กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักษ์เข่าด้วยสมุนไพรไทย ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3011-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,770.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนในข้อต่อเข่า ส่งผลให้เกิดอาการปวด ข้อฝืด และการเคลื่อนไหวที่จำกัด ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินโรคนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว แต่ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในชีวิตประจำวัน
จากการสำรวจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะพบว่าตั้งแต่ปี 2565-2567 โรคกล้ามเนื้อ และกระดูกเป็นปัญหาที่พบมาก 1 ใน 5 สาเหตุของการป่วย ปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 3 ซึ่งโรคเข่าเสื่อมจัดอยู่ในกลุ่มโรคกล้ามเนื้อและกระดูก โดยมักจะพบในผู้ป่วยวัยกลางคนและวัยสูงวัย (ที่มา : รายงาน 504 วันที่ 1 ต.ค. 2565 - ธ.ค.2567) ด้วยเหตุนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าโรคเกี่ยวกับเข่าและกล้ามเนื้อกระดูก เป็นปัญหาของคนในพื้นที่ การรักษาโรคเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะใช้วิธีการทางการแพทย์ เช่น การใช้ยา, การทำกายภาพบำบัด หรือในกรณีที่รุนแรงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการนำการรักษาแบบแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมการรักษา ซึ่งใช้วิธีธรรมชาติและสมุนไพรในการบรรเทาอาการ การพอกเข่าและการใช้แผ่นแปะสมุนไพรไทยเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสมุนไพรไทยหลายชนิด มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด สมุนไพรในการพอกเข่า เช่น ขมิ้นชัน ขิง ไพล และผักเสี้ยนผี จะช่วยลดอาการบวมและคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด ขณะเดียวกันการใช้แผ่นแปะสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงข้อต่อและลดการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นวิธีการรักษา ที่ปลอดภัยและสามารถใช้ควบคู่กับการรักษาอื่นๆ ได้ ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสบายตัวมากขึ้นและสามารถฟื้นฟูข้อต่อได้อย่างเป็นธรรมชาติ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้ทำโครงการรักษ์เข่าด้วยสมุนไพรไทยซึ่งมี การนำสมุนไพรไทยที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชนมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจใน โรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม    ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย

0.00 80.00
2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมยาพอกเข่าและแผ่นแปะเข่า

ร้อยละ 80 ของประชาชนได้รับความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมยาพอกเข่าและแผ่นแปะ

0.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,770.00 0 0.00
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมประเมินความรู้และประชาสัมพันธ์ 0 3,520.00 -
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 9,000.00 -
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมการทำยาพอกเข่า 0 8,400.00 -
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมการทำแผ่นแปะเข่า 0 8,850.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
    1. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมยาพอกเข่าและแผ่นแปะเข่า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2568 16:11 น.