กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
เงินบริหารประจำเดือน30 ตุลาคม 2563
30
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าตอบแทนผู้จัดการโครงการและคณะผู้ช่วยบริหารงานทั่วไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าตอบแทนผู้จัดการโครงการและคณะผู้ช่วยบริหารงานทั่วไป

จัดทำรายงานและส่งรายงานฉบับสมบูรณ์30 ตุลาคม 2563
30
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำและส่งรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำและส่งรายงานฉบับบสมบูรณ์

ลงพี้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดตรัง30 ตุลาคม 2563
30
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง “กลุ่มอาชีพสวนยางพารา” วันที่30ตุลาคม2563 เวลา13.00-16.00น. ณ ห้องประชุมอบต.ห้วยยอด
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้พื้นที่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) 2)ร่วมติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุนการทำงานของทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..22...คน ประกอบด้วย 1.อสอช.,อสม. จำนวน 8 คน 2.กลุ่มอาชีพสวนยางพารา จำนวน 7คน 3.คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดตรัง จำนวน 4คน 4.คณะทำงานโครงการระดับเขต (core team) จำนวน 3คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)
1.คณะทำงานพี่เลี้ยงcsd จังหวัดตรัง ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ได้ร่วมซักถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินโครงการฯกลุ่มอาชีพสวนยางพารา จากการสรุปกระบวนการถอดบทเรียนดังนี้
1.1.ที่มาของโครงการฯ มีการดำเนินโครงการโดยรองปลัดสุภารัตน์ เขียนโครงการขอทุน มีการให้ตัวแทน อสม.เก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพสวนยางพารา ประมาณ 200คน จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบจากการกรีดยาง พบว่า ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีการออกแบบกิจกรรมในโครงการฯ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาโดยการอบรมโยคะให้กับแกนนำ อสม. (ครูก.) ซึ่ง อสม.ที่เข้าร่วมโครงการก็เป็นผู้ประกอบอาชีพทำสวนยาง กรีดยาง อยู่แล้ว การออกกำลังกายแบบโยคะ เพื่อให้แกนนำมีการทำกับตนเองก่อน และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มอาชีพสมาชิกในชุมชนตนเอง มีสมาชิกที่ทำต่อเนื่อง จำนวน 20คน และมีการปรับใช้ท่าโยคะ มาใช้ในการยืดเหยียด คลายการปวดเมื่อยใน3ท่า คือท่างู ท่าแมวและท่าเต่า จากเดิมที่วิทยากรอบรมไว้ 10ท่าในการออกกำลังกาย 1.2.ปัจจัยเอื้อที่ทำให้โครงการฯมีความสำเร็จ เกิดจากอสม.ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ท้องถิ่นให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญในงานอาชีวอนามัย การป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงแรงงานนอกระบบที่เป็นกลุ่มกรีดยาง
1.3.ปัจจัยที่เป็นผลกระทบเชิงลบ ขาดการมีส่วนร่วมของ รพ.สต.ในพื้นที่ 1.4โอกาสการพัฒนา
1. การเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล และทีมอสอช.
2.สร้างทีมทำงาน ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ทีมเก็บข้อมูล ทีมประเมินผล ทีมวิทยากรสอนโยคะ และทีมประชาสัมพันธ์
3.ปฎิบัติการ ร่วมกับการประเมินผล สร้างคณะทำงานในระดับพื้นที่ที่พร้อมเป็นแกนนำในด้านการประเมินผล การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 3คน (คุณนิตยา คุณฉันทกาและคุณอติกานต์) และการเป็นวิทยากรสอนโยคะและการนวดแผนไทย จำนวน4คน (คุณสมศรี คุณสุนีย์ คุณอาภรณ์และคุณปวีณา) 4.การขยายคน จากเดิมกลุ่มอาชีพ 200คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ มีสมาชิกประมาณ20คนที่เข้ามาทำกิจกรรมโยคะอย่างต่อเนื่อง คาดหวังในการดำเนินโครงการในเฟสต่อไปในการขยายคนอีก 160คนที่ไม่ได้เข้าร่วม มีการเข้าร่วมเพิ่มขึ้น

ทำสื่อวีดีโอ30 ตุลาคม 2563
30
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำวีดีโอ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้สื่อวีดีโอ เรื่อง บ้านฉัน มี อสอช. แลกเปลี่ยนประสบการณ์

ลงพื้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดปัตตานี30 ตุลาคม 2563
30
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบเทศบาลตำบลหนองจิก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี “กลุ่มอาชีพประมง”
วันที่30ตุลาคม2563 เวลา13.00-16.00น. ณ ชุมชนกลูแป ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้พื้นที่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) 2)ร่วมติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุนการทำงานของทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..21..คน ประกอบด้วย 1.พี่เลี้ยง csd จากส่วนกลาง จำนวน 1คน
2.พี่เลี้ยง csd ระดับเขต12 จำนวน 2คน
3.พี่เลี้ยงระดับจังหวัดปัตตานี จำนวน 1คน 4.พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 1คน 5.พชอ.หนองจิก จำนวน 2คน
6.อสอช จำนวน 5คน 7.กลุ่มอาชีพคัดปลา จำนวน 9คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)
1.คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดปัตตานีนายมะรอกี เวาะเลง กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรมการถอดบทเรียน นางพรศิริ ขันติกุลานนท์ พี่เลี้ยง csd ได้เริ่มกระบวนการโดยการกล่าวทักทายกลุ่มอาชีพและทบทวนกิจกรรมต่างๆที่กลุ่มอาชีพได้ดำเนินการภายใต้โครงการแรงงานนอกระบบ โดยมีนางสาวซำซียะ ดือราแม คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดปัตตานี และเจ้าหน้าที่กองทุนสุขภาพตำบลเป็นผู้บันทึกโน้ตลงกระดานและเป็นผู้ร่วมกระบวนการในภาษามาลายู จากการสรุปกระบวนการถอดบทเรียนดังนี้
1.1.ที่มาของโครงการฯ เริ่มจากการเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพคัดปลา มีการส่งตัวแทนกลุ่มอาชีพ และอสม.อบรม อสอช.ในระดับเขตและกิจกรรมการอบรมอสอช. ในระดับพื้นที่ อสม.มีการตรวจคัดกรองจัดบริการด้านสุขภาพวัดความดันให้กับกลุ่มอาชีพก่อนการทำงาน กองสาธารณสุขฯ โดยนายมะรอกี เวาะเลง เขียนโครงการขอทุน มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาชีวอนามัยและความเสี่ยงของกลุ่มอาชีพคัดปลา โดยเชิญคุณหมอจากรพ.สต. ในพื้นที่เข้ามาอบรม ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มคัดปลาเป็นกลุ่มหญิง จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการทำงาน พบว่า - ปวดเมื่อยบ่าไหล และส่วนข้อขา เนื่องจากการนั่งยอง เกร็ง เป็นเวลานาน -การใช้สายตาในการเพ่ง มอง ในกระบวนการแกะปลาจากแหหรือ อวน
-การถูกเศษไม้หรือกระเบื้องตำเท้า เมื่อต้องล้างปลาอยู่ในน้ำ
- มือและเล็บ เปื่อย เนื่องจากโดนก้างปลาตำและขั้นตอนการขอดเกล็ดปลา -การลื่นล้มระหว่างการขนย้าย 1.2. มาตรการข้อตกลง ลดความเสี่ยง ดังนี้ -ปรับพฤติกรรมในการสวมถุงมือ ถุงเท้า รองเท้าบูท เพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงาน -ปรับท่าทางในการนั่งทำงานขั้นตอนการคัดปลา จากเดิมที่มีการนั่งยอง นั่งกับพื้น มาปรับใช้เก้าอี้รองนั่ง และใช้แคร่หรือโต๊ะในการวางวัตถุดิบ -การจัดบริการสุขภาพมีการตรวจวัดความดันโดยกลุ่มอสม. เป็นประจำทำให้ทราบถึงสภาวะของผู้ทำงานว่ามีความพร้อมในการทำงานหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการช่วยเตือนเพื่อนสมาชิกในการใส่เครื่องป้องกัน และการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ่อยครั้ง 1.3.ความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น -ผู้บริหารเห็นความสำคัญ -ทีมอสม.อสอช.มีความเข็มแข็ง -การมีส่วนร่วมของ พชอ. -กลุ่มอาชีพมีความเข้าใจในปัญหาและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จากการสื่อสารทั้งภาษาที่ใช้และการอ่านออกเขียนได้ของกลุ่มเป้าหมาย (ไทย-มลายู) ในเรื่องอาชีวอนามัยและมิติในเรื่องของความศรัทธาตามหลักศาสนา อิสลาม ในเรื่องความสะอาดของร่างกายก่อนการละหมาด

ลงพื้นที่ร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดสตูล29 ตุลาคม 2563
29
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล “กลุ่มผู้ประกอบอาชีพจักสานต้นคลุ้ม” วันที่ 29 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00-16.00 น. ณ.ศูนย์เรียนรู้กลุ่มจักสานต้นคลุ้ม
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้พื้นที่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) 2)ร่วมติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุนการทำงานของทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..13...คน ประกอบด้วย 1.กลุ่มจักสานต้นคลุ้ม จำนวน 7 คน 2. คณะทำงานพี่เลี้ยง csd จำนวน 1คน 3. คณะทำงานโครงการระดับเขต (core team) จำนวน 4คน 4. พี่เลี้ยง csd จากส่วนกลาง จำนวน 1คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) 1.คณะทำงานพี่เลี้ยงcsd จังหวัดสตูล ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย และนส.ยุวศรี อวะภาค ได้ร่วมซักถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินโครงการฯกลุ่มจักสานต้นคลุ้ม โดยมีกลุ่มอาชีพเป้าหมายเข้าร่วม 7คน จากการสรุปกระบวนการถอดบทเรียนดังนี้
1.1.บทบาท และหน้าที่ของสมาชิกกลุ่ม กลุ่มมีสมาชิกจำนวน 63คน มีการแบ่งทีมและฝ่ายต่างๆในการรับผิดชอบงานตามความถนัด โดยนางอรุณี (หนุ่ย) ประธานกลุ่ม มีหน้าที่ในการจัดการตลาด การออกบูทจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ ก็จะแบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบต้นคลุ้ม ฝ่ายเหลาเส้น ทำเส้น ฝ่ายประสานงาน ประชาสันพันธ์
1.2.หน่วยงานในพื้นที่ ภาคีความร่วมมือที่เข้ามาสนับสนุนกลุ่ม ประกอบด้วย 1)หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่45 (นพค.) สนับสนุนสร้างโรงเรือนให้กับกลุ่มในที่ดินของประธานกลุ่มที่ได้บริจาคเป็นที่ทำการกลุ่ม 2)ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 3) สสส., สช ส่งเสริมเรื่องสุขภาพ
1.3.กระบวนการ ที่มาของโครงการฯ
-เก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ/สมาชิกกลุ่ม จำนวน10คน ปลัดดนัย คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดคีย์ข้อมูลในระบบเว้ปไซต์แรงงานนอกระบบ จากการสังเคราะห์ข้อมูลในระบบ พบว่า มีอาการปวดเอว ปวดหลัง จึงค้นหาเหตุของการเจ็บป่วยพบว่า ในขั้นตอนสานชิ้นงาน มีการนั่งพื้นประมาณ 1-3ชั่วโมง จึงมีการจัดทำแผนลดเสี่ยง โดยการสลับเปลี่ยนท่าเพื่อให้หายปวดโดยการลุกไปทำงานอื่น เช่น ซักผ้า ปลูกผัก หรือนอนพัก -คัดเลือกตัวแทนกลุ่มเข้าอบรม อสอช.จำนวน3คนในระดับเขต ร่วมวิเคราะห์ผลกระทบจากงานในขั้นตอน 1) การตัดต้นคลุ้ม : สาเหตุจากต้นคลุ้มเป็นพืชที่อยู่ในป่า ต้องเข้าป่าไปตัด มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เช่น ลื่นหกล้ม เสี่ยงสัตว์มีพิษ เช่น งู และแมลงกัดต่อย ส่วนใหญ่จะเป็นแตน ที่อาศัยในพุ่มต้นคลุ้ม ต่อยตามบริเวณใบหน้า แขน 2) การบาดเจ็บจากคมมีด หรือเศษไม้ ทิ่มแทงบริเวณมือและนิ้ว และ3)ขั้นตอนในการจักสานประกอบชิ้นงาน ในช่วงที่มีออเดอร์จำนวนมาก ต้องทำในช่วงกลางคืน ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าสายตา ปวดตา และพร่ามัว และการปวดหลัง ปวดเอว มีการจัดทำแผนลดเสี่ยง ดังนี้ -ก่อนตัดต้นคลุ้ม มีการลนไฟ เขย่าต้น หรือใช้ไม้ทุบป่าหญ้า เพื่อไล่ตัวแตน หรือสัตว์มีพิษ ที่อาจหลบอยู่บริเวณต้นคลุ้ม -การป้องกันลื่นหกล้ม เนื่องจากเป็นที่ลาดชัน ควน สวมใส่รองเท้าบูท -ปรับพฤติกรรมใส่ถุงมือในการป้องกันมีดบาด หรือเศษไม้
-การพกพายาลม ยาหม่อง ยาใส่แผล ป้องกันกรณีเกิดอุบัติหตุ หรือเป็นลม หมดสติ 1.4.ความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
-ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ต่อยอดในการส่งเสริมความรู้ รูปแบบผลิตภัณฑ์ -โครงการออกกำลังกาย เต้นแอโรบิคเบาๆ โดยเสนอโครงการขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนาทอน และหาความรู้เพิ่มเติมในยูทูป จากเดิมที่วิทยากรอบรมให้ประมาณ10ท่าในการเต้นแอโรบิค สมาชิกกลุ่มนำมาปรับใช้ ประมาณ3ท่าในการออกกำลังกาย เพื่อยืดเหยียดร่างกาย คลายการปวดเอว ปวดหลัง -ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานฯเสนอโครงเหล็กตั้ง เพื่อจักสานฝาชี จำนวน4ตัว ๆละ1,000บาท ใช้งานมา3เดือน ปรับจากการนั่งพื้นมานั่งเก้าอี้ (ก่อนหน้านั้นเคยทำที่ขูดสายคลุ้ม แต่ไม่ได้ผล) -การใช้ยีนส์เก่ามารองที่ขา ในขั้นตอนการทำซี่ หรือการใช้ช้อนโต๊ะเจาะรู
-กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงมือ
1.5.ปัจจัยเอื้อ -การคุยร่วมกัน ผ่านไลน์ การพบปะทุกวัน จากการมานั่งทำงานจักสานที่ทำการกลุ่ม ประมาณ20คน(แม่หม้าย) จากสมาชิกทั้งหมด 63คน และสมาชิกต่างชุมชนที่ส่งวัตถุดิบให้กับกลุ่ม
-การพึ่งพาในด้านการเงิน
-ปรับพื้นที่บ้านของประธานกลุ่มในการเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ ศูนย์รวมให้สมาชิกกลุ่มได้มานั่งทำงานร่วมกัน -ใช้งบส่วนตัวให้กับสมาชิกในการเบิกใช้จ่ายก่อน ในกรณีฉุกเฉินและมีความจำป็น -มีโรงเรือน ที่ส่วนรวมในหมู่บ้าน “สิ่งที่อยากได้ เครื่องมือในการเหลาเส้นคลุ้ม แต่สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ คือใช้เครือข่ายหมู่บ้านใกล้เคียงทำเส้นส่งให้ แต่ยังเจอปัญหาขนาดของเส้น -ประธานกลุ่มเป็นนักประสานงาน ทำให้เกิดเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง 1.6.โอกาสการพัฒนา
-ปรับสภาพแวดล้อมที่ทำการกลุ่มในเรื่องแสงสว่าง ติดหลอดไฟเพิ่มขึ้นและปรับบริเวณรอบๆบ้านทั้งที่เป็นจุดวางชิ้นงาน จุดขายผลิตภัณฑ์  และนั่งทำชิ้นงาน
-กลุ่มจัดการตนเอง มีการปลูกผัก เลี้ยงไก่ไข่ ส่งเสริมด้านโภชนาการ ความปลอดภัย ความั่นคงทางอาหารให้กับสมาชิกกลุ่ม
ปัญหา :ขาดความชัดเจนในการเข้าร่วม อสอช.
:การประสานงานคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดกับกลุ่มไม่มีความต่อเนื่อง

ค่าตอบแทนประจำเดือนกรกฎาคม 256328 ตุลาคม 2563
28
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนกรกฎาคม 2563

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าตอบแทนประจำเดือนกรกฎาคม 2563

ลงพื้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดนราธิวาส26 ตุลาคม 2563
26
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ จังหวัดนราธิวาส มีผู้เข้าร่วมดังนี้
ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย

นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน

นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี

อสอช และกลุ่มอาชีพจำนวน 6 คน

พี่เลี้ยงจังหวัด 3 คน

การพัฒนาระบบข้อมูลและสู่การยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะด้านคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่

.ร่วมสนับสนุนและให้คำปรึกษา กระบวนถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ)ในพื้นที่ต้นแบบ  และหนุนเสริมศักยภาพทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีชุดความรู้ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ
2.ทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม csd มีความรู้และทักษะในการถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ)
3.แกนนำชุมชนสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงJSAในกระบวนการทำงานในอาชีพของตนเองได้ สามารถจัดการวางแผนเพื่อลดเสี่ยงจากการทำงานในระดับตนเองและในระดับกลุ่ม

ประชุมคณะทำงานระดับเขต(ทีมบริหารโครงการ)25 ตุลาคม 2563
25
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมประชุมคณะทำงานระดับเขต12 (core team) และทีมประเมินผลภายใน วันที่ 25ตุลาคม 2563 เวลา 13.00-16.00 น.ณ.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามและวางแผนการดำเนินงานโครงการฯ และการสนับสนุนการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..6...คน ประกอบด้วย
-นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน
-ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย -นายอะหมัด หลีขาหรี -นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี -นส.คณิชญา แซนโทส -นส.ยุวศรี อวะภาค

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) 1.รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯในงวดที่3 โดยต้องมีการนำส่งผลงานบางส่วนเพื่อเบิกงบประมาณ60% ซึ่งผลงานประกอบด้วย
1.1.รายชื่อสื่อการรณรงค์ (Mass media) จากมติที่ประชุมได้เสนอสื่อในรูปแบบvdoความยาวไม่เกิน5นาที ในชื่อเรื่อง เรื่องเล่าประสบการณ์บ้านฉันมี อสอช.โดยนำเสนอเรื่องราวจากพื้นที่ตำบลแค
2.บันทึกชี้แจงจำนวนพื้นที่/กลุ่มเป้าหหมายดำเนินการจากตัวชี้วัดโครงการ140พื้นที่ มีผลผลิตผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้จำนวน โดยให้ทาง ภก.สมชาย ละอองพันธ์ มีการสรุปรายงานการชี้แจง
3.ร่างกรณีศึกษาพื้นที่ต้นแบบ อย่างน้อยจำนวน3พื้นที่ โดยจะมีการนำส่งโครงร่างงานถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบจากใบงาน-โครงร่างงานเขียน ปัจจุบันมีพื้นที่ตำบลแคที่มีการส่งงานให้กับเขต และนส.ยุวศรี อวะภาค ส่วนพื้นที่อื่นๆอีก6จังหวัดจะมีการประสานและเร่งรัดในการนำส่งใบงาน
4.เกณฑ์พิจารณาพื้นที่ต้นแบบ ทางโครงการฯเขต12 ได้มีการจัดทำเกณฑ์คุณภาพของพื้นที่ต้นแบบ ใน3ระดับ A B C โดยให้คณะทำงานพี่เลี้ยงcsd เป็นผู้ประเมิน 5.ผลการประเมินศักยภาพรายบุคคล ของคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด และอสอช. ซึ่งจะประสานข้อมูลในส่วนของทีมประเมินผลภายในจากข้อมูลในกูเกิ้ลฟอร์ม 6.การลงพื้นที่ติดตาม และการร่วมในเวทีถอดบทเรียนเป็นรายจังหวัด
6.1.จังหวัดพังลุง ( 19 สค.63 เขตไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม) 6.2.จังหวัดสงขลา (14 ตค63 เขตเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่)
6.3.จังหวัดสตูล (29ตค.63 เวลา13.00-16.00น.) 6.4.จังหวัดตรัง / จังหวัดปัตตานี (30ตค.63 เวลา13.00-16.00น.) 6.5.จังหวัดยะลา นราธิวาส (ยังไม่มีการแจ้งข้อมูล )

ลงพี้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดยะลา20 ตุลาคม 2563
20
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

๑.ส้ารวจข้อมูลกลุ่มแรงงานนอกระบบของกลุ่มรับซื้อน้้ายาง “ศิลานารี”ตามแบบเก็บ ข้อมูลความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัย

๒.อบรมให้ความรู้เครือข่ายอาสาสมัครอาชีวอนามัยชุมชน(อสอช.) ๒๐คน จ้านวน๑ครั้ง

๓.อบรมให้ความรู้สมาชิกกลุ่มรับซื้อน้้ายาง “ศิลานารี”และบุคคลทั่วไปในพื้นที่ต้าบลบาละ ๕๐คน จ้านวน๑ครั้ง

๔.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มรับซื้อน้้ายาง “ศิลานารี”และบุคคลทั่วไปในพื้นที่ต้าบลบาละ ๕๐คน จ้านวน๒ครั้ง

๕.จัดบริการและประเมินตรวจคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพของกลุ่มรับซื้อน้้ายาง “ศิลานารี” และบุคคลทั่วไปในพื้นที่ต้าบลบาละ ๕๐คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

..การถอดบทเรียนแนวทางพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการส่งเสริมความรู้และการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรค จากการประกอบอาชีพของกลุ่มรับซื้อน้้ายาง“ศิลานารี” ต้าบลบาละ อ้าเภอกาบัง จังหวัดยะลา ใช้หลักการ ประเมินตามแนวคิด CIPP Model (CIPP) เป็นพื้นฐานการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ โดย ก้าหนดเป็นกรอบการถอดบทเรียน ประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ ซึ่งจะน้าเสนอผลการถอดบทเรียนดังนี้ ๑. บริบท (Context) ต้าบลบาละ ตั้งอยู่ในเขตอ้าเภอกาบัง จังหวัดยะลา สภาพสังคมมีลักษณะเป็นชุมชนชนบท มีเนื้อที่ ทั้งหมดจ้านวน ๒๑๐,๑๔๐ ไร่ หรือ๓๕๖ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา ด้านทิศเหนือติดกับ ต้าบลกาบัง อ้าเภอกาบัง จังหวัดยะลา ด้านทิศใต้ติดกับรัฐเคด้า ประเทศมาเลเซีย ด้านทิศตะวันออกติดกับ ต้าบลปะแต อ้าเภอยะหา จังหวัดยะลา ด้านทิศตะวันตกติดกับต้าบลบาโหย อ้าเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ด้านภูมิอากาศจะมี ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อน และ ฤดูฝน มีจ้านวนประชากร ๗,๕๕๒ คน ชาย ๓,๙๙๕ คน หญิง ๓,๕๙๐ คน มีจ้านวนครัวเรือน ๒,๓๘๗ ครัวเรือน จ้านวน๑๑ หมู่บ้าน ประชากรมีการนับถือศาสนา พุทธคิดเป็นร้อยละ ๔๐ นับถือศาสนาอิสลามคิดเป็นร้อยละ ๖๐ (องค์การบริหารส่วนต้าบลบาละ.ออนไลน์ ๒๕๕๗: https://www.bala.go.th/index.php.23พศจิกายน๒๕๖๓) กลุ่ม“ศิลานารี”เป็นการรวมตัวกันของแกนน้าชุมชนบ้านคชศิลา หมู่๔ต้าบลบาละ อ้าเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในการท้ากิจกรรมกลุ่มรับซื้อน้้ายางสด ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๘ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.) จ้านวน๑.๒ล้านบาท และการยางแห่งประเทศไทย สาขายะหา จังหวัดยะลา เข้ามา ส่งเสริมความรู้ และการเข้าถึงสิทธิ์ โดยกลุ่มรับซื้อน้้ายาง“ศิลานารี” มีเป้าหมายในการพัฒนาอาชีพ การ สร้างงาน สร้างรายได้แก้ไขปัญหาด้านราคาของผลผลิต การเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง มีสมาชิกจ้านวน ๔๐ราย สมาชิกมีการลงหุ้นๆละ๑๐๐ บาท ไม่เกิน๓,๐๐๐บาท มีการปันผลก้าไรตามไตรมาตรปีละ๒ครั้ง คืน ก้าไรสู่สมาชิก ๑๐% กลุ่มมีการรับซื้อน้้ายางสดจากสมาชิกและบุคคลทั่วไปในพื้นที่ต้าบลบาละ โดยเน้น ราคาที่เป็นธรรมและการด้าเนินกิจกรรมอื่นๆที่เป็นประโยชน์ให้กับคนในชุมชน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้าน ส่งเสริมอาชีพ ด้านยาเสพติด ด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ตลอดจนด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ต้าบลบาละ ร้อยละ๙๐ ประกอบอาชีพสวนยางพารา เนื่องจากพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา อากาศเย็นสบาย มีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา และอาชีพการท้าสวนยางพาราก็มีการถ่ายทอดมา จากบรรพบุรุษ ผู้ประกอบอาชีพท้าสวนยางพารามีความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ การถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย ในขณะท้างาน และการท้างานด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมในการกรีดยางพารา จากการประเมินความเสี่ยงต่อ ๑๐ สุขภาพการท้างานของผู้ประกอบอาชีพท้าสวนยางพาราพบว่า ๑) ความเสี่ยงด้านชีวภาพ โดยพบความเสี่ยง จากตะขาบและแมงป่องในระดับปานกลางร้อยละ ๑๔.๙ ความเสี่ยงจากการถูกยุงกัดร้อยละ ๒๓.๗ นอกจากนี้ยังพบว่า ๒) ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ โดยพบว่ามีการลุกนั่งสลับกันเป็นเวลานานในระดับสูง ร้อยละ ๗๑.๑ ก้มเงยหลังและศีรษะ ในระดับสูงร้อยละ ๕๗.๙ (สุดาพร วงษ์พล และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง, ๒๕๕๕) ผู้ประกอบอาชีพท้าสวนยางพาราต้องตื่นกรีดยางพาราในเวลาเที่ยงคืน บางรายเริ่มกรีดตั้งแต่ ๒๓.๐๐ น. โดยเฉพาะช่วงที่อากาศหนาวที่สุด เป็นช่วงที่น้้ายางออกมากที่สุด เกษตรกรต้องอดทน อดหลับ อดนอน นอนไม่เป็นเวลา ท้าให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอและยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของเกษตรกรได้อีกด้วย (แววสุดา หนูอุไร, ๒๕๔๒; สุนันทา พรหมมัญ, ๒๕๓๙) ๓) ความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้ม ตกจากที่ สูง(เนินเขา) ในช่วงที่ต้องน้าน้้ายางลงมาด้านล่าง (พื้นที่ราบ) เนื่องจากพื้นที่สวนยางพารามีลักษณะเป็นเนิน เขา (ควน) ผู้ประกอบอาชีพสวนยางบางรายต้องแบกแกลลอนน้้ายางหรือบางรายใช้เชือกผูกและโรย แกลลอนน้้ายางลงมา แทนการแบกห้าม โครงการส่งเสริมความรู้ และการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพของกลุ่มรับซื้อ น้้ายาง“ศิลานารี” บ้านคชศิลา หมู่๔ ต้าบลบาละ อ้าเภอกาบัง จังหวัดยะลา ซึ่งได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพต้าบลบาละ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม๒๕๖๒ งบประมาณ ๒๕,๔๕๐ บาท ระยะเวลาในการด้าเนินการระหว่างวันที่ ๑มกราคม๒๕๖๓ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพสวนยางพารา ในกลุ่มสมาชิก “ศิลานารี” การให้ความรู้ด้านอาชีวอนามัย และประเด็นแรงงานนอกระบบ คือใคร หรือคนกลุ่มไหน และ การเข้าถึงสิทธิ์ ให้กับสมาชิกกลุ่มและบุคคลทั่วไปได้รับรู้ข้อมูล ตลอดจนสมาชิกกลุ่มสามารถวิเคราะห์ความ เสี่ยงจากการท้างาน (กรีดยาง) เพื่อน้าไปสู่การออกแบบกิจกรรมลดเสี่ยงในระดับตนเองและของกลุ่ม“ศิลา นารี” ๒.กลไกและทรัพยากรสนับสนุน (Input) ๒.๑ กลไกการท้างาน ๒.๑.๑ กลไกคณะท้างานระดับเขต กลไกคณะท้างานระดับเขต คือ ทีมหรือคณะท้างานบริหารจัดการโครงการพัฒนากลไกและนโยบาย การส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นส้าหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ เขต ๑๒สงขลา (core team) ผู้ประสานงานกองทุนสุขภาพต้าบล สปสช.เขต ๑๒ สงขลา และนักวิชาการ สถาบันการศึกษา ซึ่งท้าหน้าที่ ๑) วางแผนและออกแบบกลยุทธในการท้างาน ก้ากับติดตาม และการสนับสนุนวิชาการ แผน ปฎิบัติการ/ Roadmap ๒)พัฒนาศักยภาพคณะท้างานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง) เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการ จัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุก ๓) สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยง และความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อ สนับสนุนกระบวนการท้างานและการติดตามประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ ๓) อ้านวยกระบวนการติดตาม ประเมินผลภายในและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ-นวตกรรมและข้อเสนอนโยบาย
๑๑ ๔) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการสนับสนุนด้านนโยบายและวิชาการให้กับ คณะท้างานระดับจังหวัด/พื้นที่ ๕) วิเคราะห์ประมวลผลการด้าเนินงานภาพรวมตาม Roadmap ๒.๑.๒ กลไกคณะท้างานระดับจังหวัด กลไกคณะท้างานระดับจังหวัด คือ ตัวแทนพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดยะลา จ้านวน ๑๖คน ประกอบด้วย บุคคลากรสาธารณสุข (รพ.สต.) และนักวิชาการสาธารณสุขจังหวัดยะลา(สสจ.)จ้านวน ๖คน ตัวแทนอปท. ในพื้นที่ จ้านวน ๕ คน และภาคประชาชน จ้านวน๔คน มีการเพิ่มศักยภาพในการ coaching เพื่อสนับสนุน การจัดท้าแผน (แรงงานนอกระบบ) การพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพตามหลักออตตาวาซาเตอร์และ การใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของสสส. สปสช. และสธ.ภายใต้ระเบียบของกองทุน ฯ แต่เนื่องจากโครงสร้างการท้างานในรูปแบบแนวดิ่ง ขาดการ ประสานงานภายในระดับจังหวัดซึ่งเป็นปัจจัยเชิงลบท้าให้กลไกคณะท้างานทั้งหมดไม่สามารถท้างานได้อย่าง เต็มที่ มีเพียงคณะท้างานบางส่วนที่สามารถท้างานได้ ๒.๑.๓.กลไกคณะท้างานระดับพื้นที่ คณะท้างานระดับพื้นที่ คือ คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ ผลักดันให้เกิด การจัดท้าแผน(แรงงานนอกระบบ) และอนุมัติโครงการส่งเสริมความรู้ และการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรค จากการประกอบอาชีพของกลุ่มรับซื้อน้้ายาง“ศิลานารี” บ้านคชศิลา หมู่๔ ต้าบลบาละ อ้าเภอกาบัง จังหวัด ยะลา โดยมีนางวิลัยพร จ้ารูญศรีเป็นผู้เสนอโครงการฯขอรับทุนเพื่อด้าเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคจากการประกอบอาชีพกลุ่มรับซื้อน้้ายาง“ศิลานารี” จ้านวน๔๐คนและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ต้าบลบา ละ ๒.๑.๔.กลไกอาสาสมัครอาชีวอนามัย อาสาสมัครอาชีวอนามัย ประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจ้าหมู่บ้าน (อสม.) ตัวแทนแกนน้า กลุ่มอาชีพ/กลุ่มรับซื้อน้้ายาง“ศิลานารี” จ้านวน5คน เป็นตัวแทนเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพด้านอาชีวอนามัย โดยคณะท้างานระดับเขตร่วมกับคณะท้างานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในระดับ กลุ่มจังหวัดยะลา มีการด้าเนินการระหว่างวันที่๑๒กรกฎาคม๒๕๖๓ ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ จังหวัดยะลา โดยอาสาสมัครอาชีวอนามัยที่เป็นแกนน้า สามารถขับเคลื่อนงานและสร้างทีมในระดับพื้นที่ กลุ่ม“ศิลานารี” มีการบูรณาการการท้างานร่วมท้องถิ่น (อปท) อสอช.สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการ ท้างาน (JSA: Job Safety Analysis) การวางแผนลดเสี่ยงและปฎิบัติการจัดการความเสี่ยงในขั้นตอนการ ท้างานและการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาขีพ สามารถเป็น ต้นแบบขยายผลในเชิงพื้นที่ และเชิงนโยบายการท้างานด้านแรงงานนอกระบบ ๒.๒ กองทุนหลักประกันสุขภาพต้าบลบาละ อ้าเภอกาบัง จังหวัดยะลา กองทุนหลักประกันสุขภาพต้าบลบาละ อ้าเภอกาบัง จังหวัดยะลา ซึ่งบริหารจัดการโดยคณะ กรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนต้าบลบาละ ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ สมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนต้าบลบาละ ผู้อ้านวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต้าบล อาสาสมัครสาธารณสุข ๑๒ ประจ้าหมู่บ้าน ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพหรือ ปลัดองค์การ บริหารส่วนต้าบลบาละ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนต้าบลบาละ หรือผู้ ที่ได้รับมอบหมาย คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพต้าบลบาละ มีอ้านาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติ แผนงาน หรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯในด้านการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และรักษา โดยคณะกรรมการบริหารมีมติพิจารณาอนุมัติแผนงานแรงงานนอกระบบ และได้พิจารณาอนุมัติ โครงการส่งเสริมความรู้ และการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพของกลุ่มรับซื้อน้้ายาง “ศิลานารี”งบประมาณรวม ๒๕,๔๕๐บาท ๒.๓ แผนการด้าเนินการและงบประมาณ โครงการส่งเสริมความรู้ และการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพของกลุ่มรับซื้อ น้้ายาง“ศิลานารี”ได้รับการอนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพต้าบลบาละ เมื่อวันที่ วันที่ ๒๔ ธันวาคม๒๕๖๒ เป็นจ้านวนเงินรวม ๒๕,๔๕๐บาท มีระยะเวลาในการด้าเนินการระหว่างวันที่ ๑ มกราคม๒๕๖๓ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ระยะเวลารวม ๙ เดือน โ

ลงพื้นร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดสงขลา14 ตุลาคม 2563
14
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมประชุมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ ตำบลแค “กลุ่มผู้ประกอบอาชีพสวนยางพารา” วันที่ 14ตุลาคม2563 เวลา 13.00-16.00 น. ณ.วิทยาลัยทุ่งโพ ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้พื้นที่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) 2)ร่วมติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุนการทำงานของทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..30...คน ประกอบด้วย 1.ทีมอสอช. จำนวน8คน 2.กลุ่มอาชีพสวนยางพารา จำนวน17คน 3.บุคลากร รพ.สต. ตำบลแค จำนวน 1คน 4.คณะทำงานโครงการระดับเขต (core team) จำนวน 4คน 5.พี่เลี้ยง csd จากส่วนกลาง จำนวน 1คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) 1.การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา“กลุ่มอาชีพการทำสวนยางพารา” โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมจำนวน30คน ในกระบวนการ ขั้นตอนการถอดบทเรียน ดำเนินรายการโดย นายอะหมัด หลีขาหรี ซึ่งมีบทบาทในการเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลแค และมีบทบาทเป็นคณะทำงานพี่เลี้ยงนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม csd และมีบทบาทเป็นทีมติดตามประเมินผลภายใน เขต12สงขลา การถอดบทเรียนใช้หลักการประเมินตามแนวคิด CIPP Model (CIPP) มีการให้กลุ่มเป้าหมายได้ถ่ายทอดเรื่องราว ร่วมแลกเปลี่ยนจากการดำเนินงานโครงการฯในพื้นที่ ดังนี้ 1.1.การดำเนินโครงการฯ มีความเป็นมาอย่างไร :
-เริ่มจากการเก็บข้อมูลผู้ประกอบอาชีพ สวนยางพาราจำนวน27คน มีการส่งตัวแทนกลุ่มอาชีพจำนวน5คนเข้าร่วมอบรม อสอช.ในระดับเขต และวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการทำงาน -อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี เขียนขอทุนกองทุน โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ตำบลแค มีกิจกรรมที่ออกแบบในระดับพื้นที่ เช่น 1)จัดตั้งทีมอสอช.ในพื้นที่ตำบลและอบรม อสอช. 2) สำรวจข้อมูลความเสี่ยงของกลุ่มอาชีพสวนยางพารา 3)การจัดทำข้อตกลงและมาตรการลดเสี่ยงในระดับกลุ่มอาชีพ 4) ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5) ถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมกลุ่มอาชีพเสี่ยง
- การทำอาชีพสวนยางพาราเป็นวิถีชีวิต ชุมชนทำอยู่เดิม เมื่อมีการทำโครงการฯทำให้มีความมั่นใจเพราะมีการนำความรู้ทางวิชาการมาใช้ประกอบ รู้วิธีการวิเคราะห์ และวิธีการจัดการจะทำอย่างไร
1.2.การปฎิบัติการ กระบวนการในพื้นที่
-จัดทำมาตการข้อตกลงในระดับกลุ่มอาชีพ สมาชิกกลุ่มร่วมกำหนดแผนลดเสี่ยงจากกทำงาน คือ
1) การตัดหญ้าในสวนยาง เดือนละ1ครั้ง ให้โล่งเตียน 2)สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมรองเท้าบูท 3)การหิ้วน้ำยาง ลดการหิ้วหนักโดยใช้ถังใบเล็กลง มีการผ่อนน้ำยาง วางถังในระหว่างแถว ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวขะมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน และวาระการประชุมของกลุ่มออมทรัพย์ เป็นต้น 1.3.การยกระดับ การขยายผล : จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลแค ที่ผ่านการอบรม จำนวน 20 คน ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวิเคราะห์ ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพสวนยางพารา และมีความพร้อมในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพแก่กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มอาชีพอื่นในพื้นที่ตำบลแค

ค่าตอบแทนประจำเดือนกันยายน 256329 กันยายน 2563
29
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนกันยายน 2563

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าตอบแทนประจำเดือนกันยายน 2563

จัดเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในระดับเขต12 สงขลา24 กันยายน 2563
24
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงcsd ในการสังเคราะห์ชุดความรู้ ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการในระดับพื้นที่ 2.นำเสนอบทเรียน ประสบการณ์การถอดบทเรียนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง กลุ่มขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดยนายสมนึก นุ่นด้วง 3.ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย บรรยายการสังเคราะห์ความรู้ การถอดบทเรียนโดยการใช้รูปแบบ CIIPP Model และแบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงcsd ฝึกปฎิบัติการประเมินผลโครงการฯ 4.นางสาวยุวศรี อวะภาค ใช้กระบวนการเป็น fa ในการทำเวทีถอดบทเรียน โดยใช้โครงการเขต ยกเป็นกรณีตัวอย่าง ให้กับทีมcsdในการวิเคราะห์ 1.ร่วมสนับสนุนและให้คำปรึกษา กระบวนถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ)ในพื้นที่ต้นแบบ7พื้นที่ 7จังหวัดของสปสช.เขต12สงขลา และหนุนเสริมศักยภาพทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีแผนปฎิบัติงานทีมพี่เลี้ยงcsd ในระดับพื้นที่ เพื่อดำเนินการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบให้เสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคม 2563 พร้อมนำส่งผลงานเขียน 1เรื่อง ในด้านงบประมาณสนับสนุน การจัดทำเวที จังหวัดละ 3500 บาท ค่าตอบแทนงานเขียน 5000บาท

ส่งรายงานการเงินงวดที่ 25 กันยายน 2563
5
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ส่งรายงานการเงินงวดที่ 2

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ส่งรายงานการเงินงวดที่ 2

ประชุมคณะทำงานระดับเขต (ทีมบริหารโครงการฯ)4 กันยายน 2563
4
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการระดับเขต (core team) วันที่ 4กันยายน2563 เวลา 13.00-16.00น.ห้องประชุม สปสช.เขต12สงขลา
วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามและวางแผนการดำเนินงานโครงการ
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..5...คน ประกอบด้วย
-นายสมชาย ละอองพันธุ์ -นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน -ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย -นายอะหมัด หลีขาหรี -นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี -นส.คณิชญา แซนโทส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) 1.ประเด็นการคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการถอดบทเรียน จากเดิม 11พื้นที่ ได้ปรับลดลงมาคงเหลืออยู่ 7 จังหวัด 7พื้นที่ต้นแบบ ประกอบด้วย
1.1.จังหวัดนราธิวาส จากเดิมได้เลือกพื้นที่ตำบลแว้ง แต่กิจกรรมภายใต้โครงการฯที่ใช้งบกองทุนตำบล กิจกรรมมีเพียง การเจาะเลือดให้กับเกษตรกรที่เป็นกลุ่มทำนา เพื่อหาสารเคมีตกค้างในเลือด ซึ่งยังไม่ครอบคลุมที่จะนำไปสู่การถอดบทเรียนความสำเร็จได้ ทางคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดจึงได้มีการเสนอ
คัดเลือกพื้นที่ตำบลโคกเคียนในการถอดบทเรียน กลุ่มอาชีพจักสานกระจูด
1.2.จังหวัดยะลา ได้คัดเลือกพื้นที่ตำบลบาละ กลุ่มอาชีพสวนยางพารา 1.3.จังหวัดปัตตานี ได้คัดเลือกพื้นที่ เทศบาลตำบลหนองจิก กลุ่มอาชีพประมง 1.4.จังหวัดสงขลา ได้คัดเลือกพื้นที่ ตำบลแค กลุ่มอาชีพสวนยางพารา 1.5.จังหวัดพัทลุง ได้คัดเลือกพื้นที่ เทศบาลเมืองพัทลุง กลุ่มขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง 1.6.จังหวัดตรัง ได้คัดเลือกพื้นที่ตำบลห้วยยอด กลุ่มอาชีพสวนยางพารา 1.7.จังหวัดสตูล ได้คัดเลือกพื้นที่ตำบลนาทอน กลุ่มจักสานจากต้นคลุ้ม 2.ประเด็นกลไก ทีมในการถอดบทเรียน ส่วนกลางได้มีการสนับสนุนทีมลงมาช่วยสังเคราะห์เนื้อหาในการถอดบทเรียน และการให้คำชี้แนะ หนุนเสริมทีมปฎิบัติการในพื้นที่ (csd) ในระดับเขต คือ นางสาวยุวศรี อวะภาค (อาจารย์ขวัญ) ในจำนวน 2พื้นที่ จากมติที่ประชุมได้เลือกพื้นที่ ทม.พัทลุง จังหวัดพัทลุงและพื้นที่ตำบลแค จังหวัดสงขลา 3.ประเด็นความก้าวหน้าในการถอดบทเรียนในระดับจังหวัด ไม่มีความคืบหน้า พี่เลี้ยงมีการนำส่งผลงานให้เพียง 2 จังหวัด คือ จังหวัดยะลา และสงขลา ส่วนพื้นอีก5จังหวัดไม่มีการนำส่งผลงานในการถอดบทเรียน ในการทำงานของ csd พบว่ายังมีข้อจำกัดความรู้ความเข้าใจ และความมั่นใจในการถอดบทเรียนของพี่เลี้ยง(csd) จากการเข้าร่วมประชุมที่ส่วนกลางได้มีการจัดอบรมไปแล้วไม่น้อยกว่า3ครั้ง ยังไม่สามารถทำให้พี่เลี้ยงได้เรียนรู้เครื่องมือ การทำงานในระดับพื้นที่ได้ จากมติที่ประชุมจึงให้ทางโครงการระดับเขตได้ดำเนินการจัดเวทีถอดบทเรียน สอนการใช้เครื่องมือ เพื่อให้พี่เลี้ยงได้เรียนรู้ สามารถสังเคราะห์ความสำเร็จจากการดำเนินโครงการฯ โดยทาง ผศ.ดร.แสงอรุณ จะมีการออกแบบเครื่องมือในการถอดบทเรียน ซึ่งจะมีการนัดหมายกับทางอาจารย์ขวัญ และอาจารย์อะหมัด ในการทำความเข้าใจเครื่องมือร่วมกัน ในวันที่23สิงหาคม2563 ณ อาคารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4.ประเด็นการจัดทำเวทีถอดบทเรียน ได้มีการกำหนดวันที่24เดือนกันยายน 2563 ณ.รร.บูมฟอร์เรท อ.หาดใหญ่ งบประมาณในการจัดจะใช้งบจากโครงการฯเขตส่วนหนึ่ง และงบประมาณจากโครงการฯ(csd) ในระดับพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้รับผิดชอบโครงการ ,พี่เลี้ยงcsd ,คณะทำงานโครงการระดับเขต โดยเวทีดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทีมพี่เลี้ยง(csd) และกลุ่มเป้าหมายคก. สามารถสังเคราะห์กระบวนการทำงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ และเพื่อเสริมพลังเครือข่ายในการทำงานประเด็นแรงงานนอกระบบในพื้นที่

