กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

“บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใกล้ตัวเรา”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ)

ณ อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนเทศบาล2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึง วิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่ระบาดเพิ่มขึ้นถึงประมาณ10 เท่า ใน 1 ปี ในเวทีเสวนา ‘บุหรี่ไฟฟ้ามหันภัยไม่เงียบล่าเยาวชน’ ของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบประชากรไทยมีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 0.14 % คิดเป็นจำนวน 78,742 คน ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ 15-24 ปี จำนวน 24,050 คน และการสำรวจสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ปี 2565 ภายใต้โครงการขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ ของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยมีขนาดตัวอย่างอายุ 15 ปีขึ้นไป พบอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า1.21%คิดเป็นจำนวน 709,677 คน โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ 15-24 ปีจำนวน 269,553 คน
สัดส่วนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการขายและส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้า พบว่า มีการขายและส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อสังคมออนไลน์สูงถึง 300 ราย ใน 6 แพลตฟอร์ม พบการขายมากที่สุดผ่านทาง “เว็บไซต์” อยู่ที่ร้อยละ 23 รองลงมาคือผ่านทางแอปพลิเคชัน “Line” อยู่ที่ร้อยละ 21 และ “Youtube” อยู่ที่ร้อยละ 20 ส่วนช่องทาง “Facebook” พบอยู่ที่ร้อยละ 15 “Twitter” พบอยู่ที่ร้อยละ 12 และผ่านทาง “Instagram” พบอยู่ที่ร้อยละ 9จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” มีความแพร่หลายอย่างมากในกลุ่มเยาวชนไทย และยังสามารถหาซื้อได้ง่ายผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เราจึงพบเห็นแนวโน้มการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มากขึ้นในปัจจุบัน
จากการสังเกตและติดตามประเมินภายในโรงเรียนพบว่า เด็กอายุ11-15 ปีบางกลุ่มมีพฤติกรรม
เปลี่ยนไปอย่างผิดปกติเช่นติดเกมส์มาโรงเรียนพูดถึงแต่เกมส์ที่เล่นด้วยกันในค่ำคืนที่ผ่านมา ไม่สนใจเรียน ก้าวร้าวและหลับในห้องเรียนบางคนมีการขอ (ขู่)เอาเงินจากเพื่อนๆและรุ่นน้องในโรงเรียนและ/หรือที่เล่นเกมส์ด้วยกัน และมีการโพสต์ในเฟสบุ๊คกลุ่ม(ปิด) ซักชวนให้ซื้อบุหรี่ไฟฟ้าพร้อมกับชักชวนเพื่อนๆและรุ่นน้องให้ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นเด็กที่มีฐานะค่อนข้างดีกลุ่มนี้จะมีทั้งเพื่อนในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียนมีนัดที่จะไปพบกันทั้งในสนามกีฬา และสถานที่ใกล้ร้านจำหน่ายโดยผู้ปกครอง หรือ ครู ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ ตลอดจนไม่รู้ถึงสาเหตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของบุตรหลานของตน เช่น ขอเงินมากกว่าปกติโดยอ้างเหตุซื้ออุปกรณ์การเรียนฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามาแรงในปัจจุบัน ซึ่งที่พบมีมากในกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และที่น่าเป็นห่วงก็พบในระดับชั้น ป.5 - ป.6และที่เพิ่งตรวจพบคือชั้น ป.4
ทางโรงเรียนเทศบาล2(บ้านกาแป๊ะกอตอ)ได้เห็นความสำคัญของภัยร้ายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อกลุ่มเยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียนที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นวัยอยากรู้อยากลองทางโรงเรียนจึงได้จัดโครงการ “บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใกล้ตัวเรา”เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้รู้เท่าทันเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และเกิดความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการสูบของบุหรี่ไฟฟ้า และเป็นแกนนำในการช่วยเพื่อนมิให้ตกเป็นเหยื่อของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และ ตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม  ร้อยละ 100%  มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษ  รู้วิธีป้องกันและ
          หลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน

นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม  ร้อยละ 100%  สามารถถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน
          ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 97
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 “บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใกล้ตัวเรา”

ชื่อกิจกรรม
“บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใกล้ตัวเรา”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 อบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างภูมิคุ้มกันจากบุหรี่ไฟฟ้า (เด็กนักเรียนระดับชั้น ป.4-ม.3 ครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน) - ค่าวิทยากร        จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                         เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 122 คนๆละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ             เป็นเงิน 9,150 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 122 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,270 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 3 เมตร x 1.5 เมตร จำนวน 1 ผืน                       เป็นเงิน 1,125 บาท - ค่าป้ายไวนิล(สำหรับเดินรนรงค์) ขนาด 2 เมตร x 1 เมตร จำนวน 2 ผืน           เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าน้ำดื่ม จำนวน 122 คนๆละ 10 บาท                    เป็นเงิน  1,220 บาท - ค่าป้ายโฟมบอร์ดด้ามถือ(สำหรับเดินรนรงค์) ขนาด 50 เซนติเมตร x 40 เซนติเมตร
  จำนวน 20 ชุดๆละ 250 บาท                           เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินโครงการ                                         เป็นเงิน   300 บาท                                                  รวมใช้จ่าย เป็นเงิน 25,665.-บาท ค่าวัสดุประกอบการอบรม  ประกอบด้วย     1. ค่าวัสดุสำนักงาน ดังนี้         1.1 สมุดปกอ่อน ขนาด 60 แกรม เล่มละ 10 บาท X จำนวน 97 เล่ม     เป็นเงิน    970  บาท         1.2 ค่าปากกา  ด้ามละ  10 บาท X จำนวน 97 ด้าม                 เป็นเงิน    970  บาท 1.3 ค่าแฟ้มใส่เอกสารประกอบการอบรม อันละ 20 บาท X จำนวน 97 อัน  เป็นเงิน  1,940   บาท     1.4 ปากกาเคมี 2 หัว  สีน้ำเงิน สีแดง  สีดำ จำนวน 2 โหลๆละ120 บาท  เป็นเงิน    240   บาท
1.5 กระดาษโปสเตอร์แข็งเทาขาว 270 แกรม จำนวน 2 โหลๆละ 180 บาท    เป็นเงิน    360   บาท 1.6 สีเมจิก 24 สี จำนวน 12 กล่องๆ ละ  90  บาท            เป็นเงิน  1,080   บาท 1.7 สีไม้ 24 สี  จำนวน 12 กล่องๆ ละ  90  บาท            เป็นเงิน  1,080   บาท 1.7 ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบประเมินความรู้                เป็นเงิน     130  บาท                                     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  6,770.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม  ได้รับความรู้  ความเข้าใจ  ตระหนักถึงโทษ  รู้วิธีป้องกันและ
              หลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
           2.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เรียนรู้และเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียงในการหลีกเลี่ยง การสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32435.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,435.00 บาท

หมายเหตุ :
หมายเหตุ งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทั้งโครงการโดยมีกิจกรรมอย่างครบถ้วน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงโทษรู้วิธีป้องกันและ
หลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
2.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เรียนรู้และเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียงในการหลีกเลี่ยง การสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า


>