กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ชะลอไตเสื่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. นายกำชัย สากลเจริญ ตำแหน่ง รองประธานชุมชนหลังศาลฯ เบอร์โทร 080-8646369
2. นางอรพินท์ ฐานบัณฑิต ตำแหน่ง กรรมการชุมชน เบอร์โทร 097-9939686
3. น.ส.ศรีวรรณ จารุธนกุล ตำแหน่ง กรรมการชุมชน เบอร์โทร 097-3882023
4. น.ส.มณีรัตน์ แซ่ตั้ง ตำแหน่ง กรรมการชุมชน เบอร์โทร 087-9696038
5. นางภัทรภร สากลเจริญ ตำแหน่ง กรรมการชุมชน เบอร์โทร 086-2939296

ชุมชนหลังศาลจังหวัดเบตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกรวมถึงประเทศไทย ภาวะไตเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease,ESRD) ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือการปลูกถ่ายไต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วยโรค ไตเรื้อรังในประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะต้องแบกรับ ค่าใช้จ่ายในการรักษาซึ่งมีราคาสูงโดยเฉพาะในระยะที่เข้าสู่การบำบัดทดแทนไต การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตเรื้อรังและชะลอความเสื่อยมของไต ในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการค้นหา คัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง รวมถึงการติดตามดูแลให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การดูแลตนเองที่บ้านจนถึงเกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น จนทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีจำนวนลดลงได้ในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการดูแลคนในชุมชน
ข้อมูลจากการการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในชุมชนหลังศาลจังหวัดเบตง ปี 2565 จำนวน 120 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 10 ราย สงสัยป่วย จำนวน 6 ราย พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 11 ราย สงสัยป่วย จำนวน 8 ราย และข้อมูลจากศูนย์บริการสาธารณสุขเมืองสวนน้ำแกรด์วิลล่า พบว่าประชากรชุมชนหลังศาลจังหวัดเบตง มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 230 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 33 ราย และมีผู้ป่วยเป็นโรคไตระยะที่ 5 จำนวน 1 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2566)
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน เพื่อชะลอไตเสื่อมในประชาชน ชุมชนหลังศาลจังหวัดเบตง จึงได้จัดการทำโครงการปรับพฤติกรรม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ชะลอไตเสื่อมขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเอง ครอบครัว ได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังป้องกันประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ไม่ให้เป็นโรคไต

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ดำเนินโรคไปสู่โรคไตเรื้อรังลดลง

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความรู้/ตระหนักในการดูแลสุขภาพ และชะลอการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
  1. ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ และชะลอการเกิดไตวายเรื้อรัง
0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สามารถดูแล/ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแล/ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ชะลอไตเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ชะลอไตเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1. อบรมให้ความรู้ - ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 60 คน X 75 บาท X 1 มื้อ      เป็นเงิน  4,500    บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน X 35 บาท X 2 มื้อ  เป็นเงิน  4,200    บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท      เป็นเงิน    3,600  บาท - ค่าวัสดุประกอบการอบรม เช่น กระเป๋าหรือแฟ้ม, สมุด, ปากกา ฯลฯ
                       จำนวน 60 คน X 40 บาท                  เป็นเงิน    2,400  บาท - ค่าแผ่นพับให้ความรู้กระดาษสี จำนวน 3 เรื่องๆละ60 แผ่นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 900  บาท - ค่าไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.80 x 2.4 เมตรๆละ 250 บาท 1 ผืน    เป็นเงิน   1,080  บาท - ค่าถ่ายเอกสาร แบบคัดกรอง “พฤติกรรมการบริโภคอาหาร”
  จำนวน 60 แผ่นๆ ละ 1.20 บาท                  เป็นเงิน     72   บาท - ค่าเช่าสถานที่ จำนวน 1 วัน                    เป็นเงิน  2,000  บาท             รวมเงินกิจกรรมที่ 1 จำนวน 18,752.- บาท กิจกรรมที่ 2. การเฝ้าระวังโรคเรื้อรังและติดตามเยี่ยมบ้าน
- ค่าแถบตรวจน้ำตาล จำนวน 2 กล่องๆละ 375 บาท    เป็นเงิน       750 บาท - ค่าเข็มเจาะ จำนวน 1 กล่องๆละ 300 บาท          เป็นเงิน       300 บาท รวมเงินกิจกรรมที่ 2 จำนวน 1,050.- บาท * หมายเหตุ หากแถบตรวจน้ำตาลและเข็มมีไม่เพียงพอเบิกจากPCU.ในเขตรับผิดชอบ กิจกรรมที่ 3. การประเมินผล - ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 ชุด         เป็นเงิน    300   บาท รวมเงินกิจกรรมที่ 3 จำนวน  300.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ไม่ให้เป็นโรคไต
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความรู้/ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สามารถดูแล/ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20102.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,102.00 บาท

หมายเหตุ :
**หมายเหตุ ทุกรายการทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ไม่ให้เป็นโรคไต
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความรู้/ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สามารถดูแล/ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง


>