กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ
ภายใต้โครงการ ชุดโครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล โดยพี่เลี้ยง สปสช. เขต12
ภายใต้องค์กร สปสช.
รหัสโครงการ 62-00-0250-2
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 1,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะบุคคล สร้างสรรค์พลังเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี นางสาวยุรี แก้วชูช่วง และว่าที่ร้อยตรีคณิชา แซนโทส
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ กองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง พื้นที่เขต 12 สงขลา จำนวน 7 จังหวัด 140 กองทุน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2562 31 ธ.ค. 2562 1 ส.ค. 2562 31 ธ.ค. 2562 450,000.00
2 1 ม.ค. 2563 30 มิ.ย. 2563 450,000.00
3 1 ก.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 100,000.00
รวมงบประมาณ 1,000,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2000
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000 -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเข้าสู่ยุค ๔.๐ และยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการผนึกกำลังในภูมิภาคประชาชาคมอาเชี่ยน ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ มีผลกระทบทั้งในทางบวกและลบกับประชาชนคนไทยในด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งด้านเศรษฐกิจ วิถีชีวิตและสังคมไปจนถึงมิติ ทางกฎหมายและการเมือง การขับเคลื่อนประเทศอยู่บนพลังของเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมหลายเท่าตัว แต่ยังมีปัญหาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของประชากรในทุกช่วงวัย โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยครัวเรือนโดยเฉลี่ยมีขนาดลดลงและมีรูปแบบที่หลากหลาย ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถแก้ปัญหาและสนองตอบความต้องการของชุมชนด้วยตนเองได้ดีขึ้น แต่สัดส่วนของชุมชนที่เข้มแข็งยังมีอยู่ไม่มากนัก รวมทั้งแนวคิดการพัฒนาจากภาครัฐยังเป็นลักษณะจากบนลงล่างโดยมองชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา
สถานการณ์ความยากจนมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงมีความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคน นำไปสู่ความไม่เท่ากันของทุนที่มีในการพัฒนาศักยภาพคนและปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและสาธารณสุข คนไทยจึงยังปัญหาเชิงคุณภาพทั้งด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม (ลดาวัลย์ ค้าภา, ๒๕๕๙, แผนปฏิรูปประเทศ, ๒๕๖๑) การเตรียมความพร้อมประชากรก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในยุคเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุค ๔.๐ นอกเหนือจากนโยบายระบบรัฐสวัสดิการต่างๆที่เอื้อต่อผู้สูงอายุทั้งในด้านสุขภาพ อาชีพ ที่อยู่อาศัย การคุ้มครองสิทธิฯ แล้ว กลุ่มเสี่ยงที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งมีจำนวน ๒๑.๒ ล้านคน หรือร้อยละ ๕๕.๓ของผู้ทำงานทั้งหมด(อายุ ๑๕-๕๙ ปี) โดยแยกเป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมร้อยละ ๕๕.๕ ภาคการบริการและการค้าร้อยละ ๓๓.๒ และภาคการผลิตร้อยละ ๑๑.๓ และเป็นกลุ่มวัยที่พบผู้ป่วยจากการทำงานมากที่สุด คือ จำนวน ๖,๑๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๘๑ และสังคมไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ความเสี่ยงของแรงงานกลุ่มนี้จึงกลายเป็นความเสี่ยงโดยรวมของสังคม และประเทศด้วย นอกจากนี้ยังมีแรงงานนอกระบบที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ(อายุ ๖๐ปีขึ้นไป) จำนวน ๓.๕๙ ล้านคน ผลการศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยส่วนใหญ่ พบว่า ร้อยละ ๕๙.๔ ของประชาชนทั้งหมด มีความรอบรู้ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ นอกจากนี้พบว่าสัดส่วนของโรคที่เกิดจากการทำงานไม่ปรากฎชัดเจนและอยู่ในลำดับที่ควรได้รับการพิจารณาให้ความสำคัญทั้งที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยชราที่เป็นภาระของประเทศในอนาคต แผนการปฏิรูปประเทศกำหนดมิติการปฏิรูปด้านสังคมที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (๒๕๖๑-๒๕๘๐) ในการเป็นคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่สมบูรณ์ และการสร้างโอกาสความเสมอภาคในสังคม ไว้อย่างชัดเจนโดยการปฏิรูปโอกาสการพัฒนาสังคม ส่งเสริมให้ชุมชน/ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการกันเองและทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้ เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งและมีการขับเคลื่อนสังคมด้วยจิตสาธารณะกิจกรรมสำคัญประการหนึ่งคือการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน/ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้นั้นมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้การความรับผิดชอบและการสนับสนุนของทั้ง สปสช. สธ.และ สสส. ดังนี้
สปสช.ให้การสนับสนุนท้องถิ่นในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
สธ.มีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสุขภาพดีเจ้าหน้าที่มีความสุขระบบสุขภาพยั่งยืนโดยมีกลไกในพื้นที่ในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนในระดับตำบลผ่านโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบลที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในทุกตำบล และมีกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ(พชอ.)ในทุกอำเภอทั่วประเทศ เพื่อการแก้ปัญหาระดับพื้นที่ อย่างน้อย ๒เรื่องโดยใช้เกณฑ์ตามบริบทพื้นที่และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.)