ค่าตอบแทนประจำเดือนสิงหาคม 256329 สิงหาคม 2563
29
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนสิงหาคม 2563

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าตอบแทนประจำเดือนสิงหาคม 2563

จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดตรัง11 สิงหาคม 2563
11
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงงานนอกระบบจังหวัดตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงงานนอกระบบจังหวัดตรัง

ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดตรัง(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง)10 สิงหาคม 2563
10
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงงานนอกระบบจังหวัดพัทลุง31 กรกฎาคม 2563
31
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

6.1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดพัทลุง วันที่ 30 กค.63 ณ ห้องประชุมสวนลุงนวย อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง 6.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดพัทลุง วันที่ 31 กค. 63 ณ ห้องประชุมสถาบันพัฒนาองค์กรเอกชนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 4 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 12 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 8 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม 5ตำบลนำร่อง ดังนี้ 1.เทศบาลเมืองพัทลุง ยังไม่คีย์ข้อมูล
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ฝุ่น ควัน /ด้านอุบัติเหตุ เฉี่ยว ชน
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เป็นหวัด ภูมิแพ้ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การสวมหมวกนิรภัย  2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น เคารพกฎจราจร

2.เทศบาลตำบลโคกชงาย กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 192 ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการกรีดยาง ยกของหนัก ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้ถังแกลลอนน้ำยางเพิ่มมากขึ้นในระหว่างแถว  2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ผักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหรือหิ้วหนักเกินกำลัง

3.เทศบาลตำบลโคกม่วง กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการกรีดยาง ยกของหนัก ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3 วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน ใช้ไม้ใส่ในด้ามมีดกรีดยางในกรณ๊ที่หน้ายางสูง ลดการเอื้อมสุดมือขณะกรีดยาง 2)การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ตัดไม้ ถางสวนให้โล่งเตียน 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ผักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หิ้วหนักเกินกำลัง และออกกำลังกาย

4.ตำบลโตนดด้วน กลุ่มไม้ผล คีย์ข้อมูลได้บางส่วน -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ การเก็บเกี่ยวผลผลิต /ด้านอุบัติเหตุ ตกจากที่สูง มีดบาด -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง ปวดเอว
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน ใช้บันไดในการตัดแต่งกิ่ง แทนการปีน 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ใช้ความระมัดระวังในการทำงาน

5.เทศบาลตำบลนาท่อม กลุ่มร้านเสริมสวย มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล 6ขุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ยืนนาน /ด้านเคมี สารเคมีจาการย้อม ยืด และน้ำยาย้อมทาเล็บ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง ปวดเอว เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน หยุดพักและจัดคิวของผู้ใช้บริการ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ตกแต่งร้านให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก สวมใส่ถุงมือ ผ้าปิดจมูก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ความตระหนักในการป้องกันตนเอง

ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดพัทลุง(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง)30 กรกฎาคม 2563
30
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

6.1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดพัทลุง วันที่ 30 กค.63 ณ ห้องประชุมสวนลุงนวย อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง 6.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดพัทลุง วันที่ 31 กค. 63 ณ ห้องประชุมสถาบันพัฒนาองค์กรเอกชนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 4 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 12 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 8 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม 5ตำบลนำร่อง ดังนี้ 1.เทศบาลเมืองพัทลุง ยังไม่คีย์ข้อมูล
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ฝุ่น ควัน /ด้านอุบัติเหตุ เฉี่ยว ชน
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เป็นหวัด ภูมิแพ้ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การสวมหมวกนิรภัย  2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น เคารพกฎจราจร

2.เทศบาลตำบลโคกชงาย กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 192 ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการกรีดยาง ยกของหนัก ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้ถังแกลลอนน้ำยางเพิ่มมากขึ้นในระหว่างแถว  2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ผักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหรือหิ้วหนักเกินกำลัง

3.เทศบาลตำบลโคกม่วง กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการกรีดยาง ยกของหนัก ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3 วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน ใช้ไม้ใส่ในด้ามมีดกรีดยางในกรณ๊ที่หน้ายางสูง ลดการเอื้อมสุดมือขณะกรีดยาง 2)การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ตัดไม้ ถางสวนให้โล่งเตียน 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ผักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หิ้วหนักเกินกำลัง และออกกำลังกาย

4.ตำบลโตนดด้วน กลุ่มไม้ผล คีย์ข้อมูลได้บางส่วน -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ การเก็บเกี่ยวผลผลิต /ด้านอุบัติเหตุ ตกจากที่สูง มีดบาด -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง ปวดเอว
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน ใช้บันไดในการตัดแต่งกิ่ง แทนการปีน 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ใช้ความระมัดระวังในการทำงาน

5.เทศบาลตำบลนาท่อม กลุ่มร้านเสริมสวย มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล 6ขุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ยืนนาน /ด้านเคมี สารเคมีจาการย้อม ยืด และน้ำยาย้อมทาเล็บ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง ปวดเอว เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน หยุดพักและจัดคิวของผู้ใช้บริการ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ตกแต่งร้านให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก สวมใส่ถุงมือ ผ้าปิดจมูก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ความตระหนักในการป้องกันตนเอง

จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดนราธิวาส22 กรกฎาคม 2563
22
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดนราธิวาส วันที่ 21กค.63 ณ ห้องประชุมสวนอาหารบ้านสองฤดู อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส 5.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดนราธิวาส วันที่ 22 กค. 63 ณ ห้องประชุมสวนอาหารริมน้ำ อ.เมือง จ.นราธิวาส วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 31 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 5 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 7 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 18 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม 4ตำบลนำร่อง ดังนี้ 1.ตำบลผดุงมาตร กลุ่มสวนยางพารา ยังไม่มีการคีย์ข้อมูล -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการกรีดยาง ยกของหนัก /ด้านอุบัติเหตุ สัตว์มีพิษ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเอว บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ในขั้นตอนยกน้ำยางจัดท่าให้เหมาะสม 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหาร บ่า ไหล่ เพื่อลดการตึงของกล้ามเนื้อ

2.ตำบลลุโบะบือซา กลุ่มทำกล้วยฉาบ มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น นั่ง และยืนเป็นเวลานาน /ด้านอุบัติเหตุ เช่น มีดบาด น้ำมันกระเด็นใส่ ความร้อน -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเอว บ่า ไหล่ เข่า
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน จัดหาเครื่องมือ เคร่องจักรแทนแรงงานคนในการหั่นปลอก และสไสด์กล้วย 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้แทนการนั่งพื้น ในขั้นตอนทอดจัดหาที่กันกะทะ เพื่อไม่ให้น้ำมันกระเด็นมาถูกร่างกาย 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน อย่างน้อย5-10นาที การระมัดระวังในการทำงานทุกครั้ง

3.ตำบลแว้ง กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการทำงาน มีการก้มๆเงยๆ ตลอดเวลา แสงแดด -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเอว บ่า ไหล่ เข่า ปวดศรีษะ ตามัว -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน จัดหาเครื่องมือ เครื่องจักรในการไถนา หลีกเสี่ยงในช่วงที่มีแดดแรง การลงแขกในการดำนา หรือ การเก็บเกี่ยว 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน การหยุดพัก

4.ตำบลโคกเคียน กลุ่มสานกระจูด มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ นั่งนาน นั่งกับพื้น นั่งตัวงอตลอดเวลา/ด้านเคมี การย้อมสีกระจูด -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเอว บ่า ไหล่ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้แทนการนั่งพื้น 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน และหยุดพักเป็นระยะ

ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดนราธิวาส(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง)21 กรกฎาคม 2563
21
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดนราธิวาส วันที่ 21กค.63 ณ ห้องประชุมสวนอาหารบ้านสองฤดู อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส 5.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดนราธิวาส วันที่ 22 กค. 63 ณ ห้องประชุมสวนอาหารริมน้ำ อ.เมือง จ.นราธิวาส วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 31 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 5 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 7 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 18 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม 4ตำบลนำร่อง ดังนี้ 1.ตำบลผดุงมาตร กลุ่มสวนยางพารา ยังไม่มีการคีย์ข้อมูล -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการกรีดยาง ยกของหนัก /ด้านอุบัติเหตุ สัตว์มีพิษ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเอว บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ในขั้นตอนยกน้ำยางจัดท่าให้เหมาะสม 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหาร บ่า ไหล่ เพื่อลดการตึงของกล้ามเนื้อ

2.ตำบลลุโบะบือซา กลุ่มทำกล้วยฉาบ มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น นั่ง และยืนเป็นเวลานาน /ด้านอุบัติเหตุ เช่น มีดบาด น้ำมันกระเด็นใส่ ความร้อน -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเอว บ่า ไหล่ เข่า
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน จัดหาเครื่องมือ เคร่องจักรแทนแรงงานคนในการหั่นปลอก และสไสด์กล้วย 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้แทนการนั่งพื้น ในขั้นตอนทอดจัดหาที่กันกะทะ เพื่อไม่ให้น้ำมันกระเด็นมาถูกร่างกาย 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน อย่างน้อย5-10นาที การระมัดระวังในการทำงานทุกครั้ง

3.ตำบลแว้ง กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการทำงาน มีการก้มๆเงยๆ ตลอดเวลา แสงแดด -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเอว บ่า ไหล่ เข่า ปวดศรีษะ ตามัว -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน จัดหาเครื่องมือ เครื่องจักรในการไถนา หลีกเสี่ยงในช่วงที่มีแดดแรง การลงแขกในการดำนา หรือ การเก็บเกี่ยว 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน การหยุดพัก

4.ตำบลโคกเคียน กลุ่มสานกระจูด มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ นั่งนาน นั่งกับพื้น นั่งตัวงอตลอดเวลา/ด้านเคมี การย้อมสีกระจูด -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเอว บ่า ไหล่ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้แทนการนั่งพื้น 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน และหยุดพักเป็นระยะ

จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดยะลา12 กรกฎาคม 2563
12
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การอบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงานนอกระบบจังหวัดยะลา .กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดยะลา 4.1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดยะลา วันที่ 11 กค.63 ณ.ร้านอเมซอล ท่าสาป อ.เมือง จังหวัดยะลา 4.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดยะลา วันที่ 12 กค. 63 ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 37 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 6 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 6 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 25 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดยะลา 1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดยะลา วันที่ 11 กค.63 ณ.ร้านอเมซอล ท่าสาป อ.เมือง จังหวัดยะลา 2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดยะลา วันที่ 12 กค. 63 ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 37 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 6 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 6 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 25 คน
สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดยะลา มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม 5ตำบลนำร่อง ดังนี้ 1.ตำบลตาเซะ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 11 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก ถังน้ำยาง แสงสว่าง
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ปรับขนาดหน้ายางไม่สูงและต่ำเกินไป หากในกรณีที่มียางหน้าต่ำมาก ให้หยุดพักเป็นระยะ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน การใช้เก้าอี้รองนั่ง ในหน้ายางที่ต่ำมาก

2.ตำบลบาลอ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน10ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น นั่งนาน นั่งหยองกับพื้น ฝุ่นละอองจากผ้า /ด้านอุบัติเหตุ เช่น เข็ม เครื่องจักร -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ สายตา -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น การกำหนดเวลาพักใน 1ชั่วโมงที่ทำงาน 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน จัดโต๊ะ เก้าอี้ เบาะรองนั่ง 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหาร คอบ่า ไหล่ และสายตา ระหว่างพักการทำงาน การใช้ผ้าปิดจมูกป้องกันฝุ่น

3.ตำบลบาละ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน14 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการกรีดยาง ยางหน้าต่ำ ยางหน้าสูง ยกของหนัก -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ลดปริมาณน้ำยางไม่ให้หนักเกินไป 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ บริหารเพื่อผ่อนคลาย

4.ตำบลอัยเยอร์เวง กลุ่มมอเตอร์ไซต์ มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 21 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ พักผ่อนไม่เพียงพอ อากาสหนาว /ด้านอุบัติเหตุ ลื่นล้ม รถเสื่อมสภาพ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เป็นหวัด ปวดเมื่อย บ่า ไหล่ หลัง -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ตรวจสภาพรถก่อนวิ่งรับจ้าง เนื่องจากเส้นทางมีความลาดชัน ขึ้นลง เชา การพักผ่อนให้เพียงพอ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การสวมอุปกรณ์ป้องกัน หมวกกันน็อก ปลอกข้อแขน หัวเข่า 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ตระหนักในการขับขี่ตามกฎจราจร ระมัดระวัง ไม่ประมาท การบริหารร่างกายช่วงหยุดพัก

5.ตำบลเบตง กลุ่มรับจ้างทั่วไป (ทำสวน ถางป่า ฉีดยาหญ้า) มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 8ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกหนัก แบกเครื่องตัดหญ้า /ด้านอุบัติเหตุ ลื่นล้ม มีดใบพัดเครื่องตัดหญ้าบาดมือ เท้า เศษใบไม้ กิ่งไม้ กระเด็นเข้าตา และตามใบหน้า/ด้านเคมี ยาฆ่าหญ้า
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดบ่า ไหล่ หลัง และการบาดเจ็บจากเครื่องตัดหญ้า หรืออุปกรณ์ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น หยุดพักเป็นระยะ ไม่ทำต่อเนื่องยาวนาน ใช้เครื่องมือให้หลากหลายเหมาะกับงาน เช่นมีดพร้า แทนเครื่องตัดหญ้า ในกรณีที่มีต้นไม้ใหญ่ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น อุปกรณ์มีความคงทน สภาพดี 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหารส่วนหลัง ไหล่ และบ่า ในขณะหยุดพัก และการระมัดระวัง ทุกครั้งในการทำงาน

6.ตำบลเนินงาม กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 18ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการทำงานใช้ทุกส่วนของร่างกาย แสงแดด -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง ปวดเอว บ่า ไหล่ น่อง เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น หยุดพักเป็นระยะ ไม่ทำต่อเนื่องยาวนาน ตื่นให้เช้าขึ้น ปรับเวลาทำงานให้เร็วขึ้น 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ปลูกต้นไม้ตามคันนา เพื่อไว้หยุดพักในช่วงที่มีแดดแรง และเมื่อยล้า 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหารส่วนหลัง ไหล่ และบ่า ในขณะหยุดพัก และการนวดคลายเส้นในช่วงค่ำก่อนเข้านอน

ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดยะลา(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง)11 กรกฎาคม 2563
11
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

4.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดยะลา 4.1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดยะลา วันที่ 11 กค.63 ณ.ร้านอเมซอล ท่าสาป อ.เมือง จังหวัดยะลา 4.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดยะลา วันที่ 12 กค. 63 ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th  /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 37  คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 6 คน     -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 6 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 25 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน  (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดยะลา มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม 5ตำบลนำร่อง ดังนี้ 1.ตำบลตาเซะ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 11 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก ถังน้ำยาง แสงสว่าง
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ปรับขนาดหน้ายางไม่สูงและต่ำเกินไป  หากในกรณีที่มียางหน้าต่ำมาก ให้หยุดพักเป็นระยะ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน การใช้เก้าอี้รองนั่ง ในหน้ายางที่ต่ำมาก

2.ตำบลบาลอ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน10ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น นั่งนาน นั่งหยองกับพื้น ฝุ่นละอองจากผ้า /ด้านอุบัติเหตุ เช่น เข็ม เครื่องจักร -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ สายตา -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น การกำหนดเวลาพักใน 1ชั่วโมงที่ทำงาน 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน จัดโต๊ะ เก้าอี้ เบาะรองนั่ง 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหาร คอบ่า ไหล่ และสายตา ระหว่างพักการทำงาน การใช้ผ้าปิดจมูกป้องกันฝุ่น

3.ตำบลบาละ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน14 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการกรีดยาง ยางหน้าต่ำ ยางหน้าสูง ยกของหนัก -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ลดปริมาณน้ำยางไม่ให้หนักเกินไป 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ บริหารเพื่อผ่อนคลาย

4.ตำบลอัยเยอร์เวง กลุ่มมอเตอร์ไซต์ มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 21 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ พักผ่อนไม่เพียงพอ อากาสหนาว /ด้านอุบัติเหตุ ลื่นล้ม  รถเสื่อมสภาพ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เป็นหวัด ปวดเมื่อย บ่า ไหล่ หลัง -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ตรวจสภาพรถก่อนวิ่งรับจ้าง เนื่องจากเส้นทางมีความลาดชัน ขึ้นลง เชา  การพักผ่อนให้เพียงพอ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การสวมอุปกรณ์ป้องกัน หมวกกันน็อก ปลอกข้อแขน หัวเข่า  3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น ตระหนักในการขับขี่ตามกฎจราจร ระมัดระวัง ไม่ประมาท การบริหารร่างกายช่วงหยุดพัก

5.ตำบลเบตง กลุ่มรับจ้างทั่วไป (ทำสวน ถางป่า ฉีดยาหญ้า) มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 8ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกหนัก แบกเครื่องตัดหญ้า /ด้านอุบัติเหตุ ลื่นล้ม มีดใบพัดเครื่องตัดหญ้าบาดมือ เท้า เศษใบไม้ กิ่งไม้ กระเด็นเข้าตา และตามใบหน้า/ด้านเคมี ยาฆ่าหญ้า
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดบ่า ไหล่ หลัง  และการบาดเจ็บจากเครื่องตัดหญ้า หรืออุปกรณ์ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น หยุดพักเป็นระยะ ไม่ทำต่อเนื่องยาวนาน ใช้เครื่องมือให้หลากหลายเหมาะกับงาน เช่นมีดพร้า แทนเครื่องตัดหญ้า ในกรณีที่มีต้นไม้ใหญ่  2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น อุปกรณ์มีความคงทน สภาพดี 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหารส่วนหลัง ไหล่ และบ่า ในขณะหยุดพัก และการระมัดระวัง ทุกครั้งในการทำงาน

6.ตำบลเนินงาม กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 18ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในการทำงานใช้ทุกส่วนของร่างกาย แสงแดด -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง ปวดเอว บ่า ไหล่ น่อง เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น หยุดพักเป็นระยะ ไม่ทำต่อเนื่องยาวนาน ตื่นให้เช้าขึ้น ปรับเวลาทำงานให้เร็วขึ้น 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ปลูกต้นไม้ตามคันนา เพื่อไว้หยุดพักในช่วงที่มีแดดแรง และเมื่อยล้า 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหารส่วนหลัง ไหล่ และบ่า ในขณะหยุดพัก และการนวดคลายเส้นในช่วงค่ำก่อนเข้านอน

จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดปัตตานี9 กรกฎาคม 2563
9
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงานนอกระบบจังหวัดปัตตานี(เขต)

1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดปัตตานี วันที่ 8 กค. 63 ณ.ห้องประชุมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกาญจนภิเษก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
3.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดปัตตานี วันที่ 9 กค.63 ณ.ห้องประชุมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกาญจนภิเษก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 106 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 6 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 7 คน -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับตำบล จำนวน 13 คน -ตัวแทน พอช.จำนวน 1 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 79 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม15ตำบลนำร่อง ซึ่งตำบลที่เข้าร่วมได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนตำบลแล้วทั้งหมด ดังนี้

