กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใย ใส่ใจ ผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

ชมรมมุสลิมคนรักษ์สุขภาพตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

“สังคมสูงอายุ” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก รวมทั้งในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ การเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete - Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 และจะก้าวสู่การเป็นสังคม สูงอายุระดับสุดยอด (Super - Aged Society) ในปี พ.ศ. 2574 จากสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากร และงบประมาณของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะงบประมาณด้านสุขภาพอนามัย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยง ด้านสุขภาพที่เรื้อรังซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเตรียมการเพื่อรองรับ สถานการณ์สังคมสูงอายุจึงเป็นประเด็นเร่งด่วนสำคัญที่ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบและดำเนินการล่วงหน้า
เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยของผู้สูงอายุ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ทรงตัวได้ไม่ดีพอ การมองเห็นไม่ชัด หรือสายตาผิดปกติ ส่งผลให้ผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มได้ และปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบกับการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง ภาวะการหกล้มเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตราย เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกและบางส่วนต้องใช้รถเข็นไปตลอดชีวิต ส่งผลให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง ต้องมีคนดูแลตลอดเวลา และมีปัญหาการเคลื่อนไหวตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน
หลักฐานทางวิชาการระบุว่าวิธีลดความเสี่ยงของการหกล้มที่สามารถทำเองได้ ค่าใช้จ่ายน้อย และได้ผลมากที่สุด คือการออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการเดินซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการหกล้มในผู้สูงอายุ ตลอดจนการได้รับการแก้ไขปัญหาทางการมองเห็นก็ช่วยลดความเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุได้เช่นกัน
จากปัญหาดังกล่าว ทางชมรมมุสลิมคนรักษ์สุขภาพตำบลกะรุบี ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จึงเล็งเห็นความสำคัญและได้จัดทำโครงการห่วงใย ใส่ใจ ผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี เพื่อป้องกันการหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตาได้รับการตรวจเบื้องต้นและส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง และเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการมองเห็น สายตาสั้น ยาว และสายตาเอียงได้รับการตรวจสายตา และได้รับแว่นตาที่มีคุณภาพขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุผ่านการประเมิน TUG ดีขึ้น ร้อยละ 80

1.00 2.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี

ผู้สูงอายุผ่านการประเมิน TUG ดีขึ้น ร้อยละ 80

1.00 2.00
3 เพื่อป้องกันการหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุผ่านการประเมิน TUG ดีขึ้น ร้อยละ 80

1.00 2.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตาได้รับการตรวจเบื้องต้นและส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตาได้รับการตรวจเบื้องต้น และส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

1.00 2.00
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการมองเห็น สายตาสั้น ยาว และสายตาเอียงได้รับการตรวจสายตา และได้รับแว่นตาที่มีคุณภาพ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการมองเห็น สายตาสั้น ยาว และสายตาเอียงได้รับการตรวจสายตา และได้รับแว่นตาที่มีคุณภาพ ร้อยละ 100

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 48
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 29/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มให้แก่คณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มให้แก่คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 48 คนๆละ 50 บ. x 1 มื้อ = 2,400 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 48 คนๆละ 25 บ. x 2 มื้อ = 2,400 บ.
  • ค่าวิทยากร 3ชม. X 600 บาท = 2,400 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม

ชื่อกิจกรรม
อบรมการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน
    48 คนๆละ 50 บ. x 1 มื้อ = 2,400 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 48 คนๆละ 25 บ. x 2 มื้อ = 2,400 บ.
  • ค่าวิทยากร 5ชม. X 600 บาท = 3,000 บ.
  • ค่าไวนิล ขนาด 1 เมตร*2 เมตร1 ป้าย = 700 บ. -ค่าวัสดุสำนักงาน = 500 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจวัดสายตาและประกอบแว่นตา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจวัดสายตาและประกอบแว่นตา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตรวจวัดสายตา 64 คนๆละ 50 บ. x 1 ครั้ง = 3,200 บ. -ค่าประกอบแว่นสายตายาว สั้น เอียง
    64 อัน เป็นเงิน 20,000 บ. หมายเหตุ ค่าประกอบแว่นสามารถถัวฉลี่ยจ่าย ในส่วน 20,000 บาท โดยคิดจากอัตราดังนี้          *สายตายาว 200 บาท/อัน          *สายตาสั้น/เอียง 500 บาท/อัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 29 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>