กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟันสวย ด้วยมือเรา ศพด.บ้านเมาะตาโก๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเมาะตาโก๊ะ

ศพด.บ้านเมาะตาโก๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (2-4)ที่มีฟันผุ (คน)

 

27.00
2 จำนวนเด็กที่ได้รับการดูแลเกี่ยวกับปัญหาภายในช่องปาก (คน)

 

27.00

หลักการและเหตุผล สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่าง เช่น โรคฟันผุเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป มีปัจจัยร่วมหลายๆอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบันสภาพเศฐกิจสังคมและวัฒนธรรมต่างๆล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขาพและสุขภาพช่องปากแก่เด็กนักเรียนพร้อมกับสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กๆนั้น เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ตระหนักเห็นว่า เรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรมอาจจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากโดยเฉพาะเด็กก็จะมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเมาะตาโก๊ะ จึงได้คิดที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็กให้หันมาสนใจและให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการดูแลักษาสุขภาพช่องปากให้มากขึ้น โดยจัดกิจกรรมที่สนุกเน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิด และเพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนและผู้ใกล้ชิดต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพภายในช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพภายในช่องปาก

27.00 27.00
2 เพื่อส่งเสริมโภชนาการให้เด็กก่อนวัยเรียน ผู้ปกครอง ครู และวิทยากร

เด็ก ผู้ปกครอง ครู และวิทยากรได้รับความรู้ ความเข้าใจในการเลือกอาหารดีมีประโยชน์

57.00 57.00
3 เพื่อให้เด็กสามารถปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้

เด็กสามารถปฎิบัติและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

27.00 27.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 27
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มครูและผู้ดูแลเด็ก 3
กลุ่มผู้ปกครองเด็ก 27

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและโภชนาการในเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและโภชนาการในเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กำหนดนโยบายและกิจกรรม 2.จัดโครงการและชี้แจงกิจกรรมโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ 3.จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพภายในช่องปากและวิธีการแปรงฟันให้ถูกวิธี โดยมีท่านวิทยากรจาก รพ.สต.ผดุงมาตร พร้อมเอกสารประกอบการอบรม 4.จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กปฐมวัยงบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 30 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และเด็ก จำนวน 57 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,425 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 4.ค่าป้ายโครงการขนาด 1 เมตร x 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและเด็กได้รับความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพภายในช่องปากและเลือกรับประทานอาหารดีมีประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4875.00

กิจกรรมที่ 2 2.สาธิตวิธีการแปรงฟันให้ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
2.สาธิตวิธีการแปรงฟันให้ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้และสาธิตวิธีการแปรงฟันให้ถูกวิธี 2. ให้เด็กและผู้ปกครองมีส่วนร่วมปฎิบัติการแปรงฟันให้ถูกวิธีงบประมาณ 1. ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และเด็ก จำนวน 57 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,425 บาท 3.ค่าอุปกรณ์ในการฝึกปฎิบัติ- แปรงสีฟัน จำนวน 27 ด้ามๆละ 20 บาท เป็นเงิน 540 บาท 4.ค่ายาสีฟันสำหรับเด็กขนาด 80 กรัม จำนวน 27 หลอดๆละ 27 บาท เป็นเงิน 729 บาท 5.ค่าแก้วน้ำสแตนเลส ขนาด 8 ซม. x 7.5 ซม. จำนวน 27 ใบๆละ 20 บาท เป็นเงิน 540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและเด็กแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี และสุขภาพภายในช่องปากดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4434.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,309.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองและเด็กได้รับความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพภายในช่องปาก 2.ผู้ปกครองและเด็กรู้จักรับประทานอาหารดีมีประโยชน์ 3.ผู้ปกครองและเด็กแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี 4.สุขภาพภายในช่องปากของเด็กดีขึ้น


>