1.ตำบลบ่อทอง กลุ่มทำเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 24 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ทำงานกลางแสงแดด /ด้านเคมี การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฉีดหญ้า ยากำจัดแมลง ฝุ่นละออง
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น เกิดผื่นคัน ตุ่มพอง โรคผิวหนัง
  -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน มีการนำสารอินทีย์ทดแทนเคมี การใช้ปุ่ยหมัก 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การสวมใส่ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การให้ความรู้ในการป้องกันสารเคมี และการใช้สารอินทรีย์ การอาบน้ำทันทีหลังเสร็จงาน

2.ตำบลลิปะสะโง กลุ่มทำเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ทำงานกลางแดด / ด้านเคมี มีการใช้ยาฆ่าแมลง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหัว หน้ามืด โรคฉี่หนู
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน โดยปรับเวลาในการทำงานในช่วงเช้าให้เร็วขึ้น ลด เสี่ยงแดดจัดในตอนเที่ยง หรือช่วงที่แดดแรง ลดการใช้สารเคมี มีการใช้สารอินทรีย์ทดแทน 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การดูแลพื้นที่แปลงเกษตรให้มีการโล่งเตียน 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวก ถุงมือ และอุปกรณ์ในการป้องกันทุกครั้งก่อนทำงาน

3.ตำบลดาโต๊ะ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในกรีดยาง การลุกนั่ง การยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง ตื่นตอนดึกเพื่อไปกรีดยาง /อุบัติเหตุ สัตว์มีพิษ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเข่า หลัง บ่า ไหล่ เท้า และพักผ่อนไม่เพียงพอ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น มีการพักเป็นระยะในช่วงที่มีการกรีดยาง ในต้นยางที่หน้าต่ำ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น แผ้วถางให้พื้นที่สวนโล่งเตียน ลดสัตว์มีพิษมาอยู่อาศัย 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้า ถุงเท้า ป้องกันสัตว์มีพิษ

4.ตำบลยาบี กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น การก้มๆเงยๆ และยืนเป็นเวลานาน ตากแดด ตากฝน -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดศรีษะ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดเอว -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ทำงานในช่วงแดดอ่อน หยุดพักในช่วงที่มีแดดแรง ทำงานในช่วงเช้าให้เร็วขึ้น การใช้อุปกรณ์ในการขนย้ายเช่น รถเข็น การใช้เก้าอี้ในการรองนั่งขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวกป้องกันแสงแดด

5.ตำบลตุยง กลุ่มรับจ้างตัดหญ้า มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น แบกเครื่องตัดหญ้าเป็นเวลานาน /ด้านอุบัติเหตุ เช่น มีดตัดหญ้าบาด เศษกิ่งไม้ เศษหิน กระเด็นเข้าบริเวณใบหน้า
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ /การบาดเจ็บจากเครื่องตัดหญ้า จากเศษกิ่งไม้เศษหิน -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีฝาครอบ 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมใส่รองเท้าบู้ท แว่นตา หมวกกันน็อก และการระมัดระวัง การสังเกตพื้นที่ก่อนตัดหญ้า

6.ตำบลบางโกระ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ก้มๆเงยจากการกรีดยางหน้าสูง เอื้อมสุดมือ และยกของหนัก ยกแกลลอนน้ำยาง หิ้วน้ำยาง
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ และปวดคอ
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน ในต้นยางที่มีหน้าสูงใช้ไม้ต่อมีดกรีดยางให้ยาวขึ้น เพื่อลดการเอื้อม ในการยกน้ำยางใส่รถ แบ่งน้ำยาง ไม่ใช้ยกทีเดียว 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหารบริเวณ บ่า ไหล่ และกำลังส่วนขา บริเวณเข่า ผักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีแคลเซี่ยม

7.ตำบลเกาะเปาะ กลุ่มเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 28 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด /ด้านเคมี มีการสัมผัสยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดบ่า ไหล่ หน้ามืด เป็นลม แสบตา แสบจมูก -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น สวมใส่ชุดมิดชิด ป้องกันสารเคมีระเหยเข้าจมูก เรียนรู้การใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ช่วงที่มีการพ่นสารเคมีทำในช่วงเช้า และไม่พ่นเหนือลม 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น จัดหาเครื่องทุนแรง การใช้เก้าอี่รองนั่งในขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้า ถุงเท้า การใช้ผ้า หมวกในการปกบิดบริเวณใบหน้า

8.ตำบลบางเขา กลุ่มเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 32 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด การก้มเป็นเวลานาน การยกของ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดบ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ในช่วงที่มีการเพาะปลูกลงแปลงในตอนเช้า เสี่ยงตอนแดดแรง ในช่วงปลูกพืช ควรพักเป็นระยะ ไม่นั่งยองเป็นเวลานาน การใช้รถเข็นในการขนย้ายผลผลิต 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้เก้าอี้รองนั่งในขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น หยุดพักในขณะเกิดการเมื่อยล้า สวมหมวกป้องกันแสงแดด

9.เทศบาลตำบลหนองจิก กลุ่มประมง (คัดปลา) มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 26 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น นั่งเป็นเวลานาน มือเปียกชื้นตลอดเวลา กลิ่นคาวปลา
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : นิ้วเป็นเชื้อรา ปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ในช่วงที่มีการคัดปลา ควรหยุดพักเป็นระยะ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้ 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก และมีอาการเมื่อยล้า การสวมแว่นตา สวมหมวก ผ้าปิดจมูก รองเท้าบู้ท ทุกครั้งในการทำงาน

10.ตำบลท่ากำชำ กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด เสียงเครื่องยนต์เรือ ยกของหนัก(อวนปลา) /ด้านอุบัติเหตุ เรือคว่ำ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 1วิธี 1) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน สวมหมวก แว่นตา ทุกครั้งที่ออกทะเล ในขั้นตอนการยกอวนจัดท่าทางอย่างถูกวิธี

11.ตำบลนาประดู่ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 29 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง /ด้านอุบัติเหตุ การลื่นล้มมอเตอร์ไซต์
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ คอ
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น เพิ่มจำนวนรอบในการยกน้ำยาง ไม่ยกทีเดียว การใช้ไม้ผูกติดกับมีดกรีดยางให้ด้ามยาวขึ้น ลดการแหงนหน้า คอ ในกรณีตัดยางหน้าสูง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน จัดหาอุปกรณ์ในการช่วยยกแกลลอนน้ำยาง 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก เพิ่มเวลาพักเป็นระยะ การปรับท่ายกของในท่าที่ถูกต้อง

12.ตำบลคอลอตันหยง กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ก้มและเงยในการกรีดยาง ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง การพักผ่อนไม่เพียงพอ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น เก็บพอประมาณแล้วเทในแกลลอนน้ำยางที่วางบนมอเตอร์ไซต์ไว้แล้ว 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้เก้าอี้ในยางหน้าต่ำ การตัดหญ้าให้สวนโล่งเตียน

13.ตำบลบางตาวา กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 48 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก ทำงานวันละหลายชั่วโมง (13ชม./วัน) การใช้แรงเวี่ยงกรณีที่เรือติด เกยตื้น หรือดับกลางทะเล -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น จัดทีมสลับทำงานเป็นกะ ตรวจเชคเรื่องมือ เรือ ก่อนออกทะเล ไม่บรรทุกของในเรือเกินกำลัง เช่น ลังน้ำแข็ง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน สวมใส่แว่นตากันแดด จัดหาเครื่องทุนแรงในการยกอวน 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก การปรับท่ายกอวนปลาในท่าที่ถูกต้อง ปรับทัศนคติ

14.ตำบลดอนรัก กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 29 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านเคมี เช่น การสัมผัสสารฆ่าแมลง สารกำจัดศัตรูพืช ปุ่ยเคมี -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ผื่นคัน เป็นตุ่ม หนอง -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น การใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น เปิดน้ำในนาให้ไหลสะดวก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้าบู้ท เสร็จจากการทำงาน อาบน้ำชำระร่างกายทันที

15.ตำบลปุโละปุโย กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 50 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก อวนปลา เสียงเครื่องยนต์เรือ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ หูตึง -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ตรวจเชคเรื่องมือ เรือก่อนออกทะเล ใช้ภาษามือในการสื่อสาร 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน สวมใส่แว่นตากันแดด จัดหาเครื่องทุนแรงในการยกอวน การทำหลังคาเรือ 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การปรับท่ายกอวนปลาในท่าที่ถูกต้อง

ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัด(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง)8 กรกฎาคม 2563
8
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงานนอกระบบจังหวัดปัตตานี(เขต)

1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดปัตตานี วันที่ 8 กค. 63 ณ.ห้องประชุมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกาญจนภิเษก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
3.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดปัตตานี วันที่ 9 กค.63 ณ.ห้องประชุมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกาญจนภิเษก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 106 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 6 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 7 คน -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับตำบล จำนวน 13 คน -ตัวแทน พอช.จำนวน 1 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 79 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงานนอกระบบจังหวัดปัตตานี(เขต)

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม15ตำบลนำร่อง ซึ่งตำบลที่เข้าร่วมได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนตำบลแล้วทั้งหมด ดังนี้

1.ตำบลบ่อทอง กลุ่มทำเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 24 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ทำงานกลางแสงแดด /ด้านเคมี การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฉีดหญ้า ยากำจัดแมลง ฝุ่นละออง
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น เกิดผื่นคัน ตุ่มพอง โรคผิวหนัง
  -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน มีการนำสารอินทีย์ทดแทนเคมี การใช้ปุ่ยหมัก 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การสวมใส่ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การให้ความรู้ในการป้องกันสารเคมี และการใช้สารอินทรีย์ การอาบน้ำทันทีหลังเสร็จงาน

2.ตำบลลิปะสะโง กลุ่มทำเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ทำงานกลางแดด / ด้านเคมี มีการใช้ยาฆ่าแมลง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหัว หน้ามืด โรคฉี่หนู
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน โดยปรับเวลาในการทำงานในช่วงเช้าให้เร็วขึ้น ลด เสี่ยงแดดจัดในตอนเที่ยง หรือช่วงที่แดดแรง ลดการใช้สารเคมี มีการใช้สารอินทรีย์ทดแทน 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การดูแลพื้นที่แปลงเกษตรให้มีการโล่งเตียน 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวก ถุงมือ และอุปกรณ์ในการป้องกันทุกครั้งก่อนทำงาน

3.ตำบลดาโต๊ะ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในกรีดยาง การลุกนั่ง การยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง ตื่นตอนดึกเพื่อไปกรีดยาง /อุบัติเหตุ สัตว์มีพิษ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเข่า หลัง บ่า ไหล่ เท้า และพักผ่อนไม่เพียงพอ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น มีการพักเป็นระยะในช่วงที่มีการกรีดยาง ในต้นยางที่หน้าต่ำ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น แผ้วถางให้พื้นที่สวนโล่งเตียน ลดสัตว์มีพิษมาอยู่อาศัย 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้า ถุงเท้า ป้องกันสัตว์มีพิษ

4.ตำบลยาบี กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น การก้มๆเงยๆ และยืนเป็นเวลานาน ตากแดด ตากฝน -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดศรีษะ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดเอว -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ทำงานในช่วงแดดอ่อน หยุดพักในช่วงที่มีแดดแรง ทำงานในช่วงเช้าให้เร็วขึ้น การใช้อุปกรณ์ในการขนย้ายเช่น รถเข็น การใช้เก้าอี้ในการรองนั่งขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวกป้องกันแสงแดด

5.ตำบลตุยง กลุ่มรับจ้างตัดหญ้า มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น แบกเครื่องตัดหญ้าเป็นเวลานาน /ด้านอุบัติเหตุ เช่น มีดตัดหญ้าบาด เศษกิ่งไม้ เศษหิน กระเด็นเข้าบริเวณใบหน้า
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ /การบาดเจ็บจากเครื่องตัดหญ้า จากเศษกิ่งไม้เศษหิน -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีฝาครอบ 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมใส่รองเท้าบู้ท แว่นตา หมวกกันน็อก และการระมัดระวัง การสังเกตพื้นที่ก่อนตัดหญ้า

6.ตำบลบางโกระ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ก้มๆเงยจากการกรีดยางหน้าสูง เอื้อมสุดมือ และยกของหนัก ยกแกลลอนน้ำยาง หิ้วน้ำยาง
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ และปวดคอ
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน ในต้นยางที่มีหน้าสูงใช้ไม้ต่อมีดกรีดยางให้ยาวขึ้น เพื่อลดการเอื้อม ในการยกน้ำยางใส่รถ แบ่งน้ำยาง ไม่ใช้ยกทีเดียว 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหารบริเวณ บ่า ไหล่ และกำลังส่วนขา บริเวณเข่า ผักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีแคลเซี่ยม

7.ตำบลเกาะเปาะ กลุ่มเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 28 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด /ด้านเคมี มีการสัมผัสยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดบ่า ไหล่ หน้ามืด เป็นลม แสบตา แสบจมูก -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น สวมใส่ชุดมิดชิด ป้องกันสารเคมีระเหยเข้าจมูก เรียนรู้การใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ช่วงที่มีการพ่นสารเคมีทำในช่วงเช้า และไม่พ่นเหนือลม 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น จัดหาเครื่องทุนแรง การใช้เก้าอี่รองนั่งในขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้า ถุงเท้า การใช้ผ้า หมวกในการปกบิดบริเวณใบหน้า

8.ตำบลบางเขา กลุ่มเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 32 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด การก้มเป็นเวลานาน การยกของ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดบ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ในช่วงที่มีการเพาะปลูกลงแปลงในตอนเช้า เสี่ยงตอนแดดแรง ในช่วงปลูกพืช ควรพักเป็นระยะ ไม่นั่งยองเป็นเวลานาน การใช้รถเข็นในการขนย้ายผลผลิต 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้เก้าอี้รองนั่งในขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น หยุดพักในขณะเกิดการเมื่อยล้า สวมหมวกป้องกันแสงแดด

9.เทศบาลตำบลหนองจิก กลุ่มประมง (คัดปลา) มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 26 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น นั่งเป็นเวลานาน มือเปียกชื้นตลอดเวลา กลิ่นคาวปลา
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : นิ้วเป็นเชื้อรา ปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ในช่วงที่มีการคัดปลา ควรหยุดพักเป็นระยะ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้ 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก และมีอาการเมื่อยล้า การสวมแว่นตา สวมหมวก ผ้าปิดจมูก รองเท้าบู้ท ทุกครั้งในการทำงาน

10.ตำบลท่ากำชำ กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด เสียงเครื่องยนต์เรือ ยกของหนัก(อวนปลา) /ด้านอุบัติเหตุ เรือคว่ำ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 1วิธี 1) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน สวมหมวก แว่นตา ทุกครั้งที่ออกทะเล ในขั้นตอนการยกอวนจัดท่าทางอย่างถูกวิธี

11.ตำบลนาประดู่ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 29 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง /ด้านอุบัติเหตุ การลื่นล้มมอเตอร์ไซต์
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ คอ
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น เพิ่มจำนวนรอบในการยกน้ำยาง ไม่ยกทีเดียว การใช้ไม้ผูกติดกับมีดกรีดยางให้ด้ามยาวขึ้น ลดการแหงนหน้า คอ ในกรณีตัดยางหน้าสูง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน จัดหาอุปกรณ์ในการช่วยยกแกลลอนน้ำยาง 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก เพิ่มเวลาพักเป็นระยะ การปรับท่ายกของในท่าที่ถูกต้อง

12.ตำบลคอลอตันหยง กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ก้มและเงยในการกรีดยาง ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง การพักผ่อนไม่เพียงพอ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น เก็บพอประมาณแล้วเทในแกลลอนน้ำยางที่วางบนมอเตอร์ไซต์ไว้แล้ว 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้เก้าอี้ในยางหน้าต่ำ การตัดหญ้าให้สวนโล่งเตียน

13.ตำบลบางตาวา กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 48 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก ทำงานวันละหลายชั่วโมง (13ชม./วัน) การใช้แรงเวี่ยงกรณีที่เรือติด เกยตื้น หรือดับกลางทะเล -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น จัดทีมสลับทำงานเป็นกะ ตรวจเชคเรื่องมือ เรือ ก่อนออกทะเล ไม่บรรทุกของในเรือเกินกำลัง เช่น ลังน้ำแข็ง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน สวมใส่แว่นตากันแดด จัดหาเครื่องทุนแรงในการยกอวน 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก การปรับท่ายกอวนปลาในท่าที่ถูกต้อง ปรับทัศนคติ

14.ตำบลดอนรัก กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 29 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านเคมี เช่น การสัมผัสสารฆ่าแมลง สารกำจัดศัตรูพืช ปุ่ยเคมี -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ผื่นคัน เป็นตุ่ม หนอง -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น การใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น เปิดน้ำในนาให้ไหลสะดวก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้าบู้ท เสร็จจากการทำงาน อาบน้ำชำระร่างกายทันที

15.ตำบลปุโละปุโย กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 50 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก อวนปลา เสียงเครื่องยนต์เรือ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ หูตึง -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ตรวจเชคเรื่องมือ เรือก่อนออกทะเล ใช้ภาษามือในการสื่อสาร 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน สวมใส่แว่นตากันแดด จัดหาเครื่องทุนแรงในการยกอวน การทำหลังคาเรือ 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การปรับท่ายกอวนปลาในท่าที่ถูกต้อง

ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยงโซนใต้ล่าง)จังหวัด ตรัง และ พัทลุง3 กรกฎาคม 2563
3
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมประชุมคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดโซนใต้บน (พัทลุง/ตรัง ) วันที่ 3 กค.2563 ณ.ห้องประชุมร้านภูดินสอรีสอร์ท อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง วัตถุประสงค์
1.เพื่อติดตามแผนงาน/โครงการกองทุนตำบลนำร่องประเด็นแรงงานนอกระบบในระดับจังหวัด 2.การจัดเก็บข้อมูลและเตรียมการอบรม อสอช.ในพื้นที่ 3.เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงโครงการฯ csd
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย
คณะทำงานระดับเขต จำนวน 3 คน
ลำดับ  ชื่อ-สกุล
1.  นายอะหมัด หลีขาหรี 2. นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี 3. นส.คณิชญา แซนโทส คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดพัทลุง /ตรัง
ลำดับ ชื่อ-สกุล หน่วยงาน 1 นายปฏิพัฒน์ ไกรสุทธิ์ อบต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 2 นางสาวช่อผกา หนรูอด โรงพยาบาลรัษฏา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง 3 นางวลัยภรณ์ เยาดำ อบต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง 4 นางสุภารัตน์ ภักดี อบต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 5 นางสาวศรินรัตน์ ภูสิทธิรัชพงศ์ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนฯ๕๐(๕) จังหวัดตรัง 6 นายไพทูรย์ ทองสม นักวิชาการอิสระ จ.พัทลุง 7 นายสมนึก นุ่นด้วง นักวิชาการอิสระ จ.พัทลุง 8 นายถาวร คงศรี นักวิชาการอิสระ จ.พัทลุง 9 นายณัฐพงค์ คงสง พี่เลี้ยง คก.ชุมชนน่าอยู่ จ.พัทลุง 10 นางวาลัยพร ด้วงคง ทต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 11 นายประเทือง อมรวิริยะชัย รพ.สต. ชะรัด อ.กงหรา จ.พัทลุง 12 นางสาวปรียาภรณ์ คงผอม อบต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง 13 นางกชกานต์ คงชู ทต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง 14 นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม รพ.สต.บ้านศาลามะปราง อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) ความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีตำบลนำร่อง 5พื้นที่ คือ เทศบาลเมืองพัทลุง เทศบาลตำบลนาท่อม เทศบาลตำบลโคกม่วง เทศบาลตำบลโตนดด้วน เทศบาลตำบลโคกชะงาย พื้นที่ที่มีการเก็บข้อมูลมีเพียงตำบลเดียว คือเทศบาลตำบลโคกชะงาย จำนวน 190 ชุด เทศบาลโคกม่วงมีการเก็บแล้ว และยังไม่ได้คีย์ข้อมูล เนื่องจากเจ้าหน้ามีภารกิจมาก ส่วนแกนนำ อสอช. มีข้อจำกัดในการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนพื้นที่ตำบลอื่นอยู่ในช่วงการดำเนินการ การเตรียมการอบรม อสอช. ได้เลือกวันที่ 30-31 กค.63 โดยคุณสมนึก นุ่นด้วง รับหน้าที่ในการประสานสถานที่จัดอบรม และอาหาร ในส่วนของวิทยากรมอบหมายให้ อ.ไพฑรูย์ ทองสม ร่วมกับ อ.แสงอรุณ เนื่องจากอาจารย์อะหมัด ติดรายอ ความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดตรัง มีตำบลสามารถขับเคลื่อนงานได้ คือ ตำบลเขากอบ ตำบลนาวง ตำบลนาโยงเหนือ ตำบลนาหมื่นสี ตำบลวังคีรี ตำบลท่างิ้ว และตำบลห้วยยอด ในส่วนการเก็บข้อมูล มี3ตำบลที่มีการเก็บและคีย์เข้าสู่ระบบเว้ป คือ ตำบลห้วยยอด 187ชุด ตำบลเขากอบ 16ขุด ตำบลนาวง 12 ชุด ส่วนพื้นที่อื่นๆอยู่ในช่วงดำเนินการ การเตรียมการอบรม อสอช. ได้เลือกวันที่ 10-11สค.63 (ต้นเดือนติดงานแสดงผลงานกองทุนตำบล เขต12สงขลา) ในการประสานงานมอบหมายให้นายปฏิพัฒน์ ไกรสุทธิ์

จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดสตูล1 กรกฎาคม 2563
1
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 การอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.

