กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชาชนอายุ 35 - 59 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชาชนอายุ 35 - 59 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. นางนภษรวงศ์วัฒนากูลประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนสวนผัก
2. นายวรชัย ชัยพิชญากุล รองประธาน
3. นางวิไลรัตน์ ชาญประเสริฐกุลเลขานุการ4. นางสาวกนกวรรณ แซ่เลี่ยน อสม. 5. นายพงค์ศักดิ์ นุคระอานนท์ อสม.

สมาคมบำรุงราษฎร์(แต้จิ๋ว) ชุมชนสวนผัก เทศบาลเมืองเบตง ถ.จันทโรทัย ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนสวนผัก ได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชาชนอายุ 35 - 59 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย ปี 2566 มาต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี ด้วยตระหนัก และเล็งเห็นถึงความสำคัญว่าหากไปรับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลซึ่งมีผู้มารับบริการเป็นจำนวนมาก การคัดกรองในเบื้องต้นจะช่วยให้ค้นพบผู้ป่วยรายใหม่เร็วขึ้น ได้รับการบริการที่ทันท่วงที ลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุข
สถิติผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของชุมชนสวนผัก จากจำนวนประชากรที่มีอายุ 35 - 59 ปี จำนวน 508 คน เป็นชาย 254 คน หญิง 254 คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 8 ราย เป็นความ
ดันโลหิตสูงอย่างเดียว 28 ราย เป็นเบาหวาน 9 รายรวม 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.28(ข้อมูลเดือนตุลาคม 2565 จาก PCU ศาลาประชาคม) และหลังจากดำเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสดในปี 2566 ค้นพบและส่งต่อผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 3 ราย
ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนสวนผักจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชากรอายุ 35 – 59 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย ปี 2567เพื่อให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตัวเองได้ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ ละ เลิกสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้รับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน ให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย การช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเอง และเพื่อดูแลสมาชิกในครอบครัว ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ อสม.ชุมชนสวนผักจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 – 59 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง

เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 – 59 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวและชุมชนตระหนักและเล็งเห็นคุณค่าของสุขภาพ

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวและชุมชนตระหนักและเล็งเห็นคุณค่าของสุขภาพ ร้อยละ 80%

0.00
3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ

พื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ  ร้อยละ 80%

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชาชนอายุ 35 - 59 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย ปี 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชาชนอายุ 35 - 59 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วย ปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน  2  คนๆละ  3  ชม.ๆละ  600 บาท                เป็นเงิน   3,600 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆละ 75 บาท 1 มื้อ               เป็นเงิน   11,250 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 35 บาท  2 มื้อ            เป็นเงิน   10,500 บาท
    • ค่าสื่อประชาสัมพันธ์              ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.8 x 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืน                  เป็นเงิน   1,125 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรมเป็นเงิน
    • แฟ้ม สมุด ปากกา เป็นต้น จำนวน 150 คนๆ ละ 40 บาท                  เป็นเงิน   6,000 บาท
    • ค่าแผ่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 กล่องๆละ 590 บาท      เป็นเงิน   1,180  บาท
                        - ค่าเช่าสถานที่                                                               เป็นเงิน   2,000 บาท
             - ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่ม                เป็นเงิน      300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 จากการตอบแบบสอบถาม ก่อนและหลังการอบรม
  2. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35955.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,955.00 บาท

หมายเหตุ :
กำหนดการอาจมี การเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 จากการตอบแบบสอบถาม ก่อนและหลังการอบรม
2. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม


>