กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ คัดแยกและรวบรวมขยะอันตราย เพื่อสุขภาพที่ดีของคนเบตง ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

ชุมชนกาแป๊ะ กม.2

1. นางสาวกษิรามุ่งงามวิจิตร ประธาน 087-968-460-2
2. นายประเสริฐบาฮา รองประธาน 093-620-364-4
3. นางนันทิยาจองจารุกุล เหรัญญิก 087-832-054-7
4. นางสาววิภารัตน์สะและ กรรมการ 080-692-924-0
5. นางซัมเซียห์ดือมาลี เลขานุการ 085-640-288-0

ชุมชนกาแป๊ะ กม.2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญปัญหามลพิษ จากการจัดการของเสียอันตราย หรือ ขยะพิษ ไม่ได้มาตรฐานโดยพบว่า มือถือเก่า โน้ตบุ๊ก แล็ปท็อป ทีวีเก่า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ถูกทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยทั่วไปและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ซากชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าโดนถอดแยกชิ้นส่วนแล้วเผาทำลาย เทกอง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ สารเคมีอันตรายปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบทางเคมีทั้งปรอท ตะกั่ว หรือโลหะหนัก ล้วนเป็นสารก่อมะเร็งเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ระบุว่าของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้น 638,000 ตันต่อปี โดยเป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์414,600 ตันต่อปี หรือร้อยละ 65 อีก 223,400 ตัน หรือร้อยละ 35 เป็นของเสียอันตรายประเภทอื่นๆ เช่น แบตเตอรี่ ถ่าน ไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปรย์ของเสียอันตรายเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นเพียง 83,600 ตัน หรือร้อยละ 13 เท่านั้น ซึ่งในรายงานมลพิษฉบับล่าสุดนี้ ได้ระบุการจัดการยังไม่เพียงพอ ขาดกฎระเบียบที่จะคัดแยกของเสียอันตรายจากขยะทั่วไป และประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแล ในการให้ภาคเอกชนรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากปัญหาภาวะมลพิษที่เกิดจากขยะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเดือดร้อนและสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
เทศบาลเมืองเบตงมีการรวบรวมขยะอันตรายเพื่อนำส่งไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา โดยในปีงบประมาณ 2567 เทศบาลเมืองเบตงได้รวบรวมขยะอันตรายจากชุมชนได้ประมาณ 2,370 กิโลกรัม โดยยังพบมีขยะอันตรายที่เข้าสู่ระบบฝังกลบขยะ แสดงให้เห็นว่ายังมีขยะอันตรายบางส่วนไม่ได้รับการคัดแยกและรวบรวม ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษของขยะอันตรายลงสู่สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนชาวเบตงได้ และจากการสำรวจข้อมูลในชุมชนกาแป๊ะ กม. 2 เทศบาลเมืองเบตง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนได้ทิ้งขยะอันตรายรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป โดยไม่มีการแยกขยะอันตรายทิ้งต่างหากอย่างไม่ถูกวิธีทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ การปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม การแพร่กระจายของเชื้อโรค สิ่งเหล่านี้ส่งผลร้ายกลับมายังประชาชนในชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพลดลง
ชุมชนกาแป๊ะ กม. 2 เทศบาลเมืองเบตง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตรายในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตราย เพื่อสุขภาพที่ดีของคนเบตง ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตรายอย่างถูกต้องและปลอดภัยเพื่อรอการรวบรวมไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล อนึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่มาจากขยะอันตรายต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ประชาชนและเยาวชน มีความรู้ถึงผลกระทบจากขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
2.เพื่อให้ประชาชนและเยาวชน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยและขยะอันตรายในชุมชนโดยเริ่มต้นที่ครัวเรือน
3.เพื่อส่งเสริมให้มีการคัดแยกและกำจัดขยะอันตรายในครัวเรือนและชุมชน อย่างเหมาะสม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการจัดการ และการกำจัดขยะอันตรายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการจัดการ และการกำจัดขยะอันตรายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1. จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการจัดการ และการกำจัดขยะอันตรายในชุมชน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท        เป็นเงิน   2,250  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท  เป็นเงิน   2,100  บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท      เป็นเงิน  3,600  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานประกอบการอบรม จำนวน 30 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 1,200  บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.80x2.40 เมตร จำนวน 1 ผืน        เป็นเงิน  1,080  บาท - ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินงานจำนวน 2 ชุด                             เป็นเงิน   300    บาท                                              รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  10,530 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะประเภทอื่น ที่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  2. ประชาชนในชุมชนมีการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนนำไปแยกกำจัดอย่างถูกวิธี
  3. ประชาชนในชุมชนมีถังขยะอันตรายและขยะติดเชื้อไว้รองรับขยะในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10530.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมรณรงค์เคาะประตูบ้าน รวบรวมขยะอันตรายโดยการสร้างแรงจูงใจ พร้อมทั้งติดตั้งตู้รองรับขยะอันตราย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมรณรงค์เคาะประตูบ้าน รวบรวมขยะอันตรายโดยการสร้างแรงจูงใจ พร้อมทั้งติดตั้งตู้รองรับขยะอันตราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมรณรงค์เคาะประตูบ้าน รวบรวมขยะอันตรายโดยการสร้างแรงจูงใจ พร้อมทั้งติดตั้งตู้            รองรับขยะอันตราย - ตู้เหล็กรองรับขยะอันตราย จำนวน 1 ชุด                     เป็นเงิน 10,000  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม เช่น ไข่ น้ำปลาฯ          เป็นเงิน  4,000  บาท - ค่าป้ายไวนิลจุดรวบรวมขยะประจำชุมชน ขนาด 1.80x2.40 เมตร จำนวน 1 ผืน
เป็นเงิน  1,080  บาท -ค่าแผ่นพับสีให้ความรู้และประชาสัมพันธ์จุดรวบรวมขยะอันตราย จำนวน 400 แผ่น 
เป็นเงิน      2,000  บาท                                           รวมเป็นเงินทั้งสิ้น    17,080  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะประเภทอื่น ที่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม 2.ประชาชนในชุมชนมีการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนนำไปแยกกำจัดอย่างถูกวิธี 3.ประชาชนในชุมชนมีถังขยะอันตรายและขยะติดเชื้อไว้รองรับขยะในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17080.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,610.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะประเภทอื่น ที่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
2. ประชาชนในชุมชนมีการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนนำไปแยกกำจัดอย่างถูกวิธี
3. ประชาชนในชุมชนมีถังขยะอันตรายและขยะติดเชื้อไว้รองรับขยะในชุมชน


>