2.การนำข้อมูลมาใช้จากข้อที่มูลที่เก็บจากกระดาษสู่ระบบ

3.การประเมิน อสอช.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.เป็นรายจังหวัด
กิจกรรมอบรม อสอช. จัดเป็นรายจังหวัด7จังหวัด โดยเนื้อหาหลักสูตร 1½ วัน ในครึ่งวันแรกกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับตำบล (เจ้าหน้าที่กองทุน) เพื่อมาทำความเข้าใจเนื้อหาหลักสูตร และการเตรียมความพร้อมในการเป็น Fa ให้กับแกนนำ อสอช ที่เข้าอบรมในวันที่สอง โดยเนื้อหาการอบรมเพื่อให้ อสอช.ที่เข้าอบรมสามารถดึงข้อมูลที่มีการสำรวจกลุ่มอาชีพและบันทึกในเว้ป iw.in.th นำมาวิเคราะห์ JSA และการออกแบบกระบวนการในการทำงานเพื่อลดความเสี่ยง ใน3ขึ้นตอน คือ 1) ปรับกระบวนการ/วิธีการทำงาน 2) ปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 3) ปรับพฤติกรรมคนทำงาน
ตัวแทนตำบลที่เข้าร่วมอย่างน้อย5ตำบลนำร่องที่เลือกโดยคณะทำงานพี่เลี้ยงในระดับจังหวัด จึงมีจังหวัดที่จัดอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม ดังนี้

1.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดสตูล
1.1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดสตูล วันที่ 30 มิย 63 ณ.ศูนย์ประสานงานสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล
1.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดสตูล วันที่ 1กค.63 ณ ห้องประชุมอบต.ปากน้ำ อ.ละงู  จ.สตูล
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 48 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 5 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 12 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 31 คน สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) พื้นที่จังหวัดสตูลใน 5ตำบลนำร่อง ประกอบด้วย ตำบลนาทอน,ตำบลกำแพง,ตำบลละงู,ตำบลปากน้ำและตำบลบ้านควน ซึ่งตัวแทนแกนนำอสอช.และคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับตำบล ได้ร่วมวิเคราะห์ JSA และออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงจากการทำงาน ดังนี้

1.ตำบลนาทอน กลุ่มอาชีพจักสานจากต้นคลุ้ม มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 15 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : เสี่ยงในด้านกายภาพ ที่เกิดจากท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่งเป็นเวลานาน นั่งราบกับพื้น และก้มๆเงยๆ /ความเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้มในการจัดหาวัตถุดิบ มีดบาดนิ้วมือในช่วงที่เลาหรือการทำซี่ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน บ่าไหล่ และสายตาพร่ามัว
-การออกแบบกิจกรรมลดตวามเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) จัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อลดไม่ให้นั่งราบกับพื้น 2) การปรับพฤติกรรม เช่น ท่านั่งในการทำงาน จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มในการจัดท่านั่งอย่างถูกวิธี การออกกำลังกาย การหยุดพักยืดเหยียดกล้ามเนื่อ เช่น การบิดแขน บิดหลัง และบิดเอว เป็นระยะ เพื่อลดการนั่งทำงานในท่าเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน

2.ตำบลปากน้ำ กลุ่มอาชีพจักสานจากก้านจาก มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 10 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : เสี่ยงในด้านกายภาพ เช่น ฝุ่นละอองจากก้านจาก ท่าทางในการนั่งทำงาน /ความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี เช่น ทินเนอร์ น้ำมันสน เลคเกอร์
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง บ่า ไหล่ และอาการนิ้วล็อก อาการมึนเวียนศรีษะ ปวดหัว และแสบจมูก -การออกแบบกิจกรรมลดตวามเสี่ยง: มีการออกแบบ 3 วิธี 1) การปรับกระบวนการในการทำงาน เช่น การใช้เครื่องจักรในขั้นตอนการเลาซี่  2) จัดสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การทำงานอยู่ในที่โล่ง อากาศท่ายเท เพื่อลดฝุ่นละออง 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การกำหนดเวลา การจัดทำข้อตกลงของกลุ่ม การบริหารร่างกาย

3.ตำบลกำแพง กลุ่มอาชีพก่อสร้าง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 19 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด ฝุ่นละออง เสียงดีงของเครื่องยนต์ / ด้านอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง ของมีคมบาด เช่น ตะปู เหล็ก / ด้านเคมี เช่น สีทาบ้าน
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น เป็นหวัด ภูมิแพ้ อาการหน้ามือ เป็นลม และปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การใช้มาตรการ5ส. 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การใช้แมสป้องกันฝุ่น การยกของ หิ้วของ ใช้ท่าลุกนั่งที่ถูกวิธี
4.ตำบลละงู กลุ่มอาชีพประมง กลุ่มอาชีพก่อสร้าง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 15 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด เสียงดังของเครื่องยนต์ ยกของหนัก(ลากอวนปลา) การผักผ่อนไม่เพียงพอ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหัว ปวดเอว ปวดบ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) กระบวนการในการทำงาน เช่น หลับให้เพียงพอก่อนออกเรือ การให้ความรู้นอนอย่างไรให้มีคุณภาพ การใช้ภาษามือในการสื่อสารขณะขับเรือ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การปรับเรื่องที่นอน (เบาะ) การทำหลังคาเรือเพื่อลดแสงแดด 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวก หรือจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันแดด การหาอุปกรณ์ในการปิดหูขณะวิ่งเรือ 5.ตำบลบ้านควน กลุ่มอาชีพสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ท่าทางในการทำงาน การกรียดยาง หน้ายางต่ำ หน้ายางสูง /ด้านอุบัติเหตุ เช่น สัตว์มีพิษ มีดกรีดยาง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ เข่า ศรีษะ การบาดเจ็บจากสัตว์มีพิษกัด ต่อย -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) กระบวนการในการทำงาน เช่น การหลับให้เพียงพอ (หลับแต่หัวค่ำ) ก่อนไปกรีดยาง การสวมใส่ถุงมือ รองเท้าบูธ ป้องกันสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ การใช้ถังไบเล็กเก็บน้ำยาง และถังใบใหญ่วางระหว่างแถว เพื่อถ่ายเทน้ำยาง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น พื้นที่สวนยางไม่ปล่อยให้รก ให้พื้นที่โล่งเตียน และพื้นที่สวนใกล้เคียง 3) มีความระมัดระวัง ไม่ประมาท การผักผ่อนให้เพียงพอ

ประชุมพี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส30 มิถุนายน 2563
30
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส

1.ทวบทวนความก้าวหน้าของการเก็บข้อมูล

2.การหารือนัดวัดจัดอบรมพี่เลี้ยง และ อบรม อสอช.

3.การหารือเรื่องพื้นที่ต้นแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส

1.ทบทวนความก้าวหน้าของการเก็บข้อมูล หลายพื้นเก็บข้อมูลอาชีพและลงในเว็ปไซต์แล้ว บางพื้นที่ยังไม่ลงเพราะ ยังขาดความเข้าใจ บางประเด็น

2.จังหวัดนราธิวาส มีแผนการจัดกิจกรรมในวันที่21-22 กรกฎาคม 2563 มีกองทุนที่เข้าร่วมอบรมดังนี้
1.องค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ

2.องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง

3.องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี อำเภอแว้ง

4.เทศบาลตำบลแว้ง อำเภอแว้ง

5.องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ
เพือนำอสอช เข้าสู่กระบวนการอบรม อสอช ร่วมกับเขต 12 ซึ่งถือเป็นการติดอาวุธให้เหล่าพี่เลี้ยงและ อสอช.ได้ลงไปช่วยเหลือพี่น้องกลุ่มอาชีพในท้องถิ่นชุมชนของตนเอง
ซึ่งกิจกรรมการรวมตัวเพื่อประชุมหารือของพี่เลี้ยงในครั้งนี้ มีการนำความก้าวหน้าของการเก็บข้อมูลมาคุยกัน และ เลือกพื้นที่ต้นแบบเพื่อถอดบทเรียน

จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. จังหวัดสตูล(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง)30 มิถุนายน 2563
30
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การทบวนเรื่องข้อมูลและคีย์ข้อมูลลงระบบ

2.การอบรมพี่เลี้ยงเพื่อCocthing team

3.การประเมินพี่เลี้ยงจังหวัด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.เป็นรายจังหวัด
กิจกรรมอบรม อสอช. จัดเป็นรายจังหวัด7จังหวัด โดยเนื้อหาหลักสูตร 1½ วัน ในครึ่งวันแรกกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับตำบล (เจ้าหน้าที่กองทุน) เพื่อมาทำความเข้าใจเนื้อหาหลักสูตร และการเตรียมความพร้อมในการเป็น Fa ให้กับแกนนำ อสอช ที่เข้าอบรมในวันที่สอง โดยเนื้อหาการอบรมเพื่อให้ อสอช.ที่เข้าอบรมสามารถดึงข้อมูลที่มีการสำรวจกลุ่มอาชีพและบันทึกในเว้ป iw.in.th นำมาวิเคราะห์ JSA และการออกแบบกระบวนการในการทำงานเพื่อลดความเสี่ยง ใน3ขึ้นตอน คือ 1) ปรับกระบวนการ/วิธีการทำงาน 2) ปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 3) ปรับพฤติกรรมคนทำงาน
ตัวแทนตำบลที่เข้าร่วมอย่างน้อย5ตำบลนำร่องที่เลือกโดยคณะทำงานพี่เลี้ยงในระดับจังหวัด จึงมีจังหวัดที่จัดอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม ดังนี้

1.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดสตูล
1.1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดสตูล วันที่ 30 มิย 63 ณ.ศูนย์ประสานงานสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล
1.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดสตูล วันที่ 1กค.63 ณ ห้องประชุมอบต.ปากน้ำ อ.ละงู  จ.สตูล
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 48 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 5 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 12 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 31 คน สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) พื้นที่จังหวัดสตูลใน 5ตำบลนำร่อง ประกอบด้วย ตำบลนาทอน,ตำบลกำแพง,ตำบลละงู,ตำบลปากน้ำและตำบลบ้านควน ซึ่งตัวแทนแกนนำอสอช.และคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับตำบล ได้ร่วมวิเคราะห์ JSA และออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงจากการทำงาน ดังนี้

1.ตำบลนาทอน กลุ่มอาชีพจักสานจากต้นคลุ้ม มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 15 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : เสี่ยงในด้านกายภาพ ที่เกิดจากท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่งเป็นเวลานาน นั่งราบกับพื้น และก้มๆเงยๆ /ความเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้มในการจัดหาวัตถุดิบ มีดบาดนิ้วมือในช่วงที่เลาหรือการทำซี่ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน บ่าไหล่ และสายตาพร่ามัว
-การออกแบบกิจกรรมลดตวามเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) จัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อลดไม่ให้นั่งราบกับพื้น 2) การปรับพฤติกรรม เช่น ท่านั่งในการทำงาน จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มในการจัดท่านั่งอย่างถูกวิธี การออกกำลังกาย การหยุดพักยืดเหยียดกล้ามเนื่อ เช่น การบิดแขน บิดหลัง และบิดเอว เป็นระยะ เพื่อลดการนั่งทำงานในท่าเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน

2.ตำบลปากน้ำ กลุ่มอาชีพจักสานจากก้านจาก มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 10 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : เสี่ยงในด้านกายภาพ เช่น ฝุ่นละอองจากก้านจาก ท่าทางในการนั่งทำงาน /ความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี เช่น ทินเนอร์ น้ำมันสน เลคเกอร์
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง บ่า ไหล่ และอาการนิ้วล็อก อาการมึนเวียนศรีษะ ปวดหัว และแสบจมูก -การออกแบบกิจกรรมลดตวามเสี่ยง: มีการออกแบบ 3 วิธี 1) การปรับกระบวนการในการทำงาน เช่น การใช้เครื่องจักรในขั้นตอนการเลาซี่  2) จัดสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การทำงานอยู่ในที่โล่ง อากาศท่ายเท เพื่อลดฝุ่นละออง 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การกำหนดเวลา การจัดทำข้อตกลงของกลุ่ม การบริหารร่างกาย

3.ตำบลกำแพง กลุ่มอาชีพก่อสร้าง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 19 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด ฝุ่นละออง เสียงดีงของเครื่องยนต์ / ด้านอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง ของมีคมบาด เช่น ตะปู เหล็ก / ด้านเคมี เช่น สีทาบ้าน
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น เป็นหวัด ภูมิแพ้ อาการหน้ามือ เป็นลม และปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การใช้มาตรการ5ส. 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การใช้แมสป้องกันฝุ่น การยกของ หิ้วของ ใช้ท่าลุกนั่งที่ถูกวิธี
4.ตำบลละงู กลุ่มอาชีพประมง กลุ่มอาชีพก่อสร้าง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 15 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด เสียงดังของเครื่องยนต์ ยกของหนัก(ลากอวนปลา) การผักผ่อนไม่เพียงพอ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหัว ปวดเอว ปวดบ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) กระบวนการในการทำงาน เช่น หลับให้เพียงพอก่อนออกเรือ การให้ความรู้นอนอย่างไรให้มีคุณภาพ การใช้ภาษามือในการสื่อสารขณะขับเรือ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การปรับเรื่องที่นอน (เบาะ) การทำหลังคาเรือเพื่อลดแสงแดด 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวก หรือจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันแดด การหาอุปกรณ์ในการปิดหูขณะวิ่งเรือ 5.ตำบลบ้านควน กลุ่มอาชีพสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ท่าทางในการทำงาน การกรียดยาง หน้ายางต่ำ หน้ายางสูง /ด้านอุบัติเหตุ เช่น สัตว์มีพิษ มีดกรีดยาง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ เข่า ศรีษะ การบาดเจ็บจากสัตว์มีพิษกัด ต่อย -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) กระบวนการในการทำงาน เช่น การหลับให้เพียงพอ (หลับแต่หัวค่ำ) ก่อนไปกรีดยาง การสวมใส่ถุงมือ รองเท้าบูธ ป้องกันสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ การใช้ถังไบเล็กเก็บน้ำยาง และถังใบใหญ่วางระหว่างแถว เพื่อถ่ายเทน้ำยาง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น พื้นที่สวนยางไม่ปล่อยให้รก ให้พื้นที่โล่งเตียน และพื้นที่สวนใกล้เคียง 3) มีความระมัดระวัง ไม่ประมาท การผักผ่อนให้เพียงพอ

ค่าตอบแทนประจำเดือนมิถุนายน256326 มิถุนายน 2563
26
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนมิถุนายน2563

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าตอบแทนประจำเดือนมิถุนายน2563

ประชุมพี่เลี้ยงจังหวัดยะลา24 มิถุนายน 2563
24
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ทบทวนความก้าวหน้าการเก็บข้อมูล

2.การวางแแผนนัดวันจัดอบรมพี่เลี้ยง และ การอบรม อสอช.

3.การหารือเรื่องพื้นที่ต้นแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จังหวัดยะลามีแผนการจัดกิจกรรมในวันที่11-12 กรกฎาคม 2563 มีกองทุนที่เข้าร่วมอบรมดังนี้
1.องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม อำเภอ รามัน

2.องค์การบริหารส่วนตำบลตาแซะ อำเภอเมืองยะลา

3.องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ อำเภอกาบัง

4.เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง

5.องค์การบริหารส่วนตำบลอัยยเยอร์เวง อำเภอเบตง

6.เทศบาลตำบล บาลอ อำเภอรามัน
เพือนำอสอช เข้าสู่กระบวนการอบรม อสอช ร่วมกับเขต 12 ซึ่งถือเป็นการติดอาวุธให้เหล่าพี่เลี้ยงและ อสอช.ได้ลงไปช่วยเหลือพี่น้องกลุ่มอาชีพในท้องถิ่นชุมชนของตนเอง
ซึ่งกิจกรรมการรวมตัวเพื่อประชุมหารือของพี่เลี้ยงในครั้งนี้ มีการนำความก้าวหน้าของการเก็บข้อมูลมาคุยกัน และ เลือกพื้นที่ต้นแบบเพื่อถอดบทเรียน

จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดสงขลา23 มิถุนายน 2563
23
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวอนามัย ระยะเวลา 1วัน โดยกองทุนฯจะมีการส่งตัวแทนแกนนำกลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน อสม. ตำบลละ5คนเข้าร่วมอบรม

2.การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กลุ่มคนขึ้นตาล ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ตำบลคลองรี โดย ผอ.รพ.สต.คลองรี

3.คณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง) และ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน แบ่งกลุ่มย่อยตามรายตำบลในการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพJSA และร่วมออกแบบกิจกรรมลดเสี่ยงในขั้นตอนการทำงาน
1.เพื่อติดความก้าวหน้าของกลไกจังหวัดในการจัดทำแผน/ข้อเสนอโครงการกองทุนฯประเด็นแรงงานนอกระบบในระดับจังหวัด 3จังหวัด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี 2.การจัดเก็บข้อมูลและเตรียมการอบรม อสอช.ในพื้นที่ (การเตรียมคน เตรียมวัน เวลา สถานที่ในการจัดอบรม) 3.เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ csd

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กองทุนฯ จำนวน 49แห่ง(อปท) ส่งตัวแทนอสอช.จำนวน 230คน เข้ารับการอบรม อสอช.ล้วนมาจากตัวแทนกลุ่มอาชีพเสี่ยง และอสม. ในพื้นที่ 2.การวิเคราะห์ความเสี่ยงในระบบฐานข้อมูลแรงงาน พบว่า ความเสี่ยงเกิดจากท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่ง การหิ้วของหนัก ส่งผลต่อ สุขภาพกลุ่มเสี่ยง คือ ปวดหลัง เอว เข่า บ่าและไหล่
3.กิจกรรมลดเสี่ยง เช่น ออกกำลังกาย การหยุดพัก การใช้อุปกรณ์ เช่น ผ้าปิดจมูก รองเท้าบูท ถุงมือ ฯ

ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดสงขลา(ประชุมเตรียมร่วมกับพี่เลี้ยง)22 มิถุนายน 2563
22
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานกองทุนฯในการเตรียมก่อนการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีว อนามัยเป็นการเตรียมพี่เลี้ยงให้เข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน การวิเคราะห์JSA และการออกแบบกิจกรรมลดเสี่ยงจากการทำงาน/การประกอบอาชีพ ซึ่งในวันอบรมแกนนำ อสอช.พี่เลี้ยงจะต้องเป็นfa ในการทำกระบวนการแบ่งกลุ่มอาชีพในตำบลเป้าหมายที่เข้าอบรม ในหลักสูตรการเตรียมพี่เลี้ยงใช้ระยะเวลา ½ วัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย อาจารย์กนกวรรณ หวนศรี อาจารย์ฐากรู ปราบปรี นักวิชาการสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความรู้อาชีวอนามัยและการใช้ฐานข้อมูลแรงนอกระบบในการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ และการเข้าใจในบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงของคณะทำงานระดับจังหวัด ในกระบวนการกลุ่มที่ต้องช่วย อสอช.ในการวิเคราะห์JSAและการออกแบบกิจกรรมลดเสี่ยง

2.คณะทำงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) ได้นำเสนอการเก็บ

ข้อมูลกลุ่มแรงงานนอกระบบในระดับตำบลเป้าหมาย ดังนี้ 1.จ.สงขลา 7ตำบล 271ชุด 2.จ.สตูล 5ตำบล 99ชุด 3.จ.ปัตตานี 15ตำบล 476ชุด 4.จ.ยะลา 6ตำบล 82ชุด 5.จ.นราธิวาส 4ตำบล 80ชุด 6.จ.พัทลุง 5ตำบล 277ชุด 7.จ.ตรัง 6ตำบล 246ชุด

3.กระบวนการการเก็บและคีย์ข้อมูล 1) บางพื้นที่กองทุนฯจะมีการประสานให้ อสม.และแกนนำชุมชน เป็นผู้เก็บข้อมูล 2) ขั้นตอนการคีย์ในระบบฐานข้อมูลแรงงานเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานกองทุนฯเป็นคนดำเนินการ

ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)โซนใต้ล่าง จังหวัดปัตตานี ,ยะลา,นราธิวาส18 มิถุนายน 2563
18
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เพื่อติดความก้าวหน้าของกลไกจังหวัดในการจัดทำแผน/ข้อเสนอโครงการกองทุนฯประเด็นแรงงานนอกระบบในระดับจังหวัด 3จังหวัด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

2.การจัดเก็บข้อมูลและเตรียมการอบรม อสอช.ในพื้นที่ (การเตรียมคน เตรียมวัน เวลา สถานที่ในการจัดอบรม)

3.เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ csd

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)มีการรายงานความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนงานกองทุนฯในประเด็นแรงงานนอกระบบ ดังนี้ -จังหวัดปัตตานีใช้กลไกท้องถิ่นและ พชอ.ขับเคลื่อนงานกองทุนฯ มีกองทุนฯที่อนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการโครงการ 15 ตำบล ส่วนอีก5ตำบล คือ ต.บ่อทอง ,ต.ทรายขาว,ต.ป่าไร่,ต.แม่ลาน,ต.ม่วงเตี้ย มีการทำแผนกองทุนฯรอไว้ในระบบของ สปสช.เขต12 เพื่องบประมาณในปี2564 -จังหวัดยะลา อปท.มีขนาดเล็ก งบประมาณมีจำกัด มีการอนุมัติให้กับแผนงานไปก่อนที่โครงการเขต12ฯเข้ามามีเพียงตำบลบาละ1พื้นที่ ที่กองทุนฯได้อนุมัติมีการดำเนินการในระดับพื้นที่ -จังหวัดนราธิวาส ตำบลแว้งมีการทำโครงการแล้วแต่กิจกรรมมีเพียงเจาะเลือดในกลุ่มทำนา ดังนั้นจะผลักดันให้ตำบลโคกเคียนมีการทำโครงการกลุ่มสื่อกระจูดในปีที่2 มีการออกแบบกิจกรรมให้ครอบคลุมในด้านการเก็บข้อมูลความเสี่ยง จัดตั้งทีม อสอช. กิจกรรมออกกำลังกาย

ประชุมพัฒนาหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยและเตรียมการสอนหลักสูตรอบรม อสอช.16 มิถุนายน 2563
16
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การเตรียมข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในตำบลเป้าหมาย 7จังหวัดๆละ5ตำบลเป็นอย่างน้อย กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล 10-20 ราย เป็นเบื้องต้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ในเวทีอบรม อสอช. การเก็บข้อมูลจะใช้แบบสอบถามจากส่วนกลาง

(อ.อรุณ) ข้อมูลที่เก็บได้ให้มีการบันทึกในระบบฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ iw.in.th . ค่าตอบแทนในการเก็บข้อมูลโครงการฯเขต12 เป็นผู้ดำเนินการให้กับจังหวัดๆละ5,000บาท 2.การเตรียมผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย คณะทำงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) ตัวแทนกรรมการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานกองทุนฯ แกนนำกลุ่มอาชีพเสี่ยง แกนนำชุมชนและอสม.

