กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ประชุมวางแผนทีมติดตาม ประเมินผลภายใน การจัดทำระบบฐานข้อมูล ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่23 กันยายน 2562
23
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา 13.00 -16.30 น.ประชุมวางแผนทีมติดตามภายใน การจัดทำข้อมูลผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ชั้น 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วาระที่1 เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ชี้แจงแผนการดำเนินงานโครงการฯ ในช่วงปี 2561 นำร่องใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย
- จังหวัดตรัง ได้แก่ อบต.นาหมื่นสี
- จังหวัดพัทลุง ได้แก่ อบต.เกาะหมาก , ทต.เกาะหมาก - จังหวัดสตูล ได้แก่ อบต.ปากน้ำ - จังหวัดปัตตานี ได้แก่ ทต.หนองจิก ,อบต.บานา - จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อบต.โคกเคียน - จังหวัดยะลา ได้แก่ ทม.เบตง - จังหวัดสงขลา ได้แก่ เทศบาลนครหาดใหญ่ , เทศบาลนครสงขลา

จากการพัฒนาโครงการมีโครงการผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนจำนวน 21โครงการ และมีบางส่วนที่ตกหล่นไป เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนยังไม่เข้าใจ ดังนั้นการดำเนินโครงการฯในปี ุ62-63 ได้มีการดำเนินการในรูปแบบดังนี้
1 การพัฒนากลไกทีมระดับเขต ( จำนวน 10 คน) ประกอบด้วย 3 ภาคส่วน คือ ผู้ประสานงานกองทุนสุขภาพตำบล สปสช.เขต 12 สงขลา ผู้แทนพี่เลี้ยงกองทุน สปสช. นักวิชาการในพื้นที่ ภาคประชาสังคมด้านแรงงานนอกระบบ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานการควบคุมโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากการทำงาน สคร. เลขานุการหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในฐานะเลขานุการ พชอ. ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง การเลือกพื้นที่ และให้คำแนะนำการดำเนินโครงการ

2 ทีมระดับพื้นที่ ทีมพี่เลี้ยงจังหวัด ๆละ 10คน รวม 70 คน มีการเพิ่มศักยภาพพี่เลี้ยงในการ coaching เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของสสส. สปสช.และสธ. ในประเด็นแรงงานนอกระบบรวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ และการติดตามประเมินผลระดับจังหวัด และระดับพื้นที่หรือกองทุน

3.กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และประเด็นอื่น ๆ ตามบริบทของพื้นที่ ในพื้นที่นำร่อง 140 กองทุนได้ข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ตามบริบทของพื้นที่ ที่มีคุณภาพ จำนวน 280 โครงการ

วาระที่ 2 : ประเด็นการหารือ การเตรียมจัดเวทีพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง coaching ในช่วงเดือนตุลาคม 2562 ซึ่งจะมีพี่เลี้ยงมาอบรมจังหวัดละ10คน อาจจะมีการปรับให้เหลือจังหวัดละ5 คน มาเป็นตัวแทน จากเดิมทีวางแผนไว้ที่จะอบรมเป็นโซนพื้นที่ ลดลงมาจัดครั้งเดียว
ในส่วนของหลักสูตรการอบรมจะให้ทางอาจารย์แสงอรุณ ช่วยการออกแบบเนื้อหา และจะมีการนัดประชุมเตรียมในครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการระดับเขต ประกอบด้วยอาจารย์แสงอรุณ และ ตัวแทนจากสำนักงานควบคุมโรคที่12สงขลา (สคร.) มีความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ ประเด็นแรงงานนอกระบบ

2.ได้แนวทางการอบรมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง coaching จากเดิมที่มีแผนอบรมจำนวน 2ครั้ง ตามโซนจังหวัด มีการปรับให้เหลือ 1ครั้ง และให้มีตัวแทนพี่เลี้ยงเข้าอบรมจำนวน5คน/จังหวัด เพราะมีข้อกำจัดในเรื่องของงบประมาณ