กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลกงหรา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสมุนไพรเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลกงหรา

กลุ่มสมุนไพรบ้านในมอญ

1. นางสายพิณ คงรักษ์
2. นางพรรณราย เอียดสกุล
3. นางประภาศรี บุญพะหุลา
4. นางจรัสศรี ตุเทพ
5. นางประจวบ หวานศรี
6.นางสาวชาลินี สะท้านบัว

หอประชุมหมู่ที่ 7 ตำบลกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หมู่ที่ 7 ตำบลกงหราอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำของจังหวัดพัทลุง มีลักษณะเป็นที่สูง ตีนภูเขา ใกล้อาณาเขตเทือกเขานครศรีธรรมราช บริเวณเขาบรรทัด ด้วยเหตุนี้ สภาพพื้นที่จึงมีความชื้นสูง มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายเป็นอย่างสูงของพืชพันธุ์ต่างๆ ประชาชนในพื้นที่บริเวณนี้จึงได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม ทั้งการประกอบอาชีพ อาหาร ยารักษาโรค เป็นต้น
การรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชุมชน หมู่ที่ 7 มีหลากหลายกิจกรรมมีการรวมตัวและการล้มเลิกกลุ่ม มีการจัดตั้งกลุ่มจากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ และการรวมกลุ่มกันเองของชาวบ้าน ทั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มขนมทองม้วน กลุ่มสมุนไพร เป็นต้น การที่ภายในหมู่ที่ 7 มีการรวมกลุ่มกันหลายกลุ่มอย่างคึกคักสะท้อนให้เห็นถึงการมีสำนึกความเป็นสมาชิกของชุมชน ที่เป็นห่วงและหวังดีต่อชุมชนตนเอง จากประสบการณ์การรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชุมชนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เกิดการเรียนรู้ภายในของสมาชิกชุมชน และเกิดความสนใจยกระดับและพัฒนาศักยภาพตนเองของสมาชิกชุมชน จึงเกิดการพูดคุยในชุมชนหลายครั้งถึงการต่อยอดกิจกรรมที่เคยทำร่วมกับการรักษาสุขภาพสมาชิกชุมชนที่ทำกิจกรรมและรักษาทรัพยากรของชุมชนไปพร้อมกัน ซึ่งหมู่ที่ 7 ตำบลกงหราเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะสำคัญคือเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรหลากหลาย มีความชุ่มชื้นสูง
ปี พ.ศ.2558 ประชาชนหมู่ที่ 7 ได้รวมตัวกันผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน พิมเสนน้ำ และลิปสติก โดยมีเป้าหมายเพื่อการมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ และต้องมีส่วนประกอบมาจากทรัพยากรในท้องถิ่น จากนั้นได้จัดตั้งกลุ่มและขึ้นทะเบียนสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และมีแนวทางผลิตสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป้าหมายให้สมาชิกกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงสารเคมีอันตราย และไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ กลุ่มได้มีการผลิตสบู่ เช่น สบู่ต้นกระสังสบู่กลับบัวแดงสบู่ น้ำผึ้งขมิ้นชัน สบู่ผลิตน้ำยาล้างจานชุมชน เป็นต้น ซึ่งสมาชิกกลุ่มเป็นสมาชิกชุมชนที่ผ่านประสบการจัดตั้งกลุ่มและเกิดการเรียนรู้จนปัจจุบันสนใจการดูแลรักษาสุขภาพ
กลุ่มน้ำมันกงหราได้หารือร่วมกับผู้นำชุมชนและมีความเห็นว่า ปัจจุบัน สมาชิกชุมชนมีปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะคนหนุ่มเป็นโรคเบาหวาน มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสันนิษฐานว่ามากพฤติกรรมการกิน นอกจากนี้สมาชิกกลุ่มน้ำมันกงหราหลายคนมีปัญหาความดันสูง และมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ไม่สามารถร่วมกิจกรรมในชุมชนได้เต็มที่ กลุ่มน้ำมันกงหราประสงค์ดำเนินโครงการที่ต่อยอดฐานเดิมจากการที่เคยผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จะนำไปสู่การมีเข้าใจต่อการดูแลสุขภาพจากทุนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มี โดยการสำรวจต้นทุนที่มีและนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพของสมาชิก และรวบรวมองค์ความรู้ด้านสมุนไพรในหมู่ที่ 7 และวิธีการใช้ประโยชน์ เป็นองค์ความรู้ของชุมชน ให้ชุมชนเองได้รับรู้ทั่วกัน และในอนาคตสมาชิกชุมชนสามารถต่อยอดองค์ความรู้นี้ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ
(1) ประชุมระดมความคิดสมาชิกกลุ่มน้ำมันกงหรา เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางดำเนินงาน
(2) แบ่งบทบาทหน้าที่ ได้แก่ หน้าที่อำนวยการติดต่อประสานงานภายในชุมชน ประสานงานภายนอก กระบวนกร จัดหารถยนต์เพื่อบรรทุกผู้เข้าร่วม จัดเตรียมสถานที่ จัดหาอาหารอาหารว่างและเครื่องดื่ม จัดหาวัสดุอุปกรณ์จับประเด็น บันทึกข้อมูลพิมพ์เอกสาร เผยแพร่ผลงาน
กิจกรรมการประชุมวางแผนเตรียมการ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25x10 250 บาท
กิจกรรมการประชุมชี้แจงวิธีการศึกษาสำรวจสายคลองแหล่งอาหารเป็นยา
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25x25 625บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์การประชุมและบันทึก สมุดปากกากระดาษพรู๊ฟ ฯลฯ 1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กันยายน 2567 ถึง 7 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ให้ความรู้กับคนในชุมชนเรื่องสมุนไพรในชุมชน
2. ให้ความรู้กับคนในชุมชน ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ที่ทำมาจากสมุนไพรต่างๆเช่น ทำยาดม,สบู่ ,น้ำมันเพื่อไว้นวด ฯลฯ อื่นๆ
3. ให้คนในชุมชนได้ใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง
4. เพื่อเสริมอาชีพให้แก่คนในชุมชน
ผลลัพธ์
1. สมาชิกได้ความรู้เรื่องสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบล
2. เกิดช่องทางและวิธีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
3. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายใต้ชื่อมีการพัฒนาด้านคุณภาพและด้านอื่นๆ
4. เกิดผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่จากสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลกงหรา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1875.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นดำเนินการ ดำเนินการ 1 ชี้แจงวิธีการศึกษาสำรวจสายคลองแหล่งพืชอาหารพืชสมุนไพรในธรรมชาติของชุมชน
2 สำรวจสายคลองต้นน้ำ เพื่อศึกษาพืชอาหารพืชสมุนไพร รวมถึงสภาพพื้นที่ที่เป็นแหล่งพืชอาหารพืชสมุนไพร โดยแบ่งเส้นทางการสำรวจตามสายคลอง พร้อมมีวิทยากรให้ความรู้ร่วมไปในแต่ละทีมสำรวจ เพื่อให้ข้อมูลความรู้ กิจกรรมการประชุมชี้แจงวิธีการศึกษาสำรวจสายคลองแหล่งอาหารเป็นยา
กิจกรรมการสำรวจแหล่งอาหารเป็นยา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(รวมวิทยากร 3 คน)25x28 700บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร500x3 1,500บาท
กิจกรรมการประกอบอาหารเป็นยาและสรุปบทเรียน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25x28700บาท - ค่าวัตถุดิบประกอบอาหาร 3 กลุ่ม กลุ่มละ 1000 บาท 3,000บาท -ค่าวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์ 2 อย่าง 1000บาท - ค่าจัดทำเอกสารข้อมูลองค์ความรู้อาหารเป็นยาของหมู่ที่ 7 จำนวน 20 เล่ม 500บาท
-ค่าป้ายไวนิลเผยแพร่องค์ความรู้อาหารเป็นยาพร้อมติดตั้งขนาด 1 ป้าย800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2567 ถึง 23 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

