2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด 0– 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนตามวัย และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน จากรายงานการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน
นอกจากนี้ จากรายงานสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยอย่างรวดเร็ว จากการเกิดที่มีจำนวนน้อยลงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มใช้ชีวิตโสดมากขึ้น แต่งงานช้าลง “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” (สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 2560) พบว่า การเจริญเติบโตและพัฒนาการคือ ปัญหาเด็กปฐมวัยมีภาวะเตี้ย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามกระตุ้น เด็กปฐมวัยสูงดีสมส่วนและเด็กปฐมวัยเตี้ย เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุตั้งแต่เตรียมความพร้อมของครอบครัว การดูแลก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ การส่งเสริมการเจริญเติบโต การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย
จากผลการดำเนินงานในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโตจังหวัดยะลาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2567ปัญหาที่พบคือปัญหาทุพโภชนาการ เฉลี่ยเด็กสูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 37.6, 58.6, 43.5ตามลำดับปัญหาทันตกรรม ฟันผุในเด็กนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 50.73, 56.25, 60.18 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75และปัญหาพัฒนาการล่าช้า โดยร้อยละของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า เท่ากับ 9.28 ,15.38 และ 19.85 ตามลำดับ ซึงปัญหาที่พบคือ พัฒนาการล่าช้าทางด้านสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก 0 – 5 ปี กว่าร้อยละ 70 ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในแต่ละด้าน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้านแหร จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยได้จัดทำ โครงการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ โภชนาการ และทันตกรรมในเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ ในตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา โดยบูรณาการร่วมกับผู้ปกครองในการช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ โภชนาการ และทันตกรรมเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป
เป้าหมายนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 110 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหร 60 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบัวทอง 30 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อหิน 20 คน
ผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 90 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหร 40 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบัวทอง 30 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อหิน 20 คน
พื้นที่ดำเนินการห้องประชุมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์บริหารส่วนตำบลบ้านแหร
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 29/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหรตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีพัฒนาการ โภชนาการและสุขภาพช่องปากที่ดี
2.เด็กที่มีปัญหา ได้รับการรักษาและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป