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 Dental mobile การตรวจและการทาฟลูออไรด์ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
Dental mobile การตรวจและการทาฟลูออไรด์ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0 - 2 ปี ในชุมชน 2.แจ้งแผนลงตรวจฟันในชุมชนแก่อสม. 3.ตรวจฟันและทาฟลูออไรด์เด็กอายุ 0 - 2 ปี ในชุมชน 6 เดือนครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี ปราศจากฟันผุเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมผู้ปกครองเด็กแปรงฟันแบบ hand on (ปฎิบัติจริงในช่องปาก)

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ปกครองเด็กแปรงฟันแบบ hand on (ปฎิบัติจริงในช่องปาก)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.ให้ความรู้ผู้ปกครองโดยการสอนผู้ปกครองแปรงฟันแบบ hand on (ปฎิบัติจริงในช่องปาก) ให้กับเด็กอายุ 0-2 ปี
2.สาธิตวิธีแปรงฟันแบบ hand on (ปฎิบัติจริงในช่องปาก) ให้กับเด็กอายุ 0-2 ปี
งบประมาณ
1.ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 150 คน x 20 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2.ค่ายาสีฟัน (ขนาด 40g) จำนวน 150 คน x 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
3.ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1 เมตร x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองเด็ก จำนวน 150 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 7,500 บาท 5.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองเด็ก จำนวน 150 คน x 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 6.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลช่องปาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ปราศจากฟันผุเพิ่มมากขึ้น
2. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันให้ลูกมากขึ้น


>