กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมใจเป็นหนึ่งป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนสวนผัก

1. นางนภษรวงศ์วัฒนากูลประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนสวนผัก
2. นายวรชัย ชัยพิชญากุล รองประธาน
3. นางวิไลรัตน์ ชาญประเสริฐกุลเลขานุการ4. นางสาวกนกวรรณ แซ่เลี่ยน อสม. 5. นายพงค์ศักดิ์ นุคระอานนท์ อสม.

ชุมชนสวนผัก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการที่อสม.ชุมชนสวนผัก ได้ดำเนินโครงการรวมใจเป็นหนึ่งป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2567 เนื่องจากโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝน ของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕– ๑๔ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโต ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี ซึ่งนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในชุนชนเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมถึงความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
ชุมชนสวนผักเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาโรคไข้เลือดออกมาทุกปีรวมถึงปัจจุบันพบการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยามีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นในชุมชนซึ่งทั้งสองโรคนี้มีพาหนะนำโรคเป็นยุงลายเช่นเดียวกัน โดยโรคไข้เลือดออกมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคส่วนโรคไข้ปวดข้อยุงลายมียุงลายสวน และยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่พบในเขตพื้นที่ภาคใต้และมีอาการคล้ายคลึงกัน ถึงแม้โรคชิคุนกุนยาจะมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าโรคไข้เลือดออก มีการรักษาตามอาการให้สามารถหายได้เอง แต่อาจจะมีอาการปวดข้อเรื้อรังตามมา ในบางรายอาจปวดนานถึง 2 ปี และในปัจจุบันโรคชิคุนกุนยายังไม่มีวัคซีนป้องกันซึ่งการจะแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ให้หมดไปจากชุมชนจำเป็นต้องเสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชนให้ตระหนักถึงภัยอันตรายของโรคดังกล่าวการดูแลป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค และร่วมกันขจัดต้นตอของปัญหา คือ ยุงลาย โดยร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ รวมกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน ครัวเรือน อสม. กรรมการชุมชน แกนนำในชุมชน ในการร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนสวนผัก จึงได้จัดทำโครงการรวมใจเป็นหนึ่งป้องกันภัยร้าย โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชน ปี 2568 ขึ้นเพื่อให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ที่จะส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายมากขึ้น การดำเนินการเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนรวมและรณรงค์ให้เกิดการตระหนักรู้ และ ปลุกจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจร่วมกัน เพื่อจัดการกับปัญหาไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชนให้มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายแก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแล และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก2. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชน
3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป     - ค่าวิทยากร จำนวน  1  คนๆละ  5  ชม.ๆละ  600 บาท             เป็นเงิน   3,000   บาท     - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  100 คนๆละ  75 บาท  1 มื้อ                 เป็นเงิน   7,500   บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 35 บาท  2 มื้อ        เป็นเงิน   7,000   บาท
    - ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม(เอกสารแนบท้าย)                       เป็นเงิน   9,306   บาท                   - ค่าเช่าสถานที่                                                              เป็นเงิน   2,000   บาท
                  - ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 ชุด                      เป็นเงิน      300   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย  ตระหนักถึงพิษภัยของโรคและสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างถูกวิธี 2.   ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนเป็นวิถีชีวิต
    3.  ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชนลดลง     4.  ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29106.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรป้องกันยุงกัด “สวนสมุนไพรไล่ยุง”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรป้องกันยุงกัด “สวนสมุนไพรไล่ยุง”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่  2 กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรป้องกันยุงกัด “สวนสมุนไพรไล่ยุง”
           - ค่าจัดซื้อต้นกล้าสมุนไพรไล่ยุง เช่น ต้นตะไคร้ ต้นโหระพา ต้นมะกรูด ฯลฯ  เป็นเงิน  1,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนเป็นวิถีชีวิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย     -ค่าสื่อประชาสัมพันธ์                   - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.8 x 2 เมตร จำนวน 1 ผืน               เป็นเงิน      900   บาท                   - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 0.90 x 2.4  จำนวน 5 ผืนๆละ 540 บาท            เป็นเงิน    2,700  บาท                   - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 2 ผืนๆละ 1,125 บาท        เป็นเงิน    2,250  บาท                   - ค่าโฟมบอร์ดสื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 10 ชุดๆ ละ 250 บาท            เป็นเงิน    2,500  บาท                   - ค่าแผ่นพับสี จำนวน 300 แผ่นๆ 5 บาท                                      เป็นเงิน    1,500  บาท        - ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1 ถังๆละ 2,500 บาท                 เป็นเงิน    2,500  บาท                  - ค่ายากันยุงชนิดสเปรย์  ขนาด 80 มิลลิลิตร จำนวน 50 ขวดๆละ 75 บาท เป็นเงิน  3,750  บาท                                   เป็นเงิน   16,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชนลดลง 2. ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,206.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายตระหนักถึงพิษภัยของโรคและสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างถูกวิธี
2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนเป็นวิถีชีวิต
3.ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชนลดลง
4.ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่


>