2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสาธารณสุขไทยตลอดระยะเวลาหลายปี เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความเจ็บป่วยในระดับรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิต เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลพุ่งสูงขึ้น เกิดความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาอย่างต่อเนื่องชุมชนเบตงฮูลูก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องชุมชนเบตงฮูลู มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 395 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,434 คน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 6 ราย ในปี พ.ศ.2560 – 2561และในปี 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 11 ราย ในปี 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3 รายและในปี 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย (ข้อมูลจากศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองศาลาประชาคม) จากผลการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามบ้านจำนวน 250 ครัวเรือน (HI,CI) พบลูกน้ำยุงลาย 52 ครัวเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจ 413 ชิ้นพบลูกน้ำยุงลายจำนวน 86 ชิ้น มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) คิดเป็นร้อยละ 13 และ 23 ตามลำดับซึ่งเกินค่ามาตรฐานรวมถึงปัจจุบันพบการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยามีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นในชุมชนซึ่งทั้งสองโรคนี้มีพาหนะนำโรคเป็นยุงลายเช่นเดียวกัน โดยโรคไข้เลือดออกมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคส่วนโรคไข้ปวดข้อยุงลายมียุงลายสวน และยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่พบในเขตพื้นที่ภาคใต้และมีอาการคล้ายคลึงกัน ถึงแม้โรคชิคุนกุนยาจะมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าโรคไข้เลือดออก มีการรักษาตามอาการให้สามารถหายได้เอง แต่อาจจะมีอาการปวดข้อเรื้อรังตามมา ในบางรายอาจปวดนานถึง 2 ปี และในปัจจุบันโรคชิคุนกุนยายังไม่มีวัคซีนป้องกันซึ่งการจะแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ให้หมดไปจากชุมชนจำเป็นต้องเสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชนให้ตระหนักถึงภัยอันตรายของโรคดังกล่าวการดูแลป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค และร่วมกันขจัดต้นตอของปัญหา คือ ยุงลาย โดยร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ รวมกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน ครัวเรือน อสม. กรรมการชุมชน แกนนำในชุมชน ในการร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1.ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยน เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อย ปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่าง ๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝน ต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น อสม. ชุมชนเบตงฮูลู จึงได้จัดทำโครงการเบตงฮูลูร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ประจำปี 2568 เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพื่อความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนตามเป้าหมายเพื่อป้องกันและลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1เพื่อให้ผู้เข้ารร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายและตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรค
2เพื่อความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน ตามเป้าหมายดังนี้
- ในชุมชน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยแต่ละที่ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=0)
- ในชุมชนลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกิน 10)
3เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชน
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/05/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายตระหนักถึงพิษภัยของโรคและสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างถูกวิธี
2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนเป็นวิถีชีวิต
3.ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลสยในชุมชนลดลง
4.ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่