สสส.ดำเนินงานโดยมีเป้าหมายให้ทุกคนมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างมีสุขภาวะมีการดำเนินงานใน ๑๕ แผนหลัก ประกอบด้วย ๑) แผนควบคุมยาสูบ๒) แผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด ๓) แผนการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ๔) แผนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ๕) แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ๖)แผนสุขภาวะชุมชน ๗) แผนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว ๘) แผนสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร๙) แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ๑๐) แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา ๑๑) แผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ ๑๒) แผนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพผ่านระบบบริการสุขภาพ ๑๓) แผนพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ๑๔) แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ ๑๕) แผนสร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะ
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๑ ทางโครงการพัฒนานโยบายและกลไกการเข้าถึงระบบสร้างเสริมสุขภาพความปลอดภัยและชีวอนามัย ฯ โดยสมาคมวิถีทางเลือกฯ สสส. ร่วมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ๑๒ สงขลา มีการดำเนินโครงการพัฒนานโยบายและกลไกการเข้าถึงระบบการสร้างเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ เขตพื้นที่ ๑๒ (สงขลา) ช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑ ขึ้น โดยกิจกรรมหลักประกอบด้วย
๑) การพัฒนากลไกคณะทำงานทีมพี่เลี้ยง เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการทั้งในขั้นตอนการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ
๒) การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวอนามัยในระดับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบเพื่อขอรับทุนสนับสนุนผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่
๓) การพัฒนาระบบการจัดทำแผน และโครงการ และระบบติดตามประเมินผลโครงการ Online ผ่านทางWebsite(www.localfund.happynetwork.org)
๓) การประชุมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่โดยคณะทำงานทีมพี่เลี้ยง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์สุขภาพแรงงานนอกระบบ วิเคราะห์พัฒนาข้อเสนอโครงการ สำหรับผู้เสนอโครงการ เพื่อจัดทำกรอบแนวคิดของโครงการให้มีความชัดเจน รวมทั้งแนะนำและฝึกปฏิบัติการใช้งานเว็บไซต์เพื่อการพัฒนาโครงการ
ผลการดำเนินงานที่ดำเนินการผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีผลการดำเนินงานดังนี้
๑) มีการผลักดันให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนและสนับสนุนให้มีโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ จำนวน ๑๐ แห่ง
๒) เกิดแกนนำเพื่อขับเคลื่อนงานระดับตำบล จำนวน ๖ คนต่อแห่ง จำนวน ๖๐ คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ดูแลงาน คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ผู้แทนกลุ่มอาชีพเสี่ยง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และพี่เลี้ยงสนับสนุนกองทุน
๓) เกิดการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุน กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีเสี่ยงในชุมชน ส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์สุขภาพแรงงานนอกระบบ วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของแรงงานนอกระบบ สามารถพัฒนาโครงการในพื้นที่ได้
๔) เกิดเครือข่ายนักวิชาการในการทำหลักสูตรอาสาสมัครชีวอนามัย และเกิดข้อมูลสถานการณ์สุขภาพแรงงานนอกระบบในพื้นที่ ๗ จังหวัดของ สปสช.เขต ๑๒ สงขลา
๕)ได้จัดทำแผนกองทุน ประเด็นพัฒนาสุขภาวะกลุ่มแรงงานนอกระบบ จำนวน ๑๘ แผนงานและมีโครงการพัฒนา ๒๒ โครงการ และมีการติดตามประเมินผล ๒๒ โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒) อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานดังกล่าวยังพบข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพของแผนกองทุน และคุณภาพของโครงการ เนื่องจากพี่เลี้ยงมีจำนวนจำกัดและอาสาสมัครชีวะอนามัย ที่มาจากเครือข่ายของ สปสช.เพียงเครือข่ายเดียว
ในปี ๒๕๖๒-๒๕๖๓ จึงเสนอโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะแรงงาน    นอกระบบสู่การดำเนินงานในระดับพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้น โดยการสานพลังการทำงานร่วมกันของ สสส. สปสช.และสธ. ในโครงการการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (สปสช.) และกลไกสุขภาพภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมาย ๒ ประเด็นหลัก คือ ๑) พัฒนาศักยภาพทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง อาสาสมัครอาชีวอนามัย ในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่ และ๒) การนำร่องพื้นที่ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โครงการดังกล่าวจะเป็นการเสริมพลังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนาศักยภาพทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง อาสาสมัครอาชีวอนามัย คณะกรรมการกองทุนในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในระดับพื้นที่