3.การประเมินใช้กูเกิ้ลฟอร์มในการประเมินพี่เลี้ยงและอสอช.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดแผนการทำงานในระดับพื้นที่ โดยให้คณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง) มีการคัดเลือกพื้นที่ตำบลเป้าหมาย อย่างน้อย5ตำบล ต่อจังหวัด รวม35แห่ง และ กลุ่มเป้าหมายแกนนำ อสอช 5คนต่อตำบล รวม 175คน.

2.มีข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยงผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง ใน5 ตำบลนำร่อง

3.มีหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพ อสอช.

4.มีการติดตามประเมินผลความรอบรู้อาชีวอนามัย
ของอสอช.และคณะทำงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) เพื่อนำไปสู่การหนุนเสริมศักยภาพ

ประชุมคณะทำงานระดับเขต(ทีมบริหารโครงการ)2 มิถุนายน 2563
2
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.พิจารณาข้อเสนอโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โดยมติที่ประชุมมอบหมายให้ นายอะหมัด หลีขาหรี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งโครงการถอดบทเรียน จะช่วยในการ สังเคราะห์ชุดความรู้พื้นที่ต้นแบบและนวัตกรรม ด้านงบในการบริหารจัดการส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการจัดทำเวทีถอดบทเรียนเป็นรายจังหวัด และค่าตอบแทนชุดสังเคราะห์ความรู้พื้นที่ต้นแบบ(งานเขียน)ให้กับทีมพี่เลี้ยงcsd

2.การจัดทำหลักสูตรอบรม อสอช. ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย จะมีการปรับหลักสูตรให้สั้นลง เพื่อให้เหมาะกับพื้นที่ จากเดิมใช้เวลา 2-3วัน ปรับระยะเวลาเหลือ 1½ วัน
วันแรก โค้ทพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงสามารถเป็นนักจัดกระบวนการ วิทยากรกลุ่มย่อย ช่วยในการวิเคราะห์JSA ร่วมกับ อสอช.ที่เข้าอบรม วันที่สอง อบรม อสอช แต่ละตำบลให้มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย การวิเคราะห์JSA การจัดทำแผนปฎิบัติการลดเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

3.การลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพคณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)และ อสอช.เป็นรายจังหวัด 7จังหวัดของสปสช.เขต12สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดข้อเสนอโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบโดยนายอะหมัด หรีขาหลี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

2.เกิดการบูรณาการแผน

ระหว่างโครงการถอดบทเรียน โครงการการติดตามประเมินและโครงการพัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

พื้นที่เขต12 สงขลา เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ชุดความรู้ และการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่

ค่าตอบแทนประจำเดือนพฤษภาคม 256330 พฤษภาคม 2563
30
พฤษภาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนพฤษภาคม 2563

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าตอบแทนประจำเดือนพฤษภาคม 2563

ประชุมการจัดทำโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โดยบูรณาการงานร่วมกับโครงการพัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ พื้นที่เขต12 สงขลา2 เมษายน 2563
2
เมษายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.พิจารณาโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ค้นแบบ โดยที่ประชุมคณะทำงานระดับเขตได้มีมติให้ อ.อะหมัด หลีขาหรี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งโครงการถอดบทเรียนมีงบในการบริหารจัดการส่วนหนึงในการจัดทำเวทีถอดบทเรียนเป็นรายจังหวัด และค่าตอบแทนชุดสังเคราะห์ความรู้พื้นที่ต้นแบบ (งานเขียน)ให้กับทีมพี่เลี้ยงcsd

2.เรื่องหลักสูตร อสอช. ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย จะมีการปรับหลักสูตรให้สั้นลง เพื่อให้เหมาะกับพื้นที่ จากเดิมใช้เวลา 2-3วัน ปรับระยะเวลาเหลือ 1½ วัน
วันแรก โค้ทพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงสามารถเป็นนักจัดกระบวนการ วิทยากรกลุ่มย่อย ช่วยในการวิเคราะห์JSA ร่วมกับ อสอช.ที่เข้าอบรม

วันที่สอง อบรม อสอช แต่ละตำบลให้มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย และวิเคราะห์JSA การจัดทำแผนปฎิบัติการลดเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

3.วางแผนการลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงและ อสอช.เป็นรายจังหวัด 7จังหวัดของ สปสช.เขต12สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดข้อเสนอโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ

2.เกิดการบูรณาการแผนระหว่างโครงการถอดบทเรียน โครงการการติดตามประเมิน และโครงการพัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ พื้นที่เขต12 สงขลาเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ชุดความรู้ และการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่

ึคืนเงินยืมค่าตอบแทนเงินประจำเดือนธันวาคม31 มีนาคม 2563
31
มีนาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนเงินยืมค่าตอบแทนประจำเดือนธันวาคม 2562

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนเงินยืมค่าตอบแทนประจำเดือนธันวาคม 2562

เคลียร์เงินปัตตานี31 มีนาคม 2563
31
มีนาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนเงินยืมเพื่อจัดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนเงินยืมเพื่อจัดกิจกรรม

ค่าตอบแทนประจำเดือนมีนาคม 256330 มีนาคม 2563
30
มีนาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนมีนาคม2563

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าตอบแทนประจำเดือนมีนาคม2563

ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์งวดที่ 129 กุมภาพันธ์ 2563
29
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์งวดที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์งวดที่ 1

ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไก กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เขต 12 สงขลา(ส่วนแผนงานกลาง)27 กุมภาพันธ์ 2563
27
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงผ่านกลไกกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่เขต12สงขลา เวลา 09.30 -15.30 น ณ ห้องประชุม สปสช.เขต12สงขลา

1.วัตถุประสงค์ 1.1.เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในระยะที่1 (สค.-ธค.62) 1.2.เพื่อทบทวนงานและวางแนวทางในการทำงานในระยะที่2 (มีค.-มิย.63)

2.สาระสำคัญในการดำเนินกิจกรรม/การประชุม 2.1.การจัดตั้งกลไก อสอช.ในระดับพื้นที่ 2.1.1. พื้นที่การทำงานของเขต12สงขลา ยังไม่มี อสอช.ในพื้นที่ / อสอช.ขาดศักยภาพ
2.1.2. ขาดหลักสูตร อสอช. 2.1.3.แนวทางแก้ไข
-กองทุนสุขภาพตำบลนำร่องมีการเพิ่มกิจกรรมจัดตั้งทีม อสอช.และพัฒนาศักยภาพ โดยใช้เงินกองทุนตำบล -หลักสูตร อสอช. ที่มีเนื้อหา 3วัน ใช้เวลามากเกินไปไม่เหมาะกับพื้นที่ จึงให้มีการปรับหลักสูตรอย่างง่ายสามารถนำไปใช้ได้เลย ระยะเวลา 1-2วัน

2.1.4.เป้าหมาย
-อสอช. มีศักยภาพในการเก็บข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลJSA
-อสอช.สามารถสนับสนุนปฎิบัติการในระดับพื้นที่ในการส่งเสริมป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยง/วิธีลดความเสี่ยงจากการทำงาน
-จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.ตามที่พื้นที่จังหวัดเป็นคนออกแบบตามบริบทของพื้นที่ เช่น การอบรมรวมในระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัด
-อสอช.มีการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลJSA เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
-อสอช.สามารถขยายและเปิดโอกาสให้กับกลุ่ม/เครือข่ายที่ขาดโอกาส กลุ่มอาชีพที่มีปัญหา กลุ่มด้อยโอกาสในพื้นที่
-ข้อมูลสามารถวัดได้ (ก่อนและหลัง)เพื่อชี้ให้เห็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

2.2.แผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ ให้มีการออกแบบพัฒนาข้อเสนอโครงการ ให้ครอบคลุมในประเด็น คือ -จัดตั้งทีมอสอช. ที่มีองค์ประกอบจากกลุ่ม /เครือข่าย เช่น อสม.,แกนนำกลุ่มอาชีพเสี่ยง,ผู้นำศาสนา,ผู้นำชุมชน ,ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) -มีการวิเคราะห์ข้อมูลJSA -การคืนข้อมูล/การวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มร่วมกัน -การจัดทำกติกา ข้อตกลงร่วม
-พื้นที่กองทุนบางตำบลที่ไม่มีงบประมาณ งบประมาณมีการจัดสรรไปหมดแล้วในปี63 ให้กองทุนมีการทำแผนไว้ในระบบเพื่อรองรับงบประมาณปี64

2.3.กระบวนการประเมินภายใน -ประเมินโดยกูเกิ้ลฟอร์ม ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมิน (ทีมพี่เลี้ยงเขต ประเมินพี่เลี้ยงจังหวัด) ประกอบด้วย นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ ,นส.ยุรี ,อาจารย์แสงอรุณ,อาจารย์ไพฑูรย์,อาจารย์เพ็ญ โดยทำการประเมินสมรรถนะพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ในเรื่องการจัดการข้อมูล,การจัดการเครือข่าย,การทำงานเป็นทีม,การสนับสนุนทีมในการทำงานร่วมกัน -ประเมิน อสอช. ผู้ทำหน้าที่ประเมิน (พี่เลี้ยงจังหวัด) ประเมินผลลัพธ์ การมีอสอช.เกิดขึ้นหรือไม่ เกิดโดยใช้กลไกอะไร,การประเมินความเสี่ยงด้านการประกอบอาชีพ คว่ามรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย -ประเมินตนเอง (พี่เลี้ยงจังหวัดประเมินตนเอง)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีเกณฑ์คุณสมบัติของ อสอช.ในระดับพื้นที่ ที่ประกอบด้วย

  • มีองค์ประกอบที่มาจากผู้นำ /เครือข่ายที่หลากหลาย เช่น อสม. ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา แกนนำชุมชน แกนนำกลุ่มอาชีพ

  • อสอช. มีศักยภาพในการเก็บข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลJSA

  • รู้จักแก้ปัญหา และปฎิบัติการในพื้นที่ได้

2.มีพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 11 ตำบลๆละ1กลุ่มอาชีพ ดังนี้

-จังหวัดสงขลา กองทุนตำบลแค ,ตำบลท่าหมอไทร

-จังหวัดพัทลุง กองทุนตำบลโคกม่วง

-จังหวัดปัตตานี (จำนวน 2ตำบล ขอกลับไปหารือในระดับพื้นที่ก่อน)

-จังหวัดยะลา กองทุนตำบลบาละ

-จังหวัดนราธิวาส กองทุนตำบลโคกเคียน ,กองทุนตำบลแว้ง

-จังหวัดตรัง กองทุนตำบลเขากอบ

-จังหวัดสตูล กองทุนตำบลปากน้ำ,กองทุนตำบลกำแพง

การประชุมเชิงปฎิบัติการการติดตามประเมินผลภายในและเสริมพลัง (ส่วนแผนงานกลาง)7 กุมภาพันธ์ 2563
7
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมคณะทำงานเขต12 สงขลา เข้าร่วมชี้แจงการดำเนินงานในระยะที่1 (สค.-ธค.62) ร่วมกับคณะทำงานแผนงานกลางและคณะทำงานของ สปสช.ในเขตภูมิภาคอื่นๆ จากการดำเนินงานเขต12 สงขลา มีความก้าวหน้าของงานที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ ดังนี้
1.มีกลไกระดับเขต จำนวน 14 คน กลไกระดับจังหวัด ทั้ง7 จังหวัดในพื้นที่ของ สปสช. จำนวน 70 กว่าคน กลไกจังหวัดยังมีข้อจำกัดในการทำงานในพื้นที่ ทีมคนทำงาน ความเข้าใจในบทบาทของตนเอง ยังมีการพึ่งพาจากเขตที่บางครั้งลงไปทำงานแทน (ซึ่งจะทำให้กลไกจังหวัดไม่เข้มแข็งในอนาคต) การทำงานระหว่างกลไกจังหวัด กับกลไกในระดับตำบล
2.ข้อมูลและการนำส่งผลงาน คือ
2.1.ขาดข้อมูลพื้นฐานกลุ่มอาชีพเสี่ยงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานโครงการ จำนวน 146ตำบล ซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการ แนวทางแก้ไขคณะทำงานเขตจะมีการประสานงานไปยังคณะทำงานในระดับจังหวัดในการคีย์ข้อมูลในกูเกิ้ลฟอร์ม
2.2.รายงานฉบับสมบรูณ์ในรูปแบบเล่ม และไฟล์ข้อมูล (ปรับล่าสุดตามกรอบของแผนงานกลาง) และรายงานการเงิน (เอ็กเซล) ยังไม่มีการส่ง แนวทางแก้ไข ปรับตามกรอบแผนงานกลางดำเนินงานให้เสร็จภายในเดือน กพ.63

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานเขต12ได้ร่วมออกแบบวางแผนการดำเนินงานระยะที่2 (มีค.-มิย.63) สิ่งที่ต้องทำต่อ คือ

1.1.มีข้อมูลความเสี่ยงและความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของกลุ่มเสี่ยง/ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง แรงงานนอกระบบ

1.2.มีพี่เลี้ยงตำบล 3-5คนต่อตำบล /และอสอช.5คน/ตำบล ซึ่งจะเป็นคณะทำงาน /ทีมปฎิบัติการในระดับพื้นที่

1.3.มีแผนการลดความเสี่ยงจากการทำงาน เช่น การปรับสภาพแวดล้อม กติกาข้อตกลงของกลุ่ม ฯลฯ

1.4.มีพื้นที่ต้นแบบ และนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการทำงาน


2.การทบทวนงานที่ผ่านมา

2.1.การทำความเข้าใจในระดับกลไกของเขต และกลไกจังหวัด เพื่อให้เห็นเป้าหมายร่วมกัน

2.2.จัดทำกรอบการทำงานให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการฯ (การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจังหวัด /อสอช.
2.3.การออกแบบการจัดการข้อมูลของกลุ่ม/เครือข่าย

ประชุมคณะทำงานระดับเขต12สงขลา(ทีมบริหารโครงการฯ)6 มกราคม 2563
6
มกราคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 6 มกราคม เวลา 13.00 น. ณ สปสช.เขต 12สงขลา คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับเขต และทีมบริหารโครงการ ได้ร่วมสรุปผลการดำเนินงานในงวดที่1 (สค.-ธค.62) โดยมีพี่เลี้ยงเข้าร่วมดังนี้ ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ ,ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ,นายบรรเจต นะแส ,นายวิเชียร มณีรัตนโชติ ,นางสาวยุรี แก้วชูช่วง ,นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี ,นางสาวคณิชญา แซนโทส จากการรายงานผลการดำเนินงานดังนี้ 1. รายงานผลจากการลงพื้นที่เป็นรายจังหวัด ทั้ง6 จังหวัด เพื่อชี้แจงโครงการฯแรงงานนอกระบบให้กับกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง ทำให้เห็นถึงสมรรถนะของพี่เลี้ยงในแต่ละจังหวัด ดังนี้

1.ผลที่เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ชีแจงกองทุน

1.1.จังหวัดยะลา จังหวัดตรัง ทำให้เห็นจุดของพี่เลี้ยงในการเข้าใจงาน เข้าใจโครงการฯ กระบวนการของเวทีพี่เลี้ยงระดับจังหวัดยังคงไม่สามารถทำกระบวนการได้ คณะทำงานเขตที่ลงไปยังเป็นคนหลักในการจัดการ ดังนั้นจึงได้ปรับวิธีการทำงานโดยมีการลงไปเตรียมในพื้นที่ก่อน ทำความเข้าใจกับพี่เลี้ยงเพื่อวางบทบาทร่วมกัน ถึงแม้จะเสียเวลา และมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากแผนเดิม แต่ก็เห็นประโยชน์ คือพี่เลี้ยงเข้าใจเนื้องาน มีการแบ่งบทบาท ความรับผิดชอบในการจัดประชุม
-นายบรรเจต นะแส สะท้อนจากการลงพื้นที่ พื้นที่จังหวัดสงขลา มีกระบวนการ /เนื้องานที่ได้ Input มากกว่ากระบวนการกลุ่มย่อย เนื่องจากห้องประชุมไม่ได้เอื้อในการจัดแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ จังหวัดนราธิวาส มีกระบวนการของกลุ่มย่อย กองทุนนำร่องได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มแรงงานในพื้นที่ จากการจัดเวทียังมีจุดอ่อนคือ ตัวของกลุ่มแรงงานนอกระบบที่อยู่ในพื้นที่ได้เข้ามาร่วมวางแผน /หรือออกแบบกิจกรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่กองทุน หรือคณะกรรมการกองทุน
-นายวิเชียร มณีรัตนโชติ สะท้อนจากการลงพื้นที่ จังหวัดพัทลุง พี่เลี้ยงเข้าใจเนื้องาน ดังนั้นในเวทีจะเห็นบทบาทของพี่เลี้ยงที่ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับกองทุนตำบลนำร่อง ดังนั้นในการทำงานของทีมเขต จะต้องประเมินว่า กลไกจังหวัดขาดอะไร และจะต้องเติมอะไร จึงควรมีการจัดเวทีสรุปบทเรียนในช่วงแรก เพื่อสะท้อนปัญหาอุปสรรค และการวางแผนงานต่อในระดับพื้นที่

2.แนวทางพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง

2.1. สนับสนุนให้เกิดการจัดการข้อมูลในพื้นที่

2.2. การนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน

2.3. การสรุปข้อมูล

2.4. การทำงานเป็นทีม

2.5. การวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบ/กลุ่มเสี่ยง ก่อนออกแบบโครงการ

2.6. ติดตามอย่างใกล้ชิด

2.7. เร่งรัดชุมชนให้มีแผน ให้ทำข้อมูลเรียนรู้เรื่องข้อมูล อสอช.

3.เกณฑ์ของพื้นที่ต้นแบบ
3.1. มี อสอช. ในพื้นที่

3.2. มีข้อมูล

3.3. มีแผนสุขภาพตำบล

4.หลักสูตร อสอช.(พัฒนาโดยอาจารย์แสงอรุณ) โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่มาเรียนรู้ คือ แกนนำชุมชน /อสม. /ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ที่ตั้งใจทำและพัฒนากลุ่มตนเอง

ดังนั้นกิจกรรมในเดือนถัดไป มค.-กพ.63 จัดให้มีประชุมกลไกจังหวัด เพื่อสรุปงาน/ ทบทวนงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ พื้นที่ที่เป็นตัวจริง (พื้นที่ในใจ) /โครงการฯสนับสนุนกลุ่มเสี่ยง ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนตำบล /ตัวตนของกลุ่มแรงงาน คือกลุ่มไหน ใครที่อยู่ในชุมชน / การทลายกรอบของท้องถิ่นที่ยังมองเฉพาะกลุ่มที่มีการขึ้นทะเบี่ยน หรือจดทะเบียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานมีการทบทวนงานที่ทำร่วมกันในระหว่างเดือน สค.-ธค. ทำให้เห็นวิธีการทำงานของทีมที่ลงสนับสนุนพื้นที่ (ซึ่งต้องมีการเตรียมตัวก่อน กิจกรรมแบ่งซอยเป็นกลุ่มกิจกรรมย่อย) และการปรับแผนการทำงาน ทำให้เกิดการเสริมศักยภาพของกลไกจังหวัด กลไกจังหวัดมีการเข้าใจงาน เข้าใจประเด็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น

2.มีการกำหนดแผนงาน การทำงานของทีมเขตในช่วงเดือน มค.-กพ.ในการประชุมติดตามงานของกลไกจังหวัด เพื่อสรุปและทบทวนงานร่วมกัน ให้ได้ผลลัพธ์ คือ ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง,พื้นที่ต้นแบบ35แห่ง,ข้อตกลงร่วมในระดับอำเภอ/จังหวัด ในประเด็นแรงงานนอกระบบ ,บทเรียนโครงการที่ดี

3.จากการติดตามงานในระบบเว้ปไซต์กองทุน ทำให้เห็นข้อมูลของการจัดทำแผนงาน/การพัฒนาข้อเสนอโครงการ ของกองทุนนำร่องทั้ง146 ตำบล กองทุนที่มีการพัฒนาข้อเสนอโครงการ และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนและเป็นโครงการที่ดี ที่มีการออกแบบกิจกรรมครอบคลุมในเนื้อหา ประเด็น มีการจัดตั้งทีม อสอช. และการพัฒนาศักยภาพอสอชในพื้นที่ / การจัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง / การจัดบริการสุขภาพกลุ่มเสี่ยง / การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของกลุ่มเสี่ยง มีจำนวน 4 โครงการ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย

1.โครงการแรงงานประมงสุขใจ ดูแลสุขภาพได้ ก่อนออกทะเล เทศบาลตำบลหนองจิก (ปีที่ 2 )

2.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเกษตรกรในตำบลตุยง ปี 63

3.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพในกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนรัก

4.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ตำบลนาประดู่

ค่าบริหารจัดการประจำเดือนธันวาคม 256230 ธันวาคม 2562
30
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดสตูล26 ธันวาคม 2562
26
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 -15.30 น. นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับเขต12สงขลา ได้เข้าร่วมชี้แจงโครงการแรงงานนอกระบบ ผ่านกลไกท้องถิ่น ให้กับคณะกรรมการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน จำนวน 20 กองทุน ในพื้นที่จังหวัดสตูล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการกองทุนจำนวน 20 พื้นที่มีความเข้าใจในการจัดทำแผนงงานกองทุน และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ประเด็นแรงงานนอกระบบ

ประชุมคณะทำงานระดับเขต1226 ธันวาคม 2562
26
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา 13.00-16.00 น ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา
ชั้น 3 อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย

1.ผศ.แสงอรุณ อิสระมาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2.ภก.สมชาย ละอองพันธ์ สปสช.เขต12สงขลา

3.นส.ยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ

4.นายวิเชียร มณีรัตนโชติ พี่เลี้ยงระดับเขต 12 สงขลา

5.นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ พี่เลี้ยงระดับเขต 12 สงขลา

6.นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี คณะทำงานโครงการฯ

7.นส.คณิชญา แซนโทส คณะทำงานโครงการฯ

เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.

นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ในระยะที่1 (สิงหาคม-ธันวาคม2562) ดังนี้ 1.การดำเนินกิจกรรมเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯร่วมกับแผนงานกลาง การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับจังหวัด การลงพื้นที่ จังหวัดเพื่อทำความเข้าใจชี้แจงกองทุน จำนวน 140 กองทุน และการประชุมติดตามงานของคณะทีมบริหารเขต

2.การรายงานกิจกรรม มีการบันทึกกิจกรรมในระบบเว้ปไซต์กองทุนสุขภาพตำบล มีหลักฐานประกอบด้วย ภาพถ่าย รายงานการเงิน

-นส.คณิชญา แซนโทส เอกสารการเงิน มีการดำเนินการจัดเก็บ เช่น บิลค่าใช้จ่าย ใบสำคัญรับเงิน ใบยืม คืน เงินทดลองจ่ายในส่วนที่สนับสนุนจังหวัดละ 20,000 ในงวดที่1

-นส.ยุรี แก้วชูช่วง ในการลงพื้นที่ชี้แจงกองทุน บางจังหวัดยังไม่เห็นศักยภาพของพี่เลี้ยงในกระบวนการเวที เนื่องจากการขาดการประชุมเตรียม ทำให้ดูเหมือนเขตทำเอง ซึ่งยังคงอยากให้ยึดหลักของเวที 8-9ตค.ที่หาดแก้ว เกี่ยวกับการทำความเข้าใจของพี่เลี้ยงที่มาอบรม และหลังจากอบรมต้องกลับไปทำความเข้าใจกับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วม

-ภก.สมชาย ละอองพันธ์ ในการติดตามงาน เขต12มีกระบวนการทำงานที่ผ่านระบบเว้ปไซต์ กองทุนต้องมีแผน และการพัฒนาโครงการในระบบ ซึ่งพี่เลี้ยงจะได้มีการติดตามงานได้

-อาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย ในส่วนของการประเมินภายในตอนนี้ได้จัดทำหลักสูตร อสอช. ไว้แล้ว ส่วนการลงพื้นที่จะใช้กลไกเขตในการลงไปทำงาน และการเก็บข้อมูล ในการเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพเสี่ยง พื้นที่เข้มข้นเก็บทุกกลุ่มอาชีพ เก็บ25%

สรุปข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนดังนี้

1.งบประมาณสนับสนุนในงวดที่1 มีการดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จ มีการติดลบค่าใช้จ่ายของพื้นที่สตูลและค่าตอบแทนผู้ประสานงานโครงการฯ

2.เขตต้องทำแผนงวดที่2 ,ส่งเอกสารการเงินให้กับแผนงานกลาง,และสรุปรายงานประจำงวด

3.ให้ทาง นส.อารีย์ ได้ประสานพี่เลี้ยงและคณะทำงานโครงการฯ ประกอบด้วย นายวิเชียร มณีรัตนโชติ,นายบรรเจต นะแส ,นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ในการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจังหวัด

4.การสรุปรายงานประจำงวด นส.อารีย์ ดำเนินการเขียนรายงานและให้ทางอาจารย์แสงอรุณ ช่วยดูข้อมูลอีกครั้งเพื่อความสมบรูณ์

5.แผนการดำเนินงานในระยะที่2 (มค-มิย.63) ประกอบด้วย

-เวทีสรุปและทบทวนการทำงานช่วงที่1 ทบทวนและปรับศักยภาพพี่เลี้ยง

-การนำเสนอแผนสุขภาพตำบล (แรงงานนอกระบบ) และร่างโครงการรายจังหวัด

-พัฒนากลไก หลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัย( อสอช.)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดรุปแบบแผนการดำเนินงานในระยะที่2

2.คณะทำงานได้ร่วมการทบทวนการทำงานในระยะที่1 ทำให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของการทำงานในระดับพื้นที่

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดนราธิวาส 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)16 ธันวาคม 2562
16
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมสวนอาหารริมน้ำ อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส พี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส จัดประชุมชี้แจงกองทุนนำร่อง 20 พื้นที่ โดยมีคณะทำงานเขต12 นายบรรเจต นะแส นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี นส.คณิชญา แซนโทส เข้าร่วมประชุมร่วม
นายเสรี แซะ หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตร (ประธานพี่เลี้ยงจังหวัดนรา) ได้กล่าวต้อนรับกองทุนที่เข้าร่วมประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม
นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน พูดเกี่ยวกับความสำคัญในเรื่องอาชีวอนามัยของกลุ่มแรงงงานนอกระบบ
แบ่งกลุ่มย่อยกองทุนตามโซนอำเภอ เพื่อร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ และความเสี่ยงจากการทำงาน โดยให้มีพี่เลี้ยงจังหวัดประจำแต่ละกลุ่ม

  • กลุ่ม 1 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอเมือง อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ,นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง ,นายรุสลัน บือราเฮ็ง ,นายอภินันท์ เปาะอีแต

  • กลุ่ม 2 กองทุนพื้นที่เขต อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายเสรี เซะ, นายยาห์ยา อะยูยา,นางปารีดะห์ แก้วกรด

  • กลุ่ม 3 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโกลก อำเภอสุไหปาดี พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายสวรรค์ สาและ ,นายอายิ หะมาดุลลาห์ ,นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีแผนการติดตามกองทุนในพื้นที่ โดยทีมพี่เลี้ยง 10 คน ( พี่เลี้ยง 1คน รับผิดชอบคนละ 2 กองทุน )ดังนี้

  • 1 นายเสรี เซะ รับผิดชอบ ทต.มะรือโบตก /อบต.ดุซงญอ

  • 2 นางปารีดะห์ แก้วกรด รับผิดชอบ อบต.ปะลุกาสาเมาะ /ทต.กาลิซา

  • 3 นายสวรรค์ สาและ รับผิดชอบ ทต.แว้ง /อบต.แว้ง

  • 4 นายอายิ หะมาดุลลาห์ รับผิดชอบ ทม.สุไหงโกลก /อบต.สุไหงปาดี

  • 5 นายยาห์ยา อะยูยา รับผิดชอบ อบต.ผดุงมาตร /อบต.จะแนะ

  • 6 นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ รับผิดชอบ ทต.บูเก๊ะตา /อบต.โละจูด

  • 7 นายอภินันท์ เปาะอีแต รับผิดชอบ อบต.ลุโบะบือซา /อบต.บางปอ

  • 8 นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ รับผิดชอบ อบต.โคกเคียน /อบต.ลำภู

  • 9 นายรุสลัน บือราเฮ็ง รับผิดชอบ ทม.นราธิวาส /อบต.จอเบาะ

  • 10 นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง รับผิดชอบ อบต.มะนังตายอ /ทต.ต้นไทร

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการ ฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ การพัฒนาโครงการ จังหวัดนราธิวาส16 ธันวาคม 2562
16
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมสวนอาหารริมน้ำ อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส พี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส จัดประชุมชี้แจงกองทุนนำร่อง 20 พื้นที่ โดยมีคณะทำงานเขต12 นายบรรเจต นะแส นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี นส.คณิชญา แซนโทส เข้าร่วมประชุมร่วม
นายเสรี แซะ หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตร (ประธานพี่เลี้ยงจังหวัดนรา) ได้กล่าวต้อนรับกองทุนที่เข้าร่วมประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม
นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน พูดเกี่ยวกับความสำคัญในเรื่องอาชีวอนามัยของกลุ่มแรงงงานนอกระบบ
แบ่งกลุ่มย่อยกองทุนตามโซนอำเภอ เพื่อร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ และความเสี่ยงจากการทำงาน โดยให้มีพี่เลี้ยงจังหวัดประจำแต่ละกลุ่ม

  • กลุ่ม 1 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอเมือง อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ,นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง ,นายรุสลัน บือราเฮ็ง ,นายอภินันท์ เปาะอีแต

  • กลุ่ม 2 กองทุนพื้นที่เขต อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายเสรี เซะ, นายยาห์ยา อะยูยา,นางปารีดะห์ แก้วกรด

  • กลุ่ม 3 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโกลก อำเภอสุไหปาดี พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายสวรรค์ สาและ ,นายอายิ หะมาดุลลาห์ ,นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ

การวางแผนการติดตามกองทุนในพื้นที่ โดยทีมพี่เลี้ยง 10 คน ( พี่เลี้ยง 1คน รับผิดชอบคนละ 2 กองทุนดังนี้ )

  • 1 นายเสรี เซะ รับผิดชอบ ทต.มะรือโบตก /อบต.ดุซงญอ

  • 2 นางปารีดะห์ แก้วกรด รับผิดชอบ อบต.ปะลุกาสาเมาะ /ทต.กาลิซา

  • 3 นายสวรรค์ สาและ รับผิดชอบ ทต.แว้ง /อบต.แว้ง

  • 4 นายอายิ หะมาดุลลาห์ รับผิดชอบ ทม.สุไหงโกลก /อบต.สุไหงปาดี

  • 5 นายยาห์ยา อะยูยา รับผิดชอบ อบต.ผดุงมาตร /อบต.จะแนะ

  • 6 นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ รับผิดชอบ ทต.บูเก๊ะตา /อบต.โละจูด

  • 7 นายอภินันท์ เปาะอีแต รับผิดชอบ อบต.ลุโบะบือซา /อบต.บางปอ

  • 8 นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ รับผิดชอบ อบต.โคกเคียน /อบต.ลำภู

  • 9 นายรุสลัน บือราเฮ็ง รับผิดชอบ ทม.นราธิวาส /อบต.จอเบาะ

  • 10 นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง รับผิดชอบ อบต.มะนังตายอ /ทต.ต้นไทร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เจ้าหน้าที่กองทุนเข้าใจแนวทางการใช้เครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง โดยใช้ (แอพลิเคชั่น)

  • มีข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนและพัฒนาโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

  • พี่เลี้ยงมีความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ แรงงานนอกระบบ

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดสงขลา 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)12 ธันวาคม 2562
12
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น.-15.30 น. พี่เลี้ยงจังหวัดสงขลาจัดประชุมชีแจงโครงการฯแรงงานนอกระบบ ให้กับ กองทุนนำร่อง ในพื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จำนวน 20 กองทุน
- นายธนพนธ์ จรสุวรรณ ผอ.รพ.สต.ท่าหมอไทร อธิบายความสำคัญ และการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มแรงงานนอกระบบ
- อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี อธิบายการจัดทำแผน และการะพัฒนาโครงการ แรงงานนอกระบบ ให้กับกองทุนที่เข้าร่วม กองทุนฯร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ ดังนี้

  • ต.ท่าหมอไทร สถานการณ์แรงงานอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /รับจ้างทั่วไป / ทำนา

  • ต.ขุนตัดหวาย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /ค้าขาย/รับจ้างทั่วไป

  • ต.แค สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/ทำขนม/ปรุงอาหาร

  • ต.คู สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.ตลิ่งชัน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /รับจ้างแกะปูปลา/รับซื้อของเก่า/เก็บขยะ

  • ต.น้ำขาว สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/แม่ค้า

  • ต.สะพานไม้แก่น สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / รับจ้างยกไม้ยาง/รับจ้างตัดหญ้าสวนยางพารา/สวนผลไม้

  • ทต.บ้านนา สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

  • ทต.นาทับ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /ร้านซ่อมมอเตอร์ไชค์/โรงกลึง/สวนแตงโม

  • ต.ป่าชิง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.จะโหนง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ปลูกผัก

  • ต.นาหว้า สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา

  • ต.สะกอม สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง /ออกทะเล /ปลดปู/ผูกอวน/ปลูกผัก/สวนยางพารา/แม่ค้า

  • ทต.นาทวี สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ แม่ค้าตลาดสด / พนักงานเก็บขยะ /

  • ทต.นาทวีนอก สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้/พนักงานเก็บขยะ

  • ต.คลองทราย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ทับช้าง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ท่าประดู่ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/เกษตรกรปลูกผัก

  • ต.ประกอบ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง

  • ต.สะท้อน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

การวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการทำงาน

  • สารเคมี

  • ท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่ง การยืน การก้ม เป็นต้น

  • ระยะเวลาในการนั่งทำงานที่นานเกิน ไม่ได้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือการปรับท่าทาง ทำให้ป่วย และมีการอาการปวดเมื่อย

  • อุบัติเหตุ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือช่าง

  • สายตา

  • ฝุ่นละออง

  • สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ เป็นต้น

  • การสัมผัสเชื้อโรค เช่น คนเก็บขยะ

กองทุนที่ไม่ได้เข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ ทต.จะนะ / ต.ฉาง /ต.นาหมอศรี /ต.ปลักหนู และต.คลองกวาง ทางพี่เลี้ยงจังหวัดจะมีการนัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดทีมพี่เลี้ยงกองทุนที่มีจิตอาสา จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ต.ประดู่ /ทต.นาทวี/ต.ท่าหมอไทร และต.สะกอม
  • กองทุนนำร่องมีความเข้าใจในการจัดทำแผน และโครงการแรงงานนอกระบบ
  • มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการเสนอต่อกองทุนสุขภาพตำบลในระดับท้องถิ่นได้
  • เจ้าหน้าที่กองทุนเข้าใจแนวทางการใช้เครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูล(แอพลิเคชั่น)
ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ การพัฒนาโครงการ จังหวัดสงขลา12 ธันวาคม 2562
12
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น.-15.30 น. พี่เลี้ยงจังหวัดสงขลาจัดประชุมชีแจงโครงการฯแรงงานนอกระบบ ให้กับ กองทุนนำร่อง ในพื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จำนวน 20 กองทุน
- นายธนพนธ์ จรสุวรรณ ผอ.รพ.สต.ท่าหมอไทร อธิบายความสำคัญ และการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มแรงงานนอกระบบ
- อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี อธิบายการจัดทำแผน และการะพัฒนาโครงการ แรงงานนอกระบบ ให้กับกองทุนที่เข้าร่วม กองทุนฯร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ ดังนี้

  • ต.ท่าหมอไทร สถานการณ์แรงงานอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /รับจ้างทั่วไป / ทำนา

  • ต.ขุนตัดหวาย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /ค้าขาย/รับจ้างทั่วไป

  • ต.แค สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/ทำขนม/ปรุงอาหาร

  • ต.คู สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.ตลิ่งชัน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /รับจ้างแกะปูปลา/รับซื้อของเก่า/เก็บขยะ

  • ต.น้ำขาว สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/แม่ค้า

  • ต.สะพานไม้แก่น สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / รับจ้างยกไม้ยาง/รับจ้างตัดหญ้าสวนยางพารา/สวนผลไม้

  • ทต.บ้านนา สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

  • ทต.นาทับ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /ร้านซ่อมมอเตอร์ไชค์/โรงกลึง/สวนแตงโม

  • ต.ป่าชิง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.จะโหนง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ปลูกผัก

  • ต.นาหว้า สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา

  • ต.สะกอม สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง /ออกทะเล /ปลดปู/ผูกอวน/ปลูกผัก/สวนยางพารา/แม่ค้า

  • ทต.นาทวี สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ แม่ค้าตลาดสด / พนักงานเก็บขยะ /

  • ทต.นาทวีนอก สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้/พนักงานเก็บขยะ

  • ต.คลองทราย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ทับช้าง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ท่าประดู่ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/เกษตรกรปลูกผัก

  • ต.ประกอบ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง

  • ต.สะท้อน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

การวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการทำงาน

  • สารเคมี

  • ท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่ง การยืน การก้ม เป็นต้น

  • ระยะเวลาในการนั่งทำงานที่นานเกิน ไม่ได้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือการปรับท่าทาง ทำให้ป่วย และมีการอาการปวดเมื่อย

  • อุบัติเหตุ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือช่าง

  • สายตา

  • ฝุ่นละออง

  • สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ เป็นต้น

  • การสัมผัสเชื้อโรค เช่น คนเก็บขยะ

กองทุนที่ไม่ได้เข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ ทต.จะนะ / ต.ฉาง /ต.นาหมอศรี /ต.ปลักหนู และต.คลองกวาง ทางพี่เลี้ยงจังหวัดจะมีการนัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดทีมพี่เลี้ยงกองทุนที่มีจิตอาสา จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ต.ประดู่ /ทต.นาทวี/ต.ท่าหมดไทร และต.สะกอม
  • กองทุนนำร่องมีความเข้าใจในการจัดทำแผน และโครงการแรงงานนอกระบบ
  • มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการเสนอต่อกองทุนสุขภาพตำบลในระดับท้องถิ่นได้
  • เจ้าหน้าที่กองทุนเข้าใจแนวทางการใช้เครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูล(แอพลิเคชั่น)
ลงพื้นที่ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดนราธิวาสเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ9 ธันวาคม 2562
9
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมร้านอาหารนาแซ อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส พี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส จำนวน 10 คน ได้ประชุมร่วมกับ คณะทำงานเขต12 นำโดยนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี นส.คณิชญา แซนโทส
นายอภินันท์ เปาะอีแต พี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาสกล่าวต้อนรับคณะทำงานจากเขต และแนะนำพี่เลี้ยงกลไกจังหวัดนราฯ รับผิดชอบในประเด็นแรงงานนอกระบบ มีการทบทวนสถานการณ์ของทีมหลังจากที่มีตัวแทนที่มาร่วมเวทีพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง ณ.รร.หาดแก้วรีสอร์ท อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ดังนี้

-พื้นทีอำเภอสุไหปาดี มีการลงไปทำความเข้าใจจำนวน 4 พื้นที่ และมี 1 พื้นที่พร้อมจะเสนอโครงการผลกระทบจากการทำงาน ซึ่งกองทุนในพื้นที่สุไหปาดี ส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้องค์กรชุมชนที่เสนอโครงการอยู่ในงบประมาณ 20,000 บาท

-พื้นที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เคยทำประเด็นแรงงงานนอกระบบในช่วงปี2591 มาก่อนและได้ทำกับกลุ่มสานสื่อกระจูด ได้มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในปีนี้จะขยับใน5 ชุมชน และจะมีการให้แต่ละพื้นที่ได้นำเสนอปัญหาและค้นหาปัญหาของตนเอง โดยจะทำในกลุ่มประมง , กลุ่มสานสื่อกระจูด ,กลุ่มปักผ้า เย็บผ้า เป็นต้น

-พื้นที่ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ สถานการณ์ของแรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มเกษตรกรรม เช่น การทำสวนยาง สวนผลไม้ เกษตรกรมีผลกระทบจาการใช้สารเคมี โดยมีเป้าหมายที่จะลดการใช้สารเคมี

-พื้นที่ตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มที่แปรรูปอาหาร เช่น ทุเรียนกวน กลุ่มเกษตรกร เช่น กลุ่มทำนา,และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

กระบวนการของเวทีชีแจงกองทุน

  • นายเสรี แซะ หน.สน.ปลัด อบต.ผดุงมาตร เป็นวิทยากรดำเนินรายการ ซึ่งจะกล่าวต้อนรับกองทุน ชีแจงวัตถุประสงค์การประชุม

  • นายพิรัช ตั้งผดุงวงศ์ ผอ.รพ.สต.โคกเคียน อธิบายและพูดถึงความสำคัญและการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มแรงงงานนอกระบบ

  • นายอภินันท์ เปาะอิแต เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน อบต.โคกเคียน ทำหน้าที่ในการประสานงาน

การแบ่งกลุ่มย่อยกองทุนตามโซนอำเภอ เพื่อให้กองทุนได้วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มแรงงานในพื้นที่ และความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน ประกอบด้วย

  • กลุ่ม 1 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอเมือง อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ,นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง ,นายรุสลัน บือราเฮ็ง ,นายอภินันท์ เปาะอีแต

  • กลุ่ม 2 กองทุนพื้นที่เขต อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายเสรี เซะ, นายยาห์ยา อะยูยา,นางปารีดะห์ แก้วกรด

  • กลุ่ม 3 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโกลก อำเภอสุไหปาดี พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายสวรรค์ สาและ ,นายอายิ หะมาดุลลาห์ ,นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงจังหวัดได้เข้าใจในโครงการฯ แรงงานนอกระบบ และมีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบงาน

