กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง

โรงแรมการ์เด้นวิว อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ดังนั้นจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ด้านสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาหารสะอาดปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีด้วย ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ก่อให้เกิดความหลากหลายทางด้านการผลิต มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะอาหารและผลิตภัณฑ์เข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาและความวิตกกังวลของผู้บริโภคด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการส่งเสริม ให้ร้านอาหารมีการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลเพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food Good taste) ซึ่งเป็นการประกันความปลอดภัยทางด้านอาหารปรุงสำเร็จจากข้อมูลการสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษในประเทศไทย กรมควบคุมโรค ปี พ.ศ. 2564และ 2565 พบว่ามีอุบัติการณ์ป่วยด้วยโรคดังกล่าว 89.82 และ 108.13 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ เสียชีวิต 1-2 รายต่อปี กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 15-24 ปี ในทั้ง 2 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยเริ่มทำงานและในทุก ๆ ปี อุบัติการณ์ในช่วงต้นปี (มกราคม-กุมภาพันธ์) มักสูงกว่าช่วงอื่น ๆ ของปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีภาวะ ความเสี่ยงต่อ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักอนามัย หรือไม่สะอาด มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค อย่างไรก็ตามความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับอาหารไม่ได้จำกัดแค่การเตรียม ปรุง ประกอบและจำหน่ายอาหารเท่านั้น
เทศบาลเมืองเบตง โดย กองสาธารณสุขและจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ดำเนินการเฝ้าระวังทางด้านสุขาภิบาลอาหาร ตามหลักอาหารปลอดภัย (Food Safety) เพื่อความปลอดภัยและความมั่งคงทางด้านอาหาร สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ในสถานประกอบการ ได้แก่ สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร ตลาด แผงลอยจำหน่ายอาหาร โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ส่งตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา ฟอร์มาลีน ยาฆ่าแมลง สารฟอกขาว ซึ่งจะดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารตลาดสด เนื่องจากเป็นแหล่งกระจายวัตถุดิบที่ใช้สถานประกอบปีละ 2 ครั้ง ล่าสุดประจำปี 2566 พบว่าสารปนเปื้อนในอาหารบางชนิด ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ซึ่งพบในกระเทียม ฟอร์มาลีนในปลาหมึก , กุ้ง ต้องคำนึงถึงความสะอาดและปลอดภัยของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร รวมถึงแหล่งที่มาด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสถานที่สะสมอาหาร ตลาดสด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่จะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ความปลอดภัย และยังเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
เทศบาลเมืองเบตงในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค คำนึงถึงความปลอดภัย และความมั่นคงด้านอาหารมาโดยตลอด ประกอบกับเป็นอำนาจหน้าที่ตาม มาตรา 50 (2) (3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 และมาตรา 16 (18) (24) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 จึงได้มีการผลักดันในเรื่องความปลอดภัยและและความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เทศบาลเมืองเบตงจึงได้มีการจัดโครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภคขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ ประชาชนในฐานะผู้บริโภคให้มีความตระหนักถึงความปลอดภัย และความมั่นคงด้านอาหาร อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้ เทศบาลเมืองเบตง เป็นเมืองที่มีความปลอดภัยทางด้านอาหารอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 (เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องอาหารปลอดภัยอย่างถูกต้อง

ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องอาหารปลอดภัยอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80%

0.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติในการตัดสินใจเลือกสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเองและบุคคลรอบข้างได้อย่างถูกต้อง

ปรับเปลี่ยนทัศนคติในการตัดสินใจเลือกสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเองและบุคคลรอบข้าง ร้อยละ 80%

0.00
4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง

ให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80%

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 140
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการฝึกอบรมอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
โครงการฝึกอบรมอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1. อบรมบรรยายให้ความรู้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
(50 บาท x 1 มื้อ x 160 คน)              เป็นเงิน  8,000 บาท - ค่าอาหาร  สำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
    (200 บาท x 1 มื้อ x 160  คน)                       เป็นเงิน  32,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคบรรยาย)
    ( 3 ชั่วโมง  x 1 คน x 600 บ/ชม.)              เป็นเงิน  1,800 บาท - ค่าเช่าสถานที่                        เป็นเงิน  3,500 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมและจัดกิจกรรม
        1) ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน                    เป็นเงิน  1,600 บาท         2) สมุดปกอ่อน                      เป็นเงิน  1,600 บาท         3) แฟ้มพลาสติกชนิดมีกระดุม ขนาดA4          เป็นเงิน  2,100 บาท         4) เอกสารประกอบการอบรมฯ(คู่มือ)        เป็นเงิน  2,660 บาท กิจกรรมที่ 2. อบรมเชิงปฏิบัติการ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
(50 บาท x 1 มื้อ x 160 คน)              เป็นเงิน  8,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร (อบรมเชิงปฏิบัติการ)
    ( 3 ชั่วโมง  x 5 คน x 600 บ/ชม.)              เป็นเงิน  9,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมและจัดกิจกรรม
        1) ค่าป้ายไวนิลแบบ X-Strand ขนาด 80x180 ซม.    เป็นเงิน  6,000 บาท         2) ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว)      เป็นเงิน  750 บาท         3) ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ (ผงกรอบ)          เป็นเงิน  1,200 บาท         4) ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค (สารกันรา)          เป็นเงิน  1,400 บาท         5) ชุดทดสอบฟอร์มาลีนในอาหาร            เป็นเงิน  5,000 บาท         6) ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในผัก              เป็นเงิน  19,500 บาท         7) วัสดุอื่นๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรม เช่น ตัวอย่างผัก ภาชนะสำหรับใช้ล้างผัก เป็นต้น                                        เป็นเงิน  2,090 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ในเรื่องอาหารปลอดภัยอย่างถูกต้อง
  2. ผู้เข้ารับการอบรม มีทัศนคติในการตัดสินใจ เลือกสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเองและบุคคลรอบข้างได้อย่างถูกต้อง
  3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ ที่ได้รับ ไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
106200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 106,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ในเรื่องอาหารปลอดภัยอย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้ารับการอบรม มีทัศนคติในการตัดสินใจ เลือกสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเองและบุคคลรอบข้างได้อย่างถูกต้อง
3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ ที่ได้รับ ไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง


>