กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเตรียมความพร้อมก่อนสมรสและก่อนมีบุตรเพื่อการเกิดทุกรายมีคุณภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เพื่อสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพ และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของทุกเพศทุกวัย เป้าหมายที่3 สร้างหลักประกัน ว่าคนที่มีสุขภาพดี และส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย ข้อ 3.7 สร้างหลักประกันว่าการเข้าถึงบริการข้อมูลการให้การศึกษาเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า รวมถึงการวางแผนครอบครัวและการผสาน อนามัยเจริญพันธุ์ในยุทธศาสตร์และแผนงานระดับชาติ ภายในปี2573 จากสถานการณ์ “ เด็กเกิดน้อย ด้วยคุณภาพ” ในหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมการเกิด และการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างความเข้มแข็ง ของการพัฒนาประเทศที่นำประเทศไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน กรมอนามัยโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมการเกิด ด้วยความสมัครใจ ให้เพียงพอต่อการทดแทนประชากร โดยที่การเกิดทุกรายต้องมีการวางแผน มีความตั้งใจ และมีความพร้อมในทุกด้าน นำไปสู่ การคลอดที่ปลอดภัย ทารกมีสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเติบโต อย่างมีคุณภาพใน 3 ด้าน คือ
1)เพิ่มจำนวนการเกิดที่มีความพร้อมมีความสมัครใจ และมีการวางแผน
2)ส่งเริมให้การเกิดทุกรายมีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
3)ส่งเสริม การเจริญเติบโต เด็กมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วนมีสติปัญญาที่ดี ประเทศไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราเจริญพันธุ์ลดลงเหลือต่ำกว่า 1.59 ต่อ 1,000 ประชากรและแม้ว่าปัจจุบัน อัตราการเกิดจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่กลับพบว่าการเกิดดังกล่าว ร้อยละ 25 เป็นการเกิดที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่มีความพร้อมและในจำนวนนี้เป็นการเกิดที่มาจากมารดาวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ถึงร้อยละ 47 เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การคลอดที่ไม่ปลอดภัยพบการตายของทั้งมารดาและทารกที่มาจากภาวะเสี่ยง ขณะตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด โดยสาเหตุการตายของทารกครึ่งหนึ่งมาจากความพิการแต่กำเนิด โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ประเทศไทย พบอัตราตายทารกอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี ร้อยละ 7.44 ซึ่งค่าเป้าหมายเท่ากับ 0 โดยในเขตสุขภาพที่12 พบอัตราตายทารกอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี ร้อยละ 5.52 เมื่อพิจารณารายจังหวัด พบอัตราตายทารกอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 6.63 ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตายทารกอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี
เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง จึงเห็นความสำคัญในการการเตรียมก่อนสมรสและก่อนมีบุตรเพื่อการเกิดทุกรายมีคุณภาพ ของประชากรในพื้นที่ให้ได้รับการสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจก่อนสมรส ก่อนการตั้งครรภ์และมีบุตร จะทำให้มีการ วางแผนการมีบุตรอย่างถูกต้องเหมาะสม เมื่อพ่อแม่มีสุขภาพดีพร้อม ก็จะส่งผลต่อความแข็งแรงและสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ในอนาคต นำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสมรสและก่อนมีบุตร เพื่อการเกิดทุกรายมีคุณภาพ

ร้อยละ 80 ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนสมรสและก่อนมีบุตร เพื่อการเกิดทุกรายมีคุณภาพ

1.00 2.00
2 เพื่อป้องกันและลดอัตราการตายของมารดาและทารก

ร้อยละ 100 ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายวัยเจริญพันธุ์

ชื่อกิจกรรม
รวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายวัยเจริญพันธุ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มอายุ 15-19 ปี

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มอายุ 15-19 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน3,600 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากกร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม
  • ค่าสมุด จำนวน 60 เล่มๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าปากกา 60 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าสมุด จำนวน 60 เล่มๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 600 บาท
  • ค่ากระดาษน้ำตาล(คราฟ)ขนาดใหญ่ แผ่นละ 6 บาท 10 แผ่น เป็นเงิน 60 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12560.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>