2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นการบริโภค การออกกำลังกาย ความเครียดการดื่มสุรา สูบบุหรี่ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานกันมากขึ้น และพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีอายุน้อยลง โดยผลการสำรวจข้อมูลคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมากถึง 9.5% โดย 2 ใน 3 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน ส่วนที่เหลือ 1 ใน 3 นั้นไม่ได้รับการตรวจและรักษาอย่างถูกวิธี โรคความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยมากกว่า 90-95 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนของโรคได้ พบเพียงปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้น น้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน อาหารที่รับประทาน หรือพันธุกรรม โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและป้องกันอย่างต่อเนื่องจะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรค ติดเชื้อในปัจจุบัน และในอนาคต ดังนั้นการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศจำเป็นจะต้องพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัวและชุมชนครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวโดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกือติง จึงได้จัดทำโครงการขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 จากการทำกิจกรรมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ประชาชนในชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตรวจน้ำตาลในเลือด ผลการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง ร้อยละ 100 แยกกลุ่มดี ร้อยละ 14.94 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 62.07 กลุ่มป่วย ร้อยละ 22.99 ผลการตรวจคัดกรองเบาหวาน ร้อยละ 100 แยกกลุ่มดี ร้อยละ 50.00 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 40.23 กลุ่มป่วย ร้อยละ 9.77 และเข้ารับฟังการบรรยายและคำแนะนำจากวิทยากรเป็นอย่างดี
อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกือติง เป็นผู้มีจิตอาสาดูแลรับผิดชอบประชากรในด้านการสาธารณสุขของทุกคนในชุมชนกือติง ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 369 ครัวเรือน มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 1,750 คน แยกเป็นชาย 510 คน หญิง 1,240 คน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ได้บ้างบางส่วน ทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกือติง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจได้ตามสมควรแก่อัตภาพ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ. 2 ส.
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตและคัดกรองเบาหวานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกัน
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
4. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ลดลง