กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อาสาใส่ใจป้องกันมะเร็ง ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เขต PCUรพ. กะพ้อ

กะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นสาเหตุการตายเป็นระดับ ต้นๆจากโรคมะเร็งของคนในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNC Test ตรวจโดยเจ้าหน้าที่ และตรวจด้วยตนเอง ถ้าหากตรวจทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวกด้วยตนดองราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ในมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง จังหวัดปัตตานีในปี 2564 เริ่มมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA TEST ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยอันดับต้นๆในคนไทยและอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคลำไส้ใหญ่ โดยวิธี ง่ายๆ รวดเร็ว และประหยัด การตรวจเลือดที่มองไม่เห็นในอุจจาระ Fecal Occult Blood test( Fit test ) ซึ่งทำโดยเก็บอุจจาระตรวจด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมายประชากร อายุ 50-70 ปี และกลุ่มเสี่ยง หากผลเป็นบวก ต้อได้รับการรักการงส่งต่อ
สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบ PCU รพ.กะพ้อพบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปี ๒๕62-๒๕66 ร้อยละ 47.39 ,54.67 ,13.93 , 14.5.และ 21.53 ตามลำดับ ปีงบประมาณ 2566พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติทั้งสิ้น 2 รายได้รับการส่งต่อไปยัง รพ.ปัตตานีเพื่อตรวจชิ้นเนื้อ พบว่าผลปกติทั้ง 2ราย กลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓0-70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมในปี ๒๕62-๒๕66 ร้อยละ 83.81, 55.8 ,71.05, 75.80 และ 75..60 ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงจำนวน 33 คน คัดกรองและที่พบก้อนได้รับการตรวจ ด้วย Mammogram ที่อำเภอสายบุรี่ จำนวน6 คนผลผิดปกติ3 รายส่งต่อตรวจชิ้นเนื้อ3 รายผลปกติทั้ง 3 รายและกลุ่มอายุ 50 – 70 ปี ที่ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปี 2566จำนวน 48คน ผลบวก 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16 ได้รับส่องกล้อง ที่ รพ.สายบุรี ผลปกติทั้ง 2 คน
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิด จากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีทัศกษะหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจและการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงในกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเสี่ยงทางชมรม อาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตPCUได้เล้งเห็นความสำตัญในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว จึงจัดทำโครงการ อาสา ใส่ใจ่ ป้องกันมะเร็ง ประจำปีงบประมาณ 2567เพื่อทำกิจกรรมเชิงรุกในชุมชนเกิดการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งย่างครอบคลุมและทั่วถี่ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทัศคติที่ดี เกิดความตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สตรีที่มีอายุ 30-60 ปีได้รับความรู้ และเกิดความตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80

1.00 2.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเกิดทัคษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

สตรีที่มีอายุ 30-70 ปีได้รับความรู้ และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

1.00 2.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ถูกต้อง

ประชาชนที่มี อายุ 50-70 ปี และกลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้และตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

1.00 2.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่รับการตรวจคัดกรองที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็ง พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัย ร้อยละ 100

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 29/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์เป็นมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์เป็นมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มสตรี ที่มีอายุ 30-60 ปี และ มะเร็งเต้านม ในกลุ่มสตรี ที่มีอายุ 30 - 70 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มสตรี ที่มีอายุ 30-60 ปี และ มะเร็งเต้านม ในกลุ่มสตรี ที่มีอายุ 30 - 70 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิล ขนาด 1 เมตร*2 เมตร = 700 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 100 คน ๆ ละ 50 บาทx 1 มื้อ = 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คนๆ ละ 25 บาท x 2 มื้อ = 5,000 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท = 3.000 บาท -ค่าวัสดุ 3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเให้ความรูเชิงรุก และสาธิตวิธีทดสอบวิธีการตรวจมะเร็งลำใส้ โดยชุดน้ำยา Fit Test

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเให้ความรูเชิงรุก และสาธิตวิธีทดสอบวิธีการตรวจมะเร็งลำใส้ โดยชุดน้ำยา Fit Test
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรม ให้ความรู้และแจกชุดน้ำยา Fit test และสอนวิธีการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยตนเอง ในละแวก ของ อสม ที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม ให้ความรู้และแจกชุดน้ำยา Fit test และสอนวิธีการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยตนเอง ในละแวก ของ อสม ที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 48 คนๆละ 25 บาท x 2 เมื้อ = 2,.400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>