๑.เกิดทีม ๒ ระดับ ประกอบด้วย ทีมระดับเขต และทีมระดับพื้นที่ โดยเป็นการขยายกลไกร่วมของ สปสช. สธ.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒.เกิดทีมระดับพื้นจำนวน ๗ จังหวัดที่มีศักยภาพทักษะการ coaching ในการสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผล รวมถึงสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

70.00
2 การนำร่องพื้นที่ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โครงการดังกล่าวจะเป็นการเสริมพลังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๑.กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และประเด็นอื่น ๆ ตามบริบทของพื้นที่ ในพื้นที่นำร่อง ๑๔๐ กองทุน

๒.ได้ข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ตามบริบทของพื้นที่ ที่มีคุณภาพ จำนวน ๒๘๐ โครงการ

๓.อาสาสมัครอาชีวอนามัยชุมชนที่มีศักยภาพและบทบาทในขับเคลื่อนงานสุขภาวะแรงงานนอกระบบต่อเนื่อง ตำบลละ ๕ คน

140.00
3 การพัฒนาระบบข้อมูลและสู่การยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะด้านคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่

ได้ประกาศหรือข้อตกลงร่วมหรือแผนสุขภาพของ อปท./ชุมชน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัดและการทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ รายจังหวัด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 660 186,994.00 16 182,908.10
16 ต.ค. 62 ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) จังหวัดปัตตานี 20 11,750.00 11,750.00
5 พ.ย. 62 ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดยะลา 50 7,918.00 7,918.00
5 พ.ย. 62 โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดยะลา 2563 : ประชุมกองทุนสุขภาพตำบลชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) 50 20,000.00 20,000.00
6 พ.ย. 62 ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯรายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดปัตตานี 50 6,271.00 6,271.00
6 พ.ย. 62 โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดปัตตานี 2563 : ลงพื้นที่ประชุมจัดทำแผนและพัฒนาร่างโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) 50 8,250.00 8,250.00
18 พ.ย. 62 โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดตรัง 2563 : ประชุมกองทุนสุขภาพตำบลจัดทำแผนและพัฒนาร่างโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) 50 20,000.00 20,000.00
18 พ.ย. 62 ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯรายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดตรัง 50 13,300.00 10,879.10
24 พ.ย. 62 ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดพัทลุงเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ 12 1,712.00 1,712.00
26 พ.ย. 62 โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดพัทลุง 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) 50 20,000.00 20,000.00
26 พ.ย. 62 ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดพัทลุง 50 8,187.00 8,187.00
30 พ.ย. 62 ลงพื้นที่ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดสงขลาเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ 13 1,200.00 1,200.00
9 ธ.ค. 62 ลงพื้นที่ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดนราธิวาสเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ 15 10,154.00 10,154.00
12 ธ.ค. 62 ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ การพัฒนาโครงการ จังหวัดสงขลา 50 5,542.00 5,542.00
12 ธ.ค. 62 โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดสงขลา 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) 50 20,000.00 20,000.00
16 ธ.ค. 62 ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการ ฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ การพัฒนาโครงการ จังหวัดนราธิวาส 50 12,710.00 11,045.00
16 ธ.ค. 62 โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดนราธิวาส 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) 50 20,000.00 20,000.00
