กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราเฮาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนปลอดยาเสพติด ตำบลบาราเฮาะ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราเฮาะ

กองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ

1.นางฟารีดะห์ มะเกะ
2. นางสาวอาบีด๊ะฮ์ แดงปก
3. นางสาวนูรฮูดา สาและ

ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

 

40.00
2 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

 

8.00
3 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

 

8.00

เยาวชนคืออนาคตของชาติประเทศไทยพบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่ง เกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยง ต่างๆที่จะทำ ให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ปัญหาครอบครัว การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูงและการหลอกลวง เป็นต้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดและสิ่ง สำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนโดยผนึกกำลังทุกภาคส่วนให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดินที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด และที่ผ่านมาการปราบปรามหรือเพิ่มโทษไม่ได้ทำให้ปัญหายาเสพติดหมดไป เพราะจากการสำรวจจำนวนผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทยกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นแสดงว่าการปราบปรามอย่างเดียวไม่เพียงพอจำเป็นต้องมีนโยบายด้านอื่นมาสนับสนุนด้วยการดึงพลังของทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมกันทำงานแบบบูรณาการก็เป็นอีกวิธีทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนได้เป็นอย่างดี
องค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ จึงได้จัดโครงการเยาวชนปลอดยาเสพติดประจำปี ๒๕๖๒ ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ให้มีภูมิคุ้มกันและป้องกันภัยยาเสพติด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

8.00 8.00
2 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

8.00 8.00
3 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

40.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/03/2025

กำหนดเสร็จ 29/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่เยาวชนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่เยาวชนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

- จำนวน 80 คน/5๐ บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ          เป็นเงิน  4,000  บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- จำนวน 80 คน/25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ          เป็นเงิน  4,000  บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร                            เป็นเงิน  5,400  บาท ภาคบรรยาย  จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมง ๆละ ๖๐๐ บาท
ภาคปฏิบัติ (กิจกรรมกลุ่ม) จำนวน 2 คน x 3 ชั่วโมง ๆละ ๖๐๐ บาท 4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม (สมุด ปากกา)
- จำนวน 80 ชุด ๆละ 20 บาท                  เป็นเงิน  1,600  บาท     5. ค่ากระเป๋าบรรจุเอกสาร จำนวน 80 ใบๆละ 40 บาท          เป็นเงิน  3,200  บาท     6. ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์(A4)  80 แผ่น ๆ ละ 32 บาท            เป็นเงิน  2,560  บาท
7. ค่าโบรชัวร์ประชาสัมพันธ์ กระดาษมันสี (A3) 50  แผ่น ๆ ละ 35 บาท  เป็นเงิน  1,750  บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 22,510.-(สองหมื่นสองพันห้าร้อยสิบบาทถ้วน-)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 8 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. เด็กและเยาวชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติด
๒. เด็กและเยาวชนจัดกิจกรรมด้านการรณรงค์ มีสื่อประชาสัมพันธ์ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  3. ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและเยาวชนในเขตตำบลบาราเฮาะ
4. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น
5. ผู้ปกครองมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ ปรับตัว รวมถึงทำกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เป็นอย่างดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22510.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,510.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กและเยาวชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติด
๒. เด็กและเยาวชนจัดกิจกรรมด้านการรณรงค์ มีสื่อประชาสัมพันธ์ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด3. ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและเยาวชนในเขตตำบลบาราเฮาะ
4. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น
5. ผู้ปกครองมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ ปรับตัว รวมถึงทำกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เป็นอย่างดี


>