กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักษ์เข่าด้วยสมุนไพรไทย ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ

-

ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนในข้อต่อเข่า ส่งผลให้เกิดอาการปวด ข้อฝืด และการเคลื่อนไหวที่จำกัด ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินโรคนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว แต่ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในชีวิตประจำวัน
จากการสำรวจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะพบว่าตั้งแต่ปี 2565-2567 โรคกล้ามเนื้อ
และกระดูกเป็นปัญหาที่พบมาก 1 ใน 5 สาเหตุของการป่วย ปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 3 ซึ่งโรคเข่าเสื่อมจัดอยู่ในกลุ่มโรคกล้ามเนื้อและกระดูก โดยมักจะพบในผู้ป่วยวัยกลางคนและวัยสูงวัย (ที่มา : รายงาน 504 วันที่ 1 ต.ค. 2565 - ธ.ค.2567) ด้วยเหตุนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าโรคเกี่ยวกับเข่าและกล้ามเนื้อกระดูก เป็นปัญหาของคนในพื้นที่ การรักษาโรคเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะใช้วิธีการทางการแพทย์ เช่น การใช้ยา, การทำกายภาพบำบัด หรือในกรณีที่รุนแรงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการนำการรักษาแบบแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมการรักษา ซึ่งใช้วิธีธรรมชาติและสมุนไพรในการบรรเทาอาการ การพอกเข่าและการใช้แผ่นแปะสมุนไพรไทยเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสมุนไพรไทยหลายชนิด มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด สมุนไพรในการพอกเข่า เช่น ขมิ้นชัน ขิง ไพล และผักเสี้ยนผี จะช่วยลดอาการบวมและคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด ขณะเดียวกันการใช้แผ่นแปะสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงข้อต่อและลดการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นวิธีการรักษา ที่ปลอดภัยและสามารถใช้ควบคู่กับการรักษาอื่นๆ ได้ ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสบายตัวมากขึ้นและสามารถฟื้นฟูข้อต่อได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้ทำโครงการรักษ์เข่าด้วยสมุนไพรไทยซึ่งมี การนำสมุนไพรไทยที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชนมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจใน โรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม    ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย

0.00 80.00
2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมยาพอกเข่าและแผ่นแปะเข่า

ร้อยละ 80 ของประชาชนได้รับความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมยาพอกเข่าและแผ่นแปะ

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประเมินความรู้และประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินความรู้และประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-คู่มือการอบรม 45 ชุด ชุดละ 30 บาท
                                              เป็นเงิน 1,350 บาท -ค่าแบบฟอร์มประเมินความรู้ก่อนอบรม 45 ชุด หลังอบรม 45 ชุด ชุดละ 2 บาท จำนวน 90 ชุด  เป็นเงิน 180 บาท -ค่าแบบประเมินความพึงพอใจโครงการ
ชุดละ  2 บาท จำนวน 45 ชุด          เป็นเงิน 90 บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร
จำนวน 1 ป้าย                            เป็นเงิน 900 บาท
-ค่าวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องเขียน       เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3520.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับ ผู้เข้าอบรม 45 คน คนละ        50 บาท 1 มื้อ 1 วัน                        เป็นเงิน 2,250 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม 45 คน คนละ
35 บาท 2 มื้อ                             เป็นเงิน 3,150 บาท -ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท                                                เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการทำยาพอกเข่า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการทำยาพอกเข่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุสำหรับพอกเข่า -ฟิล์มยืดสำหรับพันเข่า 2 ม้วน ม้วนละ 200 บาท
                                               เป็นเงิน 400 บาท -กะละมังใส่ยาสมุนไพร 20 ชิ้น x 30 บาท
                                               เป็นเงิน 600 บาท
ค่าสมุนไพรพอกเข่า
-ไพล 10 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 170 บาท                                               เป็นเงิน 1,700 บาท -ขมิ้นชัน 10 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 120 บาท                                              เป็นเงิน 1,200 บาท -ขิง 10 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 100 บาท                                              เป็นเงิน 1,000 บาท -ผักเสี้ยนผี 10 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 350 บาท                                             เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการทำแผ่นแปะเข่า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการทำแผ่นแปะเข่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าครุภัณฑ์สำหรับสกัดสาร

-เครื่องไมโครเวฟขนาด 20 ลิตรสำหรับสกัดสารจำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 2,500 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท

-เครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง 1 เครื่องเครื่องละ400 บาท เป็นเงิน 400 บาท

-เตาไฟฟ้า 1,000 วัตต์ 1 เครื่องเครื่องละ500 บาทเป็นเงิน 500 บาท

-หม้อสเตนเลส 1 ชิ้น ชิ้นละ 250 บาทเป็นเงิน 250 บาท

-ค่าตัวทำละลายเอทานอล จำนวน 2 ลิตร ลิตรละ 160 บาท เป็นเงิน 320 บาท

-ถุงมือ จำนวน1 กล่อง กล่องละ 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท

-บีกเกอร์ขนาด 1,000 ml 3 ใบ ใบละ 300 บาทเป็นเงิน 900 บาท

-บีกเกอร์ขนาด 500 ml 3 ใบ ใบละ 200 บาทเป็นเงิน 600 บาท

-กรวยแก้ว 2 อัน อันละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท

-ผ้าขาวบาง 40 บาท จำนวน 1 ผืน ผืนละ 40 บาทเป็นเงิน 40 บาท

-กระดาษกรอง 1 กล่อง กล่องละ150 บาท เป็นเงิน 150 บาท

-ขวดแก้วภาชนะเก็บสารสกัดจำนวน 1 อัน อันละ 50 บาท เป็นเงิน50 บาท

-แท่งแก้วคนสาร หรือพายจำนวน 1 อัน อันละ 100 บาทเป็นเงิน 100 บาท

-พิมพ์ซิลิโคน 6 ช่อง ขนาด 85.52.5 cmจำนวน 5 อัน อันละ 120 บาท เป็นเงิน 600 บาท

-กระบอกฉีดยา 5 อัน อันละ 10 บาทเป็นเงิน 50 บาท

-แผ่นพลาสเตอร์ 10 cm* 10 m จำนวน 2 ม้วน ม้วนละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท

-ซองฟอยด์ซิป 50 ใบ ใบละ 2 บาท เป็นเงิน 100 บาท

-Menthol 100 กรัม เป็นเงิน 180 บาท
-Gelatin 500 กรัม เป็นเงิน 600 บาท

-CMC 100 กรัมเป็นเงิน 100บาท

-Propylene Glycol 100 กรัมเป็นเงิน 160บาท

-น้ำมันระกำ 100 กรัม เป็นเงิน 150 บาท

-สารกันเสีย Glydent 100 กรัมเป็นเงิน 150 บาท

-กลิ่นเปเปอร์มินท์ 100 กรัมเป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
2. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมยาพอกเข่าและแผ่นแปะเข่า


>