กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม. นักสื่อสารสุขภาพค้นหารู้ทันภัยสุขภาพในตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

ชมรมอาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสื่อต่างๆ นับว่ามีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของประชาชนเป็นอย่างมาก ประกอบช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2562 – 2565 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ประชาชนจึงมีการความสนใจพิจารณาเกี่ยวกับสุขภาพ มักจะเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือ รวมทั้งสื่อโซเซี่ยวมีเดีย ดังนั้นข้อความเชิญชวนตามสื่อๆรูปแบบที่หลากหลาย จึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของประชาชนในการตัดสินใจเชื่อถือบทความ ข่าว ซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ และใช้บริการสุขภาพนั้นๆ การดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาสื่อที่ได้รับให้ละเอียดรอบคอบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือมีโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงหรือไม่ เนื่องจากหากขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ เชื่อถือข้อความบนสื่อโฆษณาโดยปราศจากการไตร่ตรอง ประกอบกับใช้ความต้องการ ความอยากได้และความปรารถนาของจิตใจเป็นตัวนำทางในการเลือกสินค้ามากกว่าความสมเหตุสมผลจะทำให้ได้รับสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพที่ไม่สมประโยชน์ และอาจเกิดผลเสียหาย มีอันตรายต่อรางกายและจิตใจของผู้บริโภคได้ การสื่อสารจึงเป็นมาตรการหนึ่งที่หลายฝ่ายได้พยายามกระทำมาโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีสุขภาวะที่ดีและสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพได้
จากสถานการณ์ด้านสุขภาพของประชากรในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบาโงยือแบ็ง พบว่า ประชากรทั้งหมดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็งจำนวน 1,228คน ประชากรกลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 488 คน คิดเป็นร้อยละ 39.74 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรา โดยกลุ่มนี้จะค่อยๆ สะสมอาการมีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆ มีอาการอย่างต่อเนื่องและเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเพื่อ และชุมชน

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ร้อยละ 80

1.00 2.00
2 ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงมีความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านสุขภาพ ที่นำมาใช้กับตนเอง ครอบครัว และสังคม

สถานีสุขภาพในชุมชน หมู่ละ 1 แห่ง

1.00 2.00
3 ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพในเบื้องต้นได้

 

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 21
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม. นักสื่อสารสุขภาพคุณภาพค้นหารู้ทันภัยในสภาพชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม. นักสื่อสารสุขภาพคุณภาพค้นหารู้ทันภัยในสภาพชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 21 คน มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 21 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 2,520 บาท - ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 302 บาท (1)ปากกา จำนวน 21 ด้าม ด้ามละ 10 บาท
เป็นเงิน 210 บาท (2) สมุด จำนวน 21 เล่ม เล่มละ 10 บาท
เป็นเงิน210บาท (3) แฟ้มใส ใส่เอกสาร จำนวน 21 แผ่น แผ่นละ 10บาท เป็นเงิน 210 บาท (4)กระดาษพรู๊พ แผ่นละ 6 บาท จำนวน 12 แผ่น เป็นเงิน 72 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าวัสดุสำหรับการชุมชนคัดกรองสุขภาพ เป็นเงิน 10,050 บาท (1) สายวัดรอบเอว BMI สายวัด สายวัดดัชนีมวลกายตัวละ 150 บาท จำนวน 3 ชุด เป็นเงิน450 บาท (2)แผ่นตรวจน้ำตาล Test Strip แบบ 100 ชิ้นจำนวน 5 กล่อง ราคากล่องละ 1,350 รวมเป็นเงิน 6,750 บาท
(3) เข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว แบบ 200 ชิ้น จำนวน 3 กล่อง ราคากล่องละ 950 บาท เป็นเงิน 2,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23072.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,072.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>