2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ในประเทศไทยปัจจุบันมีคนพิการอยู่เกือบประมาณ ๑๖ ล้านคน โดยแบ่งประเภทคนพิการ ทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางการเคลื่อนไหว คนพิการทางจิตพฤติกรรม และคนพิการทางสติปัญญา ซึ่งยังมีคนพิการอยู่อีกจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้รับการดูแลทั้งทางด้านการแพทย์และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่รัฐหรือเอกชนจัดหาให้ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการออกกฎหมายหรือประกาศต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้น อีกทั้งยังมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบดูแลคนพิการโดยเฉพาะแล้วก็ตามอาจเป็นเพราะคนพิการยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าถึงการรับบริการอย่างไม่ทั่วถึง อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนพิการไม่มีค่าใช้จ่ายเพียงพอหรือเกรงว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการดูแลสุขภาพหรือจัดหาอุปกรณ์ฯที่จะใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพ
จากฐานข้อมูลการลงทะเบียนคนพิการโดยกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองเบตงพบว่า มีผู้ลงทะเบียนคนพิการทุกประเภท ในเขตเทศบาลเมืองเบตง ปี2566 จำนวน 674 คน และปี2567 จำนวน 644 คน (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้พิการที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ส่วนฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมพบว่า มีผู้ลงทะเบียนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลเมืองเบตงปี 2566 จำนวน 97 คน และปี 2567 จำนวน 133 คนโดยตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือ พื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๑ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในส่วนค่าบริการ สาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงตามข้อ ๗ วรรคสองให้สนับสนุนแก่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยบริการ หรือสถานบริการเพื่อจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงต่อปี ตามชุดสิทธิประโยชน์การบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (ดังเอกสารแนบ1 ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
โดยในเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการลงสำรวจความต้องการการใช้อุปกรณ์ฯ โดย CM(Care Manager) ร่วมกับ CG (CareGiver) ที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองเบตงซึ่งกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำโครงการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายขึ้น (ครั้งที่1) เพื่อสามารถจัดหาอุปกรณ์ฯและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตฯให้คนพิการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย สามารถกลับไปดำรงชีวิตได้อย่างอิสระและมีภาวะพึ่งพิงหรือภาวะพึ่งพาลดลง โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการจัดตั้ง“ศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ เทศบาลเมืองเบตง”ขึ้น โดยดำเนินงานผ่าน“คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย”(เอกสารแนบ2) ซึ่งการดำเนินงาน ในครั้งที่ 1 ที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567 มีผลการดำเนินงานดังนี้ คือ มีผู้ยื่นคำร้องทั้งสิ้น 48 รายผ่านเกณฑ์การให้ยืมรวม 52 ราย ให้ยืมอุปกรณ์รวมทั้งหมด 32 ราย (เอกสารแนบ3) สรุปผลการดำเนินงาน ศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ฯ เทศบาลเมืองเบตง ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2567 – 30 พ.ย. 2567 , เอกสารแนบ4 รายงานผลการดำเนินงานศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ฯ ประจำเดือนตุลาคม 2567 , เอกสารแนบ5 รายงานผลการดำเนินงานศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ฯ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567
เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข และรองรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง ที่มีหน้าที่ดูแลประชาชนในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูฯ ได้เล็งเห็นแล้วว่าการดำเนินงานของศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ฯ ผ่านคณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดหาอุปกรณ์เสริมฯ มีความจำเป็นต่อผู้พิการ ผู้สูงอายุ และ ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย โดยเฉพาะการจัดหาเตียง 3 ไกร์ที่มีอยู่จำนวน 8 เตียง แต่ยอดการลงทะเบียนยืมมีจำนวนสูงถึง 28 ราย และรถเข็นผู้ป่วยแบบนั่งที่มีอยู่จำนวน 10 คัน แต่ยอดการลงทะเบียนยืมมีจำนวนสูงถึง 15 ราย อีกทั้งเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง ทำให้เกิดความยากลำบากในการที่ญาติจะจัดหามาให้ผู้ป่วยได้ ทั้งนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ควรมีการจัดหาและเตรียมอุปกรณ์ฯดังกล่าวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพฯผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ป้องกันการเสื่อมถอยของภาวะสุขภาพ ลดการเป็นแผลกดทับหรือข้อติดแข็ง ฯลฯ รวมถึงแบ่งเบาภาระและลดค่าใช้จ่ายของญาติในการดูแลผู้ป่วย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมพลังใจให้ญาติและผู้ป่วยอีกทางหนึ่งด้วย โดยช่วยเหลือตามความจำเป็นและเหมาะสม กับสภาพความพิการหรือสภาพความพึ่งพิงของแต่ละบุคคล จึงขอจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น
อนึ่ง การจัดทำโครงการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่2 จะสามารถบรรเทาความยากลำบากในการจัดหาอุปกรณ์ฯที่เหมาะสมกับผู้รับบริการกลุ่มดังกล่าว เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพฯผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ป้องกันการเสื่อมถอยของภาวะสุขภาพ ลดการเป็นแผลกดทับหรือข้อติดแข็ง ฯลฯ รวมถึงแบ่งเบาภาระและลดค่าใช้จ่ายของญาติในการดูแลผู้ป่วย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมพลังใจให้ญาติและผู้ป่วยอีกทางหนึ่งด้วย ส่งผลให้สามารถลดภาวะพึ่งพิงใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1 คนพิการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย มีคุณภาพชีวิตและการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น
2 คนพิการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย สามารถ ช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3 คนพิการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ได้รับอุปกรณ์ เสริมสำหรับฟื้นฟูสมรรถภาพตรงตามสภาพความพิการหรือความเจ็บป่วยของแต่ละบุคคลให้ดีขึ้น