กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหวานน้อย อร่อยได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขต PCU รพ.กะพ้อ

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของทั่วโลกและมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเกิดจากการดำเนินชีวิตและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ข้อมูลจาก IDF Diabetes Atlas พบว่า 1 ใน 10 คน ทั่วโลกป่วยด้วยโรคเบาหวานมากถึง 537 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่า 4 ล้านคนต่อปี คาดว่า ภายในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มมากถึง783 ล้านคน ผู้ป่วยโรคเบาหวานมากกว่า 90% เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และเกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย
สำหรับประเทศไทยพบว่า 1 ใน 10 คน ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 6.5 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และร้อยละ 40 ที่ไม่ทราบว่าตัวเองป่วย จะเห็นได้ว่าปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย รัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีใจความส่วนหนึ่งในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 เน้นย้ำให้ใช้เครือข่ายสาธารณสุขในการมีส่วนร่วมป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายในการส่งเสริมให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม โดยมุ่งเน้นให้คนไทยนับ Carb ในการรับประทานอาหารของแต่ละบุคคลในแต่ละวัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อโดยขับเคลื่อนผ่านกลไกอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.)
จากสถิติของโรงพยาบาลกะพ้อ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน โดยในปี 2565 2566 และ 2567มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 456 ,591 และ 618คน ตามลำดับ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ม.1 ม.2 ม.3 ม.4และหมู่.7 ตำบลกะรุบี มีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในความดูแลในปี 2565 ,2566 และ 2567 จำนวน145 ,149และ147 คน ตามลำดับ
จากปัญหาดังกล่าว ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขต PCU โรงพยาบาลกะพ้อ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จึงเล็งเห็นความสำคัญและได้จัดทำโครงการหวานน้อย ลดโรค โดยการส่งเสริมและแนะนำให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความตระหนักในโรคเบาหวาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้านน้ำให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม

ร้านขายน้ำที่เข้าร่วมโครางการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

1.00 2.00
2 เพื่อให้ประชาชนลดปริมาณน้ำตาลที่กินในแต่ละวัน

ผู้บริโภคน้ำชงหวานน้อยและไม่หวานมีปริมาณเพิ่มขึ้น

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจร้านค้าที่ขายน้ำชงในพื้นที่ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

ชื่อกิจกรรม
สำรวจร้านค้าที่ขายน้ำชงในพื้นที่ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าโฟมบอร์ด ขนาด 50 ซม.*65 ซม 20 แผ่น= 4,400 บาท ตร.ม ละ 650 บาท
  • ค่าไวนิลขนาด 1 เมตร*2 เมตร1 ป้าย = 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานแก่ผู้ประกอบการร้านน้ำชง และอธิบายกิจกรรมที่จะดำเนินการ มอบโฟมบอร์ดโครงการ และแสตมป์แก่ผู้ประกอบการร้านน้ำชง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานแก่ผู้ประกอบการร้านน้ำชง และอธิบายกิจกรรมที่จะดำเนินการ มอบโฟมบอร์ดโครงการ และแสตมป์แก่ผู้ประกอบการร้านน้ำชง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 600 บาทx 6 ชั่วโมง = 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 40 คน x 1 มื้อ = 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 40 คน x 2 มื้อ = 2,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องเขียน 40x30 = 1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและมอบเกียรติบัตรแก่ร้านน้ำชงที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและมอบเกียรติบัตรแก่ร้านน้ำชงที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุจัดทำเกียรติบัตร (ใส่กรอบ) จำนวน 20*80 = 1,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>