2 ค่าบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 6 80,000.00 4 80,000.00
31 ส.ค. 62 การบริหารจัดการโครงการ เดือนสิงหาคม 2562 2 20,500.00 20,500.00
30 ก.ย. 62 การบริหารจัดการโครงการ เดือนกันยายน 2562 0 29,500.00 29,500.00
31 ต.ค. 62 การบริหารจัดการโครงการ เดือนตุลาคม 2562 2 15,000.00 15,000.00
30 พ.ย. 62 การบริหารจัดการโครงการ เดือนพฤศจิกายน 2562 2 15,000.00 15,000.00
3 ประชุมคณะทำงานเขตและส่วนกลาง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 55 19,939.00 5 19,939.00
22 ก.ค. 62 การประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการในการวางแผนงานและติดตามการดำเนินโครงการฯ :ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการและคณะทำงานจากแผนงานกลาง 20 0.00 0.00
30 ส.ค. 62 ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการและคณะทำงานจากแผนงานกลาง 8 5,000.00 5,000.00
23 ก.ย. 62 ประชุมวางแผนทีมติดตาม ประเมินผลภายใน การจัดทำระบบฐานข้อมูล ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 7 5,850.00 5,850.00
24 ต.ค. 62 การประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการฯ(ทีมบริหารเขต12 ) ในการวางแผนงานและติดตามการดำเนินโครงการฯ 5 3,722.00 3,722.00
1 พ.ย. 62 การประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการในการวางแผนงานและติดตามการดำเนินโครงการฯ 5 0.00 -
26 ธ.ค. 62 ประชุมคณะทำงานระดับเขต12 10 5,367.00 5,367.00
4 พัฒนากลไกพี่เลี้ยงระดับจังหวัด และอสอช.ในระดับพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 5 0.00 0 0.00
30 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ออกแบบระบบการพัฒนาแผน ระบบการพัฒนาข้อเสนอโครงการ และระบบการติดตาม ประเมินผลโครงการ Online ผ่านทาง Website และเชื่อมประสานข้อมูล (สปสช. สธ.) 5 0.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 909 548,979.30 47 526,479.30
26 ธ.ค. 62 ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดสตูล 0 2,669.00 2,669.00
6 ม.ค. 63 ประชุมคณะทำงานระดับเขต12สงขลา(ทีมบริหารโครงการฯ) 6 3,634.00 3,634.00
7 - 8 ก.พ. 63 การประชุมเชิงปฎิบัติการการติดตามประเมินผลภายในและเสริมพลัง (ส่วนแผนงานกลาง) 5 0.00 0.00
27 ก.พ. 63 ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไก กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เขต 12 สงขลา(ส่วนแผนงานกลาง) 15 0.00 0.00
29 ก.พ. 63 ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์งวดที่ 1 1 646.00 646.00
30 มี.ค. 63 ค่าตอบแทนประจำเดือนมีนาคม 2563 2 10,000.00 10,000.00
31 มี.ค. 63 เคลียร์เงินปัตตานี 1 43,508.00 43,508.00
31 มี.ค. 63 ึคืนเงินยืมค่าตอบแทนเงินประจำเดือนธันวาคม 2 15,000.00 15,000.00
2 เม.ย. 63 ประชุมการจัดทำโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โดยบูรณาการงานร่วมกับโครงการพัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ พื้นที่เขต12 สงขลา 6 4,976.00 4,976.00
30 พ.ค. 63 ค่าตอบแทนประจำเดือนพฤษภาคม 2563 2 15,000.00 15,000.00
1 มิ.ย. 63 ประชุมติดตาม ประเมินผลภายในระดับเขต (ประชุมทีมพี่เลี้ยงระดับเขต) 5 0.00 -
2 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานระดับเขต(ทีมบริหารโครงการ) 10 9,096.00 9,096.00
16 มิ.ย. 63 ประชุมพัฒนาหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยและเตรียมการสอนหลักสูตรอบรม อสอช. 8 6,122.00 6,122.00
18 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)โซนใต้ล่าง จังหวัดปัตตานี ,ยะลา,นราธิวาส 18 15,862.00 15,862.00
22 มิ.ย. 63 ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดสงขลา(ประชุมเตรียมร่วมกับพี่เลี้ยง) 50 9,990.00 9,990.00
23 มิ.ย. 63 จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดสงขลา 50 20,000.00 20,000.00
24 มิ.ย. 63 ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงจังหวัดยะลา 10 3,000.00 3,000.00
26 มิ.ย. 63 ค่าตอบแทนประจำเดือนมิถุนายน2563 2 15,000.00 15,000.00
30 มิ.ย. 63 จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. จังหวัดสตูล(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง) 50 11,626.00 11,626.00
