กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

โรงพยาบาลกะพ้อ

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากผลการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กอายุ 3 ปี, 6 ปี และ 12 ปี ในตำบลกะรุบี พบว่า เด็กอายุ 3 ปี
มีฟันน้ำนมผุ คิดเป็นร้อยละ 23.91, ส่วนเด็กอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ฟันแท้เพิ่งขึ้น ก็มีฟันแท้ผุคิดเป็นร้อยละ 13.33, สำหรับเด็กอายุ 12 ปี มีฟันแท้ผุคิดเป็นร้อยละ 73.33 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กอายุ 12 ปี ที่มีฟันแท้ผุของ
จังหวัดปัตตานี และจะเห็นได้ว่าเด็กในตำบลกะรุบี มีฟันแท้ผุตอนอายุ 12 ปี เพิ่มขึ้นถึง 5.5 เท่า เมื่อเทียบกับตอน
อายุ 6 ปี นอกจากนี้ จากการสำรวจเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านกะรุบี และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์” พบว่า
เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้แปรงฟันเลย ทั้งในตอนเช้าและตอนเย็น ทางโรงพยาบาลกะพ้อร่วมกับโรงเรียนบ้านกะรุบี
และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์” จึงจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันขึ้น เพื่อให้เด็กโรงเรียนบ้านกะรุบี และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์” มีโอกาสได้แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ซึ่งมีผล
ช่วยป้องกันฟันผุ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่เนื่องจากความลำบากในการจัดหาอุปกรณ์ ได้แก่ แปรงสีฟัน และยาสีฟัน
ซึ่งเด็กนักเรียนแต่ละคนมีความพร้อมในการจัดหาไม่เท่ากัน ทางโรงพยาบาลกะพ้อเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปาก
ของเด็กในวัยเรียน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการเพื่อให้เด็กได้มีอุปกรณ์ใช้สำหรับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
รวมถึงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กะรุบี ซึ่งเป็นเด็กวัย 2-5 ขวบ ก็พบปัญหาเรื่องเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้แปรงฟัน ทั้งในตอนเช้าและตอนเย็น ทางโรงพยาบาลกะพ้อ จึงร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กะรุบี จัดกิจกรรม
แปรงฟันหลังอาหารกลางวันขึ้น รวมถึงจะจัดส่งทันตแพทย์และ/หรือทันตาภิบาล รวมถึงผู้ช่วยทันตแพทย์ ออกไปให้บริการตรวจฟันและสอนแปรงฟัน ให้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กะรุบี, เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านกะรุบี และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์” มีสุขภาพฟันที่แข็งแรงขึ้น และมีฟันผุลดลง
นอกจากนี้ ทางกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลกะพ้อ ยังจะมีกิจกรรมทาฟลูออไรด์วาร์นิช เพื่อป้องกัน
ฟันผุ ในกลุ่มเด็กในชุมชน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ในเขตกะรุบี เพื่อป้องกันฟันผุ และฟันที่มีรอยผุ
ระยะเริ่มแรก ไม่ให้ผุเป็นรูต่อไป โดยมาตรการนี้สามารถป้องกันฟันผุได้ประมาณร้อยละ 30 เป็นมาตรการที่ทำได้ง่าย
ไม่เจ็บ จึงเหมาะกับการออกให้บริการในชุมชน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กะรุบี, โรงเรียนบ้านกะรุบี และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์” สามารถแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ได้อย่างมีคุณภาพ

ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. กะรุบี, โรงเรียนบ้านกะรุบี และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์” มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

1.00 2.00
2 เพื่อให้เด็กในชุมชน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ในเขตกะรุบี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช เพื่อป้องกันฟันผุ

เพื่อให้เด็กในชุมชน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ในเขตกะรุบี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
เพื่อป้องกันฟันผุ

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 672
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 29/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแปรงฟัน หลังอาหารกลางวันใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. กะรุบี, โรงเรียนบ้านกะรุบี และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแปรงฟัน หลังอาหารกลางวันใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. กะรุบี, โรงเรียนบ้านกะรุบี และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กะรุบี จำนวน 81 คน,
โรงเรียนบ้านกะรุบี จำนวน 205 คน และนักเรียน โรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์” จำนวน 179 คน รวม 465 คน
- แปรงสีฟัน ราคาด้ามละ 12.00 บาท จำนวน 1 ด้าม/ครั้ง
ปีละ 2 ครั้ง รวมจำนวนด้าม รวมเป็นเงิน 11,160.00 บาท - ยาสีฟัน ราคาหลอดละ 105.00 บาท จำนวน 0.5 หลอด/คน/ปี
รวมจำนวน 233 หลอด รวมเป็นเงิน 24,465.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35625.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ทาฟลูออไรด์วานิช เพื่อป้องกัน ฟันผุ ให้แก่เด็กในชุมชน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ในเขตกะรุบี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ทาฟลูออไรด์วานิช เพื่อป้องกัน ฟันผุ ให้แก่เด็กในชุมชน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ในเขตกะรุบี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุและอุปกรณ์ 7,004.55 บาท ดังนี้
1. เด็กในชุมชน 127 คน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 81 คน และ โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตกะรุบี 464 คน
รวม 672 คน

-.ฟลูออไรด์วานิช ราคาหลอดละ 850.65 บาท จำนวน 7 หลอด
รวมจำนวน 7 หลอด รวมเป็นเงิน 5,954.55 บาท
- พู่กันทาฟลูออไรด์ ราคากล่องละ 150.00 บาท จำนวน 7 กล่อง
  (1 กล่อง มี 100 ชิ้น)        รวมจำนวน 7 กล่อง รวมเป็นเงิน 1,050.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7004.55

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,629.55 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>