2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ จากข้อมูลสถิติด้านโภชนาการเด็ก 0 - 5 ปี สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 งบประมาณ 2567 พบว่า เด็ก 0 - 5 ปี ที่ได้รับการประเมิน จำนวน 193,000 คน มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ54.62เตี้ย ร้อยละ 14.91ผอม ร้อยละ 7.2 ระดับจังหวัดปัตตานี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 48.52 เตี้ย ร้อยละ 19.81 ผอม ร้อยละ7.78 ระดับ อำเภอโคกโพธิ์ สูงดีสมส่วน ร้อยละ 44.97 ภาวะเตี้ย ร้อยละ 24.71 ภาวะผอม ร้อยละ ุ6.34 จะเห็นได้ว่ามีเพียงครึ่งหนึ่งของเด็กทั้งหมดเท่านั้นที่มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม เด็กที่ขาดสารอาหารมีแนวโน้มที่จะ เจ็บป่วยบ่อย ส่งผลให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักทำให้เกิดภาวะเตี้ย รวมทั้งพัฒนาการล่าช้าลดทอนการเรียนรู้ใน วัยเด็ก และพัฒนาการด้านสมอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีจำนวนหมู่บ้าน 7 หมู่ เด็กอายุ 0-5ปี จำนวน 527คน พบว่าเด็กมีปัญหา อ้วนจำนวน 30 คนคิดเป็นร้อยละ5.6, เด็กเตี้ยจำนวน 232 คนคิดเป็นร้อยละ44 ผอมจำนวน 110 คนคิดเป็นร้อยละ20.8 , และภาวะโลหิตจางในเด็ก6เดือน-1ปี จำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ27.27 จากเด็กทั้งหมด 55 คน จากการสำรวจข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ พบว่าหมู่4 บ้านคลองช้าง มีปัญหา อ้วนจำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ2.3, เด็กเตี้ยจำนวน 40 คนคิดเป็นร้อยละ23.8 ผอมจำนวน 35 คนคิดเป็นร้อยละ20.8 จากข้อมูลสะท้อนได้ว่าปัญหาของเด็กในวัย 0-5 ปี สาเหตุที่มาจากหลายปัจจัจจัยมีดังนี้
1.ด้านพฤติกรรม พบว่า พ่อแม่ทำงานจนไม่มีเวลาและไม่ได้ใส่ใจในเรื่องอาหารที่มีคุณค่าให้กับลูก พ่อแม่ทำอาหารตามใจเด็กผู้ดูแล(ไม่ใช่พ่อแม่)ตามใจเด็กมากเกินไป ผู้ปกครองให้รับประทานอาหารที่สะดวกซื้อและง่ายผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของภาวะโภชนาการ ผู้ปกครองยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพันธุกรรม เด็กไม่ยอมกินอาหาร อาหารไม่ถูกปาก เด็กชอบกินขนมจุกจิก เด็กเลือกกินเฉพาะที่ตัวเองชอบ
2.ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ผู้ปกครองต้องออกไปทำงานนอกบ้านเด็กอยู่กับตายาย หรือผู้เลี้ยงดู แม่เลี้ยงเดี่ยวซึ่งไม่สามารถจัดการอาหารได้อย่างเต็มที่ด้วยเวลาที่มีจำกัดจึงต้องเน้นความสะดวก และร้านจำหน่ายอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการมีจำนวนน้อย
3.ด้านระบบและกลไกที่เกี่ยวข้อง พบว่า ชุมชนยังขาดผู้นำในการริเริ่มดำเนินการสร้างความรู้ความตระหนัก ด้านการส่งเสริมโภชนาการให้กับผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เล็งเห็นว่าภาวะเตี้ย ผอม ในเด็กเป็นปัญหาด้านสุขภาพของเด็กซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก จึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ มีร่างกายสมส่วน
2. มีครอบครัวต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กได้สำเร็จ
3. มีเมนูอาหารที่เหมาะกับบริบทพื้นที่สำหรับใช้เป็นเมนูอาหารเช้าครัวเรือนเพิ่มขึ้น