กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญา ประกอบกับนโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยยึดถือการได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการครอบคลุมระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไป เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากที่สุด จากการสำรวจข้อมูลและผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ในรอบปี 2567 ปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิด( fully immunization ) คิดเป็นอัตราร้อยละ 22.73 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 50 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 38.89 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 31.58 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงกำหนดไว้ว่าเด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 90.00 ยกเว้นวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม (mmr) ร้อยละ 95 ในการนี้จึงต้องเร่งรีบให้วัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าว
เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง รับผิดชอบดูแลในกลุ่มเด็ก 0 – 5 ปี ทั้งหมด 96 คน ยังคงพบปัญหาเรื่องการได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในเด็ก 0 – 5 ปี ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น ผู้ปกครองไม่ยินยอมให้ลูกฉีดวัคซีน เพราะกลัวว่าลูกจะเป็นไข้ ไม่เห็นความสำคัญของการได้รับวัคซีนและมักจะเปรียบเทียบกับสมัยก่อนว่าการไม่ได้รับวัคซีนไม่เห็นว่าจะเป็นโรคใดๆ และปัญหาของจากการที่พ่อแม่มีไปทำงานนอกพื้นที่ทำให้ติดตามไม่ได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็งจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความใจให้ผู้ปกครองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองพาเด็กมาฉีดวัคซีน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค 0-5 ปี

เพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค 0-5 ปี ร้อยละ 80

1.00 2.00
2 เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ร้อยละ 80 เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุมากขึ้น

1.00 2.00
3 ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีได้รับความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ร้อยละ90

ร้อยละ 90 ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีได้รับความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รวบรวมข้อมูลความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
รวบรวมข้อมูลความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน3,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ชม.ละ 600 บาท 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์ ค่าคู่มือประกอบการอบรม 30 บาท คนละ 1เล่ม 50 เล่ม เป็นเงิน1,500 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม
  1. ปากกา 50 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  2. สมุด จำนวน 50 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  3. ค่าแฟ้มใส ใส่เอกสาร จำนวน 50 แผ่นๆ ละ 10 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>