30 มิ.ย. 63 ประชุมพี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส 7 3,000.00 3,000.00
1 ก.ค. 63 จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดสตูล 50 40,000.00 40,000.00
3 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยงโซนใต้ล่าง)จังหวัด ตรัง และ พัทลุง 18 15,090.00 15,090.00
8 ก.ค. 63 ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัด(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง) 105 15,480.30 15,480.30
9 ก.ค. 63 จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดปัตตานี 70 0.00 0.00
11 ก.ค. 63 อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงงานนอกระบบจังหวัดยะลา(เขต) 37 16,248.00 16,248.00
12 ก.ค. 63 จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดยะลา 37 20,000.00 20,000.00
21 ก.ค. 63 ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดนราธิวาส(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง) 31 19,320.00 19,320.00
22 ก.ค. 63 จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดนราธิวาส 31 20,000.00 20,000.00
28 ก.ค. 63 ค่าตอบแทนประจำเดือนกรกฎาคม 2563 2 15,000.00 15,000.00
30 ก.ค. 63 ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดพัทลุง(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง) 31 13,977.00 13,977.00
31 ก.ค. 63 อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงงานนอกระบบจังหวัดพัทลุง 31 20,000.00 20,000.00
10 ส.ค. 63 ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดตรัง(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง) 43 20,202.00 20,202.00
11 ส.ค. 63 จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดตรัง 41 20,000.00 20,000.00
29 ส.ค. 63 ค่าตอบแทนประจำเดือนสิงหาคม 2563 2 15,000.00 15,000.00
4 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงานระดับเขต (ทีมบริหารโครงการฯ) 0 0.00 0.00
5 ก.ย. 63 ส่งรายงานการเงินงวดที่ 2 2 900.00 900.00
24 ก.ย. 63 จัดเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในระดับเขตสงขลา 18 25,571.00 25,571.00
29 ก.ย. 63 ค่าตอบแทนประจำเดือนกันยายน 2563 2 15,000.00 15,000.00
14 ต.ค. 63 ลงพื้นร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดสงขลา 17 1,200.00 1,200.00
20 ต.ค. 63 ลงพี้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดยะลา 10 200.00 200.00
25 ต.ค. 63 ประชุมคณะทำงานระดับเขต(ทีมบริหารโครงการ) 7 3,262.00 3,262.00
26 ต.ค. 63 ลงพื้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดนราธิวาส 11 1,200.00 1,200.00
29 ต.ค. 63 ลงพื้นที่ร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดสตูล 15 15,000.00 1,500.00
30 ต.ค. 63 ลงพื้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดปัตตานี 21 200.00 200.00
30 ต.ค. 63 ทำสื่อวีดีโอ 5 5,000.00 5,000.00
30 ต.ค. 63 ลงพี้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดตรัง 18 10,000.00 1,000.00
30 ต.ค. 63 จัดทำรายงานและส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ 2 2,000.00 2,000.00
30 ต.ค. 63 เงินบริหารประจำเดือน 2 30,000.00 30,000.00
2 ต.ค. 62 ลงพื้นที่ประสานจัดประชุมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงการ Coaching จัดทำแผนและพัฒนาโครงการฯ 2 600.00 600.00
82 149,229.90 4 149,229.90
4 ต.ค. 62 ประชุมเพื่อหารือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยง 20 18,503.00 18,503.00
7 ต.ค. 62 ประชุมเตรียมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง 10 6,997.00 6,997.00
8 - 9 ต.ค. 62 การประชุมปฏิบัติการ การ Coaching การทำแผนกองทุน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ การใช้เว็บ ไซด์เพื่อการพัฒนาโครงการ (ประชุมทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ ) 50 123,129.90 123,129.90
12 - 13 ต.ค. 62 ประชุมเชิงปฎิบัติการคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการระดับเขตสุขภาพฯ เพื่อจัดเก็บข้อมูลความเสี่ยงจากการทำงานและการติดตามประเมินผลภายในฯ 15 2,024.00 2,024.00
15 2,024.00 1 2,024.00

