กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ หนูจ๋ารู้ไว้ปลอดภัยจากการจมน้ำ สำหรับเด็กประถม เทศบาลเมืองเบตง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง

ภาคทฤษฎี คลินิกสุขภาพดี (ชั้น 4) ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพภาพเพื่อประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง ภาคปฏิบัติ สระว่ายน้ำเทศบาลเมืองเบตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเด็กไทย อายุต่ำกว่า 15 ปี โดยแหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตมากที่สุด คือแหล่งน้ำธรรมชาติ รองลงมาคือสระว่ายน้ำ และอ่างอาบน้ำ ตามลำดับ โดยในเขตเทศบาลเมืองเบตงก็มี ลำคลองที่สำคัญไหลผ่านไปทั่วเมืองแทบทุกชุมชน เมื่อฝนตกหนักลำคลองบางช่วงก็มีน้ำขึ้นสูงและน้ำไหลเชี่ยวแรงอยู่เป็นประจำ จึงมีจุดเสี่ยงต่อการจมน้ำกระจายอยู่ในหลายชุมชน ประกอบกับโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเบตง ไม่มีการกำหนดวิชาว่ายน้ำอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กลุ่มอายุที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุด คือเด็กอายุ 5-9 ปี (ร้อยละ 42.1) รองลงมาคือ อายุ 0-4 ปี (31.5) และอายุ 10-14 ปี (26.4) เพศชายจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงถึง 2.2 เท่าตัว สอดคล้องกับ สถิติการเสียชีวิตจากการจมน้ำของประชาชนในเขตอำเภอเมืองเบตง ข้อมูลจากงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเบตง รายงานว่าตั้งแต่ปี 2554 – 2567 มีข้อมูลผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 13 ราย โดย 12 รายเป็นเด็กอายุ 1-15 ปี ซึ่งสถิติดังกล่าวยังไม่นับรวมกรณีจมน้ำแต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอีกด้วย ถือเป็นการสูญเสียอย่างมากซึ่งสามารถป้องกันได้ จึงถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่จำเป็นต้องได้รับการป้องกันอย่างจริงจัง
การสร้างภูมิคุ้มกันต่อการจมน้ำ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่เยาวชนในพื้นที่ได้ นอกจากนี้หากเกิดการจมน้ำขึ้น เยาวชนก็ควรมีทักษะการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือคนจมน้ำเบื้องต้นอย่างถูกวิธี เพราะบ่อยครั้งที่พบว่าการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธีแทนที่จะเป็นการช่วยเหลือกลับกลายเป็นเพิ่มความสูญเสียมากยิ่งขึ้น และแม้ว่าจะช่วยผู้ประสบเหตุขึ้นมาจากน้ำได้แล้วอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญคือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างมีประสิทธิภาพก็จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ประสบเหตุได้
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง จึงเห็นความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ให้แก่เยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองเบตงจึงได้จัดทำโครงการโครงการ หนูจ๋ารู้ไว้ปลอดภัยจากการจมน้ำ สำหรับเด็กประถม เทศบาลเมืองเบตง ขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถช่วยเหลือตนเองเมื่อจมน้ำได้ รวมถึงสามารถช่วยเหลือคนจมน้ำได้อย่างถูกวิธี ตลอดจน การปฐมพยาบาลคนจมน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในการดูแลตนเองตลอดจนคนรอบข้างให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำเยาวชนระดับประถมมีทักษะการป้องกันตนเองไม่ให้จมน้ำ และมีทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ

ให้แกนนำเยาวชนระดับประถมมีทักษะการป้องกันตนเองไม่ให้จมน้ำ และมีทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ ร้อยละ 80%

0.00
2 เพื่อให้แกนนำเยาวชนระดับประถมสามารถช่วยเหลือผู้จมน้ำได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ให้แกนนำเยาวชนระดับประถมสามารถช่วยเหลือผู้จมน้ำได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ร้อยละ 80%

0.00
3 เพื่อให้แกนนำเยาวชนระดับประถม มีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น

ให้แกนนำเยาวชนระดับประถม มีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ร้อยละ 80%

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ หนูจ๋ารู้ไว้ปลอดภัยจากการจมน้ำ สำหรับเด็กประถม เทศบาลเมืองเบตง

ชื่อกิจกรรม
โครงการ หนูจ๋ารู้ไว้ปลอดภัยจากการจมน้ำ สำหรับเด็กประถม เทศบาลเมืองเบตง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลโครงการ 1 X 2 เมตร                เป็นเงิน   500 บาท
  • ค่าที่พักวิทยากร (เหมาเป็นหลัง) 3,000 บาท X 1 คืน        เป็นเงิน 3,000 บาท งบดำเนินการ     - ค่าอาหารกลางวัน           75 บาท X 40 คน X 1 มื้อ        เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท X 40 คน X 2 มื้อ    เป็นเงิน 2,800 บาท
  • ค่าวิทยากร
        วันที่ 1
    09.00 – 10.00 น. คิดเป็น 1 ชั่วโมง X 3 กลุ่ม X 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 10.00 – 12.00 น. คิดเป็น 2 ชั่วโมง X 3 กลุ่ม X 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 13.00 – 16.00 น. คิดเป็น 3 ชั่วโมง X 8 กลุ่ม X 600 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท รวม ค่าวิทยากร เป็นเงิน 19,800 บาท
  • ค่าวัสดุเครื่องเขียนประกอบด้วยแฟ้ม สมุด ปากกา ฯลฯ จำนวน 40 ชุดๆ ละ 40 บาท                เป็นเงิน 1,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำเยาวชนระดับประถมมีทักษะการป้องกันตนเองไม่ให้จมน้ำ และมีทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
  2. แกนนำเยาวชนระดับประถมสามารถช่วยเหลือผู้จมน้ำได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  3. แกนนำเยาวชนระดับประถม มีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,700.00 บาท

หมายเหตุ :
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำเยาวชนระดับประถมมีทักษะการป้องกันตนเองไม่ให้จมน้ำ และมีทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
2. แกนนำเยาวชนระดับประถมสามารถช่วยเหลือผู้จมน้ำได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
3. แกนนำเยาวชนระดับประถม มีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น


>