กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัย สมองดี ห่างไกลหกล้ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

ชมรมมุสลิมคนรักษ์สุขภาพตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ เมื่อมีอายุมากขึ้นย่อมมีความเสื่อมของร่างกายในทุกระบบทั้งความเสื่อมของโครงสร้างและการทำหน้าที่ เป็นวัยแห่งการเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเตรียมรับมือกับรูปแบบการทำกิจกรรม การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงทั้งการทำงานสู่วัยเกษียณ การทำกิจกรรมทางสังคมกับเพื่อนสู่การอยู่บ้าน หรือการเลี้ยงหลาน การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเพื่อเผชิญกับปัญหาสุขภาพนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ โดยเฉพาะด้านการรู้คิด (cognitive function) เนื่องจากการทำงานของสมองมีผลต่อการออกแบบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหา และการรับรู้ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต หากเกิดปัญหาความจำเสื่อม สมองเสื่อมหรือเกิดภาวะหกล้ม จะมีผลต่อทั้งปัญหาสุขภาพและปัญหาด้านสังคม เมื่อผู้สูงอายุสมองเสื่อมหรือหกล้มแล้วจะนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานทั้งผู้ป่วยและครอบครัว เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ และครอบครัว ตลอดจนผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น ค่ารักษาพยาบาลขณะอยู่ในโรงพยาบาล การสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การสูญเสียเวลาในการทำงานของญาติ ความต้องการการดูแลในระยะยาวเมื่อเกิดความพิการ และเป็นการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
หลักฐานทางวิชาการระบุว่าวิธีลดความเสี่ยงของการหกล้มที่สามารถทำเองได้ ค่าใช้จ่ายน้อย และได้ผลมากที่สุด คือการออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการเดิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการหกล้มในผู้สูงอายุ ตลอดจนการได้รับการแก้ไขปัญหาทางสมองก็ช่วยลดความเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุได้เช่นกัน แม้ว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทุกคนจะไม่ล้ม แต่มีหลายอาการที่อาจทำให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีความเสี่ยงที่จะล้มเพิ่มขึ้น
จากปัญหาดังกล่าว ทางชมรมมุสลิมคนรักษ์สุขภาพตำบลกะรุบี ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จึงเล็งเห็นความสำคัญและได้จัดทำโครงการสูงวัย สมองดี ห่างไกลหกล้ม ประจำปีงบประมาณ 2568เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและการมีสุขภาพดีในผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม เพื่อป้องกันการพลัดหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงในผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถจัดการออกกำลังกาย จัดอาหาร และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุเสี่ยงล้ม และเพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและการมีสุขภาพดีในผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม

1.ผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มผ่านการประเมิน TUG ดีขึ้น
ร้อยละ 80 2.ผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มสูงทำกิจกรรมได้มากกว่าเดิม
ร้อยละ 80

1.00 2.00
2 เพื่อป้องกันการพลัดหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงในผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม

1.ผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มผ่านการประเมิน TUG ดีขึ้น
ร้อยละ 80 2.ผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มสูงทำกิจกรรมได้มากกว่าเดิม
ร้อยละ 80

1.00 2.00
3 เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถจัดการออกกำลังกาย จัดอาหาร และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุเสี่ยงล้ม

ผู้ดูแลผ่านแบบประเมินหลังอบรม ร้อยละ 80

1.00 2.00
4 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุผ่านการประเมิน MMSE-Thai 2022 ได้
ร้อยละ 90

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 คนๆละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชม. ๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • คู่มือยากันล้ม 30 เล่มๆละ 40 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าไวนิล ขนาด 1 เมตร 2 เมตร 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11900.00

กิจกรรมที่ 2 ปฏิบัติออกกำลังกายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติออกกำลังกายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมฝึกฝนสมอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมฝึกฝนสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 26 คนๆละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 1,560 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 26 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อเป็นเงิน 1,300 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6460.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,360.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>