1.การจัดการข้อมูล และการประเมินผลระดับความรู้สุขภาพและอาชีวอามัยกลุ่มเป้าหมายชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

-ข้อมูลปัญหา สถานการณ์และความเสี่ยงด้านสุขภาพและอาชีวอนามัย

-การประเมินความรู้ด้านสุขภาพและอาชีวอนามัย

-ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน

-ระบบบริการสุขภาพของชุมชน การเข้าถึงสวัสดิการทางสุขภาพ

-ข้อมูลเครือข่ายทางด้านสุขภาพ

2.นำข้อมูลมาออกแบบและวางแผนให้สอดคล้องกับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและอาชีวอนามัย

-พัฒนาคณะทำงาน(Coach)

-ออกแบบModule En-occ Literacy

-ออกแบบสื่อและการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจและความตระหนัก

-การออกแบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ

3.ส่งเสริม/สนับสนุนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการจัดการตนเอง-ครอบครัวกลุ่มในชุมชน

-กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ การสื่อสารความเสี้ยง การพัฒนาทักษะด้านอาชีวอนามัย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเน้นการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัวและกลุ่ม

-กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนและ Network Initiation

-การถอดบทเรียน การจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนและยกระดับ Heaith Literacy

4.สังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการขยายผลและการเสริมศักยภาพเครือข่ายควบคู่กับกระบวนการทางนโยบาย

-Program ส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่พบจากการคัดกรอง หรือประเมินความเสี่ยง และกลุ่มที่ยังไม่ปรากฎอาการโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพและรวมถึงโรคที่ไม่ติดต่อ (NCDs)

-Empowement Network and Policy Advocacy to Leaders and Coach

5.พลังขับเคลื่อนเครือข่ายและนโยบายเพื่อการส่งเสริมโรคจากการประกอบอาชีพ"อาชีวอนามัย"

-จัดทำข้อเสนอนโยบาย,Policy diaiogue and movement Follow up & Evaluate กระบวนการเชิงนโยบาย

-Support -motivation การขยายผลและHealth literacy : ระดับบุคคลกลุ่มชุมชน โดยเชื่อมโยงกับกองทุนสุขภาพท้องถิ่น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยงและภัยคุกคามอันเนื่องจากการประกอบอาชีพ และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มแรงงานนอกระบบพื้นที่เป้าหมาย
  2. อาสาสมัครอาชีวอนามัยได้รับการพัฒนาและมีความรอบรู้ทางสุขภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงานมีศักยภาพในการเฝ้าระวังความเสี่ยงเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมอย่างน้อยตำบลละ5คน
  3. ผู้นำหรืออาสาสมัครชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นอาสาสมัครอาชีวอนามัยชุมชนเพื่อทำหน้าที่เป้นกลไกคัดกรองและการรณรงค์เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพจังหวัดละอย่างน้อย 100คน/เขตละ20คน
  4. เกิดนวัตกรรมชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทความเสี่ยงและอาชีพอย่างน้อย เขตละ2 เรื่อง
  5. รูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแบบบุรณาการประกอบด้วยสุขภาพ ความปลอดภัย การมีหลักประกันทางสังคมและการจัดการอาชีพที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างน้อยใน 20ตำบล/เขต
  6. ชุดความรู้จากการถอดบทเรียนตำบล และอำเภอต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ และชุดความรู้ัการส่งเสริมป้องกันสำหรับกลุ่มเปาะบางเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคจากการทำงาน
  7. เกิดนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบในระดับอำเภอโดยการขับเคลื่อนของเครือข่ายอาสาสมัครอาชีวอนามัยชุมชนและเครือข่ายพี่เลี้ยงกองทุนฯจากพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมอย่างน้อย เขตละ 2อำเภอ
  8. เอกสารข้อเสนอนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานและการส่งเสริมป้องกันดรคต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ
  9. เอกสารข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคสำหรับกลุ่มเปาะบาง/ กลุ่มเสี่ยงที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2562 13:11 น.