กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

โรงเรียนเทศบาล ๒(บ้านกาแป๊ะกอตอ)

อาคารเอนกประสงค์โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านกาแป๊ะกอตอ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งวัยเด็กเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆและอาหารก็มีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม เด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกายด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ จากการตรวจสุขภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านกาแป๊ะกอตอ) ประจำปีการศึกษา 2567 ทั้งหมด จำนวน194คน พบว่า นักเรียนที่มีภาวะสูงดีสมส่วน จำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ84.53ภาวะอ้วน จำนวน 1คนและเตี้ย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 2.55นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน24คน คิดเป็นร้อยละ 12.37
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านกาแป๊ะกอตอ)จึงได้เสนอโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืนและที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

ประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมโภชนาการ ร้อยละ 80%

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและรู้ถึงประโยชน์ของผัก

ให้ผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80%

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 32
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน แก่นักเรียนผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง      - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท                                           3,600   บาท      - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ...32... คนๆละ 75 บาท 1 มื้อ                                            2,400   บาท      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ..56......คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ                       3,920   บาท      - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตรๆละ 250 บาท                                            1,125   บาท
     - ค่าป้ายความรู้  ขนาด  1 เมตร x 1.5 เมตร  จำนวน 1 ชุด                                                375  บาท      - ค่าวัสดุประกอบการอบรม จำนวน .....29....... ชุดๆละ 40 บาท
       (ปากกา,สมุด,กระเป๋า ฯลฯ)                                                                                1,160  บาท      - ค่าแผ่นพับความรู้เรื่อง “สูงดีสมส่วน ไม่อ้วน ผอม เตี้ย”
       จำนวน 300 แผ่นๆละ 5 บาท                                                                               1,500  บาท      - ค่าแผ่นพับความรู้เรื่อง “กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง “        จำนวน 300  แผ่นๆละ 5 บาท                                                                    1,500  บาท     - ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินกิจกรรม                                                               300  บาท                                                        รวมเป็นเงิน 15,880  บาท **หมายเหตุ  1.ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้                  2. ค่าอาหารกลางวันเบิกเฉพาะผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง 2.กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก
     - ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง ๆ ละ 750 บาท                     750  บาท
     - ที่วัดส่วนสูงแบบไม้มีฐานรอง จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 2,100 บาท                        2,100  บาท 
     - ค่าอาหารเสริม(สำหรับเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)           ไข่ไก่ จำนวน ....24...... คนๆละ 90 ฟองๆละ 5 บาท                         10,800  บาท           นมจืด จำนวน ..24.......คนๆละ 90 กล่องๆละ 12 บาท                 25,920   บาท                                            รวมเป็นเงิน  39,570 บาท **หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ 3.กิจกรรมสาธิตปลูกผักปลอดเสริมโภชนาการ
     - เมล็ดถั่วเขียว จำนวน 10 ถุงๆละ  50 บาท                                                             500  บาท      - เมล็ดทานตะวัน จำนวน 10 ถุงๆละ  50 บาท                                                           500  บาท      - เห็ดนางฟ้า  จำนวน 27 ก้อนๆละ 10 บาท                                                              270  บาท      - ตะกร้าสำหรับเพาะถั่วงอกและเมล็ดทานตะวัน จำนวน 90 ใบๆละ15บาท                     1,350  บาท      -  แกลบ จำนวน 2 กระสอบๆละ 50 บาท                                                                 100  บาท                                                                                             รวมเป็นเงิน 2,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน
  2. เด็กวัยเรียนได้รับการประเมินและส่งเสริมภาวะ โภชนาการด้านสุขภาพอนามัยได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58170.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,170.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน
2. เด็กวัยเรียนได้รับการประเมินและส่งเสริมภาวะ โภชนาการด้านสุขภาพอนามัยได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>