(1) ผู้เข้าร่วมสามารถถ่ายทอดความรู้ รู้จักพืช แหล่งของพืช รายการอาหาร วิธีประกอบอาหาร วิธีผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
(2) ประชาชนหมู่ที่ 7 รับรู้การดำเนินโครงการและผลจากการดำเนินโครงการ จากการมีเอกสารรวบรวมองค์ความรู้พืชสมุนไพรของหมู่ที่ 7  ตำบลกงหรา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 3 การประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(3.3) สรุปข้อมูลที่ได้จากการสำรวจรวมกันทุกทีม โดยมีการถอดข้อมูลในประเด็นต่างๆ ดังนี้
                       * พันธุ์พืชอาหาร พืชสมุนไพร
        * ลักษณะสภาพแวดล้อมที่พืชอยู่ ปริมาณ         * วิธีการใช้ประโยชน์จากพืช
        เป็นต้น (3.4) นำเอาพืชอาหารมาประกอบอาหาร และผลิตผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน ตามขั้นตอนที่วิทยากรแนะนำ วิทยากรสาธิต บรรยาย ผู้เข้าร่วมบันทึกการเตรียมอาหารจนเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน และร่วมรับประทาน
(3.5) ถอดความรู้ที่ได้ บันทึกเป็นเอกสาร รูปเล่มและบอร์ดกระดานเผยแพร่ข้อมูลติดตั้งที่ หอประชุมหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2567 ถึง 8 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. การประเมินผลโครงการ
         ประเมินจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แต่ละข้อ โดยวิธีแสดงหลักฐานการปฏิบัติด้วยรูปถ่าย และการตอบแบบสอบถามผู้เข้าร่วม โดยคำถามนำมาจากวัตถุประสงค์     (1) ภาพการสำรวจ  สอบถามวิทยากร การเก็บตัวอย่างพืชอาหาร การสาธิตการใช้พืช และวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์และปรุงอาหาร
        (2) ผู้เข้าร่วมสามารถปฏิบัติการผลิตผลิตภัณฑ์และประกอบอาหาร และมีความรู้การรับประทานอาหารเป็นยา ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด      (3) ภาพฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในชุมชนหมู่ที่ 7 ตำบลกงหรา ในรูปเล่มเอกสารและป้ายเผยแพร่
  2. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ       (1) ผู้เข้าร่วมสามารถถ่ายทอดความรู้ รู้จักพืช แหล่งของพืช รายการอาหาร วิธีประกอบอาหาร วิธีผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,075.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจากการกินอาหารและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย มาจากพืชในท้องถิ่นที่มาจากการถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ในชุมชน
(2) ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจวิธีการการบริโภคอาหารจากทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างปลอดภัยทุกขั้นตอน ได้แก่ การเก็บหา การสังเกต การรู้จักแหล่งของพืช การบริโภคเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การมีความรู้ความเข้าใจวิธีประกอบอาหาร การเก็บรักษา การเลือกและการหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ปลอดภัย
(3) ประชาชนหมู่ที่ 7 ตำบลกงหราได้มีฐานข้อมูลการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้นในชีวิตประจำวันจากการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น ที่เข้าถึงง่าย เปิดเผย และช่วยยกระดับความรู้ของท้องถิ่นฐานข้อมูลที่เข้าถึงง่าย และมาจากคนในพื้นที่เองจะสร้างความภาคภูมิใจ นำไปสู่สำนึกการรัก หวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น


>