  • พี่เลี้ยงสามารถวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่กองทุนที่รับผิดชอบได้

การบริหารจัดการโครงการ เดือนพฤศจิกายน 256230 พฤศจิกายน 2562
30
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

ลงพื้นที่ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดสงขลาเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ30 พฤศจิกายน 2562
30
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 13.00 น. ห้องประชุม รร.คลิสตัส อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอะหมัด หลีขาหรี และนายธนพนธ์ จรสุวรรณ พี่เลี้ยงจังหวัดสงขลา ร่วมประชุมกับคณะทำงานระดับเขต 12 ประกอบด้วย นายบรรเจต นะแส นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี นส.คณิชญา แซนโทส
พื้นที่ของจังหวัดสงขลา นำร่องใน2อำเภอ คืออำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จำนวน 20 กองทุน ในการเตรียมกระบวนการของเวที จะมอบให้ทาง อ.อะหมัดได้อธิบายการจัดทำแผนงาน /ร่างโครงการ ในระบบเว้ปไซต์กองทุน นายธนพนธ์ จรสุวรรณ พูดประเด็นอาชีวอนามัยของกลุ่มแรงงาน เพื่อให้กองทุนนำร่องเข้าใจและเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.พี่เลี้ยงจังหวัดได้มีการวางแผน แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน ในเวทีชี้แจงโครงการให้กับกองทุนนำร่อง 20พื้นที่

2.ในกลไกจังหวัดสงขลา จะมีการสรรหาพี่เลี้ยงกองทุนเข้ามาช่วยงานเพิ่มเติม เนื่องจากยังขาดบุคคลากรในการช่วยงานในพื้นที่

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดพัทลุง26 พฤศจิกายน 2562
26
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 -15.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง พี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุงได้จัดประชุมชีแจงแนวทางการดำเนินงานกองทุน ในการเคลื่อนประเด็นแรงงานนอกระบบ /หรือ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีกองทุนนำร่อง จำนวน 20 กองทุน เข้าร่วม คณะทำงานระดับเขต12สงขลา ประกอบด้วย นายวิเชียร มณีรัตนโชติ ,นส.ยุรี แก้วชูช่วง ,นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี ,นส.คณิชญา แซนโทส และนายฐากูร ปราบปรี ร่วมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแรงงานนอกระบบและการจัดทำฐานข้อมูลอาชีวอนามัย โดยใช้เครื่องมือแอพพลิเคชั่น

-ปฎิบัติการให้กองทุนที่เข้าร่วมได้วิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่กองทุนเป็น 5 กลุ่มย่อย เพื่อช่วยกันวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ และความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน /การประกอบอาชีพ ดังนี้

  • เกษตรกรรม เช่น สวนยางพารา, ทำนา,ปลูกผัก,ปลูกดอกไม้,ทำสวน ,เลี้ยงสัตว์,เลี้ยงผึ้ง และรวมกลุ่มทำอาชีพเสริม เช่น กลุ่มเครื่องแกง ,กลุ่มยาสมุนไพร,กลุ่มปลาร้า,กลุ่มหน่อไม้ดองเย็บผ้า,สับหมาก,กลุ่มกล้วยฉาบ,กลุ่มจักสาน

  • บริการ /รับจ้างทั่วไป เช่น ช่างเสริมสวย ช่างก่อสร้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ขับรถรับจ้าง ,ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า,นวดแผนไทย,ค้าขาย, เต้น เครื่องครัว(ให้เช่า) ,รับเหมาก่อสร้าง,ช่างซ่อมรถ

  • อุตสาหกรรม เช่น ฟาร์มไก่/ฟาร์มหมู,โรงงานยาง ,โรงไม้ ,โรงน้ำแข็ง,โรงเผาถ่าน

ความเสี่ยงจากการทำงาน /การประกอบอาชีพ

  • อุบัติเหตุจากเครื่องจักร ,เครื่องมือ อุปกรณ์ ,

  • ท่าทางการทำงาน การยกของหนัก การปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย

  • การสัมผัสสารเคมี ทำให้เกิดโรค เช่น โรคผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ สภาพแวดล้อม(ดิน น้ำ ป่า )

  • อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ยุง

  • โรคติดต่อ เช่น โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคที่เกี่ยวกับสายตา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงจังหวัดมีความเข้าใจในการเคลื่อนงาน โครงการแรงงานนอกระบบ และสามารถทำให้กองทุนที่เข้าร่วมสามารถออกแบบกิจกรรมได้ โดยได้มีข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน คือ
1.การเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ จะเก็บอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็น

2.มีแผนงาน /โครงการ แรงงงานนอกระบบ ส่งในช่วงเดือน มค.63 เพื่อให้พี่เลี้ยงประจำกลุ่มได้เข้าไปติดตามในระบบและการลงพื้นที่

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดพัทลุง 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)26 พฤศจิกายน 2562
26
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 -15.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง พี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุงได้จัดประชุมชีแจงแนวทางการดำเนินงานกองทุน ในการเคลื่อนประเด็นแรงงานนอกระบบ /หรือ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีกองทุนนำร่อง จำนวน 20 กองทุนเข้าร่วม

ช่วงเช้า กองทุนร่วมวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบ แบ่งพื้นที่กองทุนเป็น 5 กลุ่มย่อย คือ

กลุ่มที่1. ทม.พัทลุง ทต.นาโหนด ทต.ท่ามิหรำ ทต.ชัยบุรี

กลุ่มที่2. ทต.โคกม่วง อบต.เขาชัยสน ทต.คลองท่อม

กลุ่มที่3. ทต.โคกชะงาย ทต.ลำสินธิ์ ทต.บ้านนา

กลุ่มที่4. ทต.ท่ามิหรำ ทต.พญาขัน อบต.เขาปู่

กลุ่มที่5. ทต.โตนดด้วน ทต.บ้านพร้าว อบต.ชะมวง ทต.ควนขนุน

ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบ /ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงในพื้นที่ ประกอบด้วย

-เกษตรกรรม เช่น สวนยางพารา, ทำนา,ปลูกผัก,ปลูกดอกไม้,ทำสวน ,เลี้ยงสัตว์,เลี้ยงผึ้ง และรวมกลุ่มทำอาชีพเสริม เช่น กลุ่มเครื่องแกง ,กลุ่มยาสมุนไพร,กลุ่มปลาร้า,กลุ่มหน่อไม้ดองเย็บผ้า,สับหมาก,กลุ่มกล้วยฉาบ,กลุ่มจักสาน

-บริการ /รับจ้างทั่วไป เช่น ช่างเสริมสวย ช่างก่อสร้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ขับรถรับจ้าง ,ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า,นวดแผนไทย,ค้าขาย, เต้น เครื่องครัว(ให้เช่า) ,รับเหมาก่อสร้าง,ช่างซ่อมรถ

-อุตสาหกรรม เช่น ฟาร์มไก่/ฟาร์มหมู,โรงงานยาง ,โรงไม้ ,โรงน้ำแข็ง,โรงเผาถ่าน

ความเสี่ยงจากการทำงาน /การประกอบอาชีพ

  • อุบัติเหตุจากเครื่องจักร ,เครื่องมือ อุปกรณ์ ,

  • ท่าทางการทำงาน การยกของหนัก การปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย

  • การสัมผัสสารเคมี ทำให้เกิดโรค เช่น โรคผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ สภาพแวดล้อม(ดิน น้ำ ป่า )

  • อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ยุง

  • โรคติดต่อ เช่น โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคที่เกี่ยวกับสายตา

ช่วงบ่าย กองทุนร่วมจัดทำแผน /พัฒนาร่างโครงการ ประเด็นแรงงานนอกระบบ

  • พื้นที่กองทุน ต.ชะมวง ทต.โตนดด้วน ทต.นาท่อม พัฒนาโครงการกลุ่มเกษตร ทำนา

  • พื้นที่กองทุนทต.ลำสินธิ์ พัฒนาโครงการ กลุ่มเครื่องแกง

  • พื้นที่กองทุนทต.บ้านพร้าว พัฒนาโครงการ กลุ่มเสริมสวย

  • พื้นที่กองทุน ทต.โคกชะงาย อบต.เขาปู่ พัฒนาโครงการ กลุ่มคนต้ดหญ้าจ้าง กลุ่มตัดยางจ้าง

  • พื้นที่กองทุน ต.ควนมะพร้าว ทต.พญาขันธ์ พัฒนาโครงการ กลุ่มอาชีพแม่ค้า เกษตรกรปลูกผัก

  • พื้นที่กองทุนทต.ควนขนุน พัฒนาโครงการ กลุ่มโรงขนมจีน กลุ่มย้อมผ้า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงจังหวัดมีความเข้าใจในการเคลื่อนงาน โครงการแรงงานนอกระบบ และสามารถทำให้กองทุนที่เข้าร่วมสามารถออกแบบกิจกรรมได้ โดยได้มีข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน คือ
1.การเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ จะเก็บอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็น

2.มีแผนงาน /โครงการ แรงงงานนอกระบบ ส่งในช่วงเดือน มค.63 เพื่อให้พี่เลี้ยงประจำกลุ่มได้เข้าไปติดตามในระบบและการลงพื้นที่

ลงพื้นที่ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดพัทลุงเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ24 พฤศจิกายน 2562
24
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 13.00 น. ร้านรสทิพย์ คอมฟี่ จังหวัดพัทลุง นายวิเชียร มณีรัตนโชติและ นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานเขต ลงพื้นที่ประชุมกับพี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุง เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมประชุมชี้แจงกองทุน โดยมีพี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุงเข้าร่วมจำนวน 3 คน มีการทำความเข้าใจบทบาทภาระกิจ หน้าที่ ของพี่เลี้ยงจังหวัดและวางแผนการทำงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายวิเชียร มณีรัตนโชติ คณะทำงานเขต ได้เสนอข้อคิดเห็น  ดังนี้

กลไกลการทำงาน

1.กลไกลการทำงานของกลไกจังหวัดควรที่จะกระจายในทุกอำเภอเพื่อให้เกิดแรงส่งในการทำงานให้มากที่สุด

2.กลไกลจังหวัดจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และรอบรู้เรื่องแรงงานนอกระบบพอสมควรพร้อมที่จะถ่ายทอดได้

3.กลไกลจังหวัดต้องมีการวางแผนการทำงานและการทำงานเป็นทีมเพื่อจะช่วยผ่อนแรงกันได้

การคัดเลือกพื้นที่

1..ต้องมีการกระจายให้ครอบคลุมทุกอำเภอเพื่อพร้อมที่จะขยายในเฟรสต่อไป

2.มีแกนนำที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนงานพร้อมมีการสร้างกลไกลไว้รองรับ

3.ตัวผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมจะต้องลงไปประเมินหรือวิเคราะห์ประเด็นที่จะเคลื่อนในตำบลตัวเองให้ชัดต้องดูว่ากลุ่มนั้นพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้กับทีมตำบลเข้าไปดำเนินการได้ไหม

4.มีการกำหนดแผนงานที่จะขับเคลื่อนและวางทิศทางการขับเคลื่อนให้ชัด

5.เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วจำเป็นที่จะต้องมีการส่งต่อกลุ่มเป้าหมายดังนั้นพื้นที่ต้องมีการทำงานในลักษณะเชื่อมโยงให้เป็น

ความเห็นตรงของพื้นที่

จังหวัดพัทลุง

1.เห็นภาพการวางตัวของกลไกลการทำงานและเห็นคนทำงาน เป็นเพราะมีการวางแผนไว้ก่อน(การเตรียมตัวก่อน) และคนที่เป็นแกนหลักเข้าใจเนื้องาน

2.มีการมอบหมายทีมรับผิดชอบพื้นที่ที่ชัดเจน พร้อมทั้งมอบโจทย์ให้กับพื้นที่ชัด

3.ผู้เข้าร่วมมีการตั้งคำถามหลายประเด็นแสดงให้เห็นว่าพื้นที่มีความพร้อมคนทำงานมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนงาน

ข้อสังเกตุของพัทลุง

4.น่าจะมีการขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกอำเภอ

5.อาจจะต้องมีการหาแกนนำใหม่ๆเข้ามาร่วมให้มากกว่าที่มีอยู่

ข้อสังเกตกับทีมเขต

1.ให้ทบทวนวิธีการจัดทำโครงขาขึ้นของแต่ละจังหวัดให้ชัด รวมทั้งการทบทวนรูปแบบเวที ว่าควรให้ความสำคัญกับเรื่องไหนก่อน เรื่องไหนควรไว้ในช่วงถัดไป

2.ต้องวางจังหวะก้าวของทีมเพื่อที่จะหนุนเสริมทีมจังหวัด โดยจัดทำเป็นแผนและกำหนดปฏิทินงานออกมาให้เป็นMapping ของทีมเขต

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯรายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดตรัง18 พฤศจิกายน 2562
18
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดตรังจัดประชุมชี้แจงแนวทางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุน จำนวน 20 กองทุน โดยมีกองทุนเข้าร่วม 17 กองทุน จากอำเภอห้วยยอด อำเภอรัษฎา อำเภอเมืองสิเกา อำเภอนาโยง และอำเภอวังวิเศษ ผู้เข้าร่วมชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับประเด็นแรงงานอกระบบ และทำความเข้าใจภาพรวมขอโครงการฯ และการดำเนินงานกองทุนในประเด็นแรงงานนอกระบบโดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา
คณะทำงานระดับเขตนายวิเชียร มณีรัตนโชติและ นางสาวยุรี แก้วชูช่วง แบ่งกลุ่มให้กองทุนวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ จำนวน 2 กลุ่ม กองทุนร่วมวิเคราะห์และนำเสนอกลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 กองทุนในพื้นที่อำเภอห้วยยอด
-ช่างซ่อมรถ -ช่างเสริมสวย /ช่างตัดผม -คนงานโรงน้ำแข็ง -ผู้ประกอบการร้านอาหาร -กลุ่มผลไม้ (ฝรั่ง มะละกอ ) -แรงงานแบกไม้ยาง -รับจ้างพายเรือ -กลุ่มรับซื้อน้ำยางสด -คนงานเก็บขยะ -รับจ้างฉีดหญ้า -อาชีพเผาถ่าน -ผู้ประกอบการกลุ่มเลี้ยงสัตว์ -กลุ่มรับจ้างด้านเกษตรกรรม -ผู้ประกอบการอาบอบนวด -กลุ่มประมงน้ำจืด -แรงงานก่อสร้าง -พ่อค้า แม่ค้า -ช่างตัดเย็บเสื้อ -กลุ่มแกะสลักไม้เทพธาโร -กลุ่มรับซื้อของเก่า

ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ดังนี้-สารเคมี สารตะกั่ว มลพิษทางเสียง -สารเคมีที่ใช้ทำสีผม ยืดผม -สารฟอมาลีน -ควันไฟ กลิ่น สารปนเปื้อน -สารเคมีกำจัดศัตรูพืช -ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ -สารเคมีสำหรับเติมน้ำยาง -สารเคมี เชื้อโรค -ควัน ฝุ่นละออง -กลิ่น เชื้อโรคจากสัตว์ -อุบัติเหตุ -โรคทางผิวหนัง -โรคฉี่หนู โรคหวัด -โรคทางสายตา -โรคจากยุง และแมลง

กลุ่มที่ 2 กองทุนในพื้นที่ อำเภอรัษฏา /อำเภอเมือง /อำเภอสิเกา /อำเภอนาโยง และอำเภอวังวิเศษ
-แม่ค้า -ช่างเสริมสวย -ช่างเชื่อม -คนแบกไม้ -แรงงานก่อสร้าง -ลูกจ้างทั่วไป -จ้างเหมาบริการ เก็บขยะ (อปท.) -ลูกจ้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ -ลูกจ้างโรงรมน้ำยางสด ยางแผ่น -รับจ้างตัดหญ้า ฉีดหญ้า -คนกรีดยาง -คนย่างหมู -อู่ซ่อมรถ -ลูกจ้างตัดปาล์ม -พนักงานขับรถสิบล้อ -ลูกจ้างรายวันปั้มน้ำมัน ,ปั้มแก๊ส -เด็กบริการล้างรถ

ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ 1.มีสิทธิ์การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน แต่ไม่มีสิทธิ์การรักษาพยาบาลด้านแรงงาน 2.ปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมไม่ถูกต้องของแต่ละกลุ่มอาชีพ เช่น แม่ค้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,
ช่างทาสี ช่างเชื่อม มีปัญหาทางด้านทางเดินหายใจ สายตา คนกรีดยาง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปและพฤติกรรมเสี่ยงโรคเรื้อรัง 3.กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบไม่มีหลักประกันสุขภาพที่มั่นคง ยกเว้นกลุ่มที่มีรายได้สูงสามารถซื้อสิทธิ์ประกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-กองทุนเข้าร่วม จำนวน 17 กองทุน มีความเข้าใจการดำเนินงานของกองทุนตำบล และสามารถใช้ใช้เครื่องมือแอบพลิเคชั่น application แรงงานนอกระบบ หรือ informallabor หรือที่เว้ปไซต์ http://iw.in.th/app เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอาชีวอนามัยของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ )

-คณะทำงานเขตสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ของกองทุนที่เข้าร่วม และการทำงานของพี่เลี้ยงระดับจังหวัด เพื่อได้ปรับปรุงการหนุนเสริมของเขตในกิจกรรมต่อไป

นายวิเชียร มณีรัตนโขติ คณะทำงานระดับเขตได้ให้ความเห็นความเห็นตรงของพื้นที่จังหวัดตรัง ดังนี้

1.ยังเห็นการรับผิดชอบของทีมทำงานไม่ชัดเจนและยังไม่เห็นทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้าเหตุเพราะทางส่วนกลางมอบโจทย์ไม่ชัด หรือต้องการที่จะลงไปทำแทนให้กับทีมจังหวัด ถ้าลักษณะหลัง ทีมจังหวัดจะไม่โตและทำงานไม่เป็น

2.การวิเคราะห์ปัญหาที่จะนำมาสู่การเขียนโครงของพื้นที่ยังไม่ลึกพอ ดังนั้นต้องเน้นทีมจังหวัดให้มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่และค้นหากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเพื่อจะไม่ต้องเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายใหม่

3.ทีมเขตหรือทีมเจ้าหน้าที่ต้องวางบทตัวเองให้ชัด ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำงานที่ทับเส้นกัน และก่อนเปิดเวทีต้องมีการมีการคุยกันก่อนในทีมทั้งหมดไม่ว่า เขต/จังหวัด/เจ้าหน้าที่

4.การมอบโจทย์สุดท้ายเพื่อมอบหมายงานให้กับทีมตำบลยังไม่ชัด หมายเหตุ โดยภาพรวมอย่างอื่นดี เช่น สถานที่จัด /ผู้เข้าร่วม/

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดตรัง 2563 : ประชุมกองทุนสุขภาพตำบลจัดทำแผนและพัฒนาร่างโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)18 พฤศจิกายน 2562
18
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดตรังจัดประชุมชี้แจงแนวทางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) มีกองทุนเข้าร่วม 17 กองทุน มีการแบ่งกลุ่มกองทุนจำนวน 2 กลุ่ม ในการวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่กลุ่มที่1 พท.อำเภอห้วยยอด และอำเภอรัษฎา จำนวน 12 กองทุน กลุ่มที่2 พท.อำเภอเมือง สิเกา นาโยง และวังวิเศษ จำนวน 5 กองทุน
ซึ่งจากการวิเคราะห์พื้นที่ทำให้เห็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพเสี่ยงดังนี้

กลุ่มที่ 1 กองทุนในพื้นที่อำเภอห้วยยอด
-ช่างซ่อมรถ -ช่างเสริมสวย /ช่างตัดผม -คนงานโรงน้ำแข็ง -ผู้ประกอบการร้านอาหาร -กลุ่มผลไม้ (ฝรั่ง มะละกอ ) -แรงงานแบกไม้ยาง -รับจ้างพายเรือ -กลุ่มรับซื้อน้ำยางสด -คนงานเก็บขยะ -รับจ้างฉีดหญ้า -อาชีพเผาถ่าน -ผู้ประกอบการกลุ่มเลี้ยงสัตว์ -กลุ่มรับจ้างด้านเกษตรกรรม -ผู้ประกอบการอาบอบนวด -กลุ่มประมงน้ำจืด -แรงงานก่อสร้าง -พ่อค้า แม่ค้า -ช่างตัดเย็บเสื้อ -กลุ่มแกะสลักไม้เทพธาโร -กลุ่มรับซื้อของเก่า

กลุ่มที่ 2 กองทุนในพื้นที่ อำเภอรัษฏา /อำเภอเมือง /อำเภอสิเกา /อำเภอนาโยง และอำเภอวังวิเศษ
-แม่ค้า -ช่างเสริมสวย -ช่างเชื่อม -คนแบกไม้ -แรงงานก่อสร้าง -ลูกจ้างทั่วไป -จ้างเหมาบริการ เก็บขยะ (อปท.) -ลูกจ้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ -ลูกจ้างโรงรมน้ำยางสด ยางแผ่น -รับจ้างตัดหญ้า ฉีดหญ้า -คนกรีดยาง -คนย่างหมู -อู่ซ่อมรถ -ลูกจ้างตัดปาล์ม -พนักงานขับรถสิบล้อ -ลูกจ้างรายวันปั้มน้ำมัน ,ปั้มแก๊ส -เด็กบริการล้างรถ

ความเสี่ยงจากการทำงาน /การประกอบอาชีพ ของกลุ่มอาชีพต่างๆในพื้นที่ ดังนี้
-สารเคมี สารตะกั่ว มลพิษทางเสียง -สารเคมีที่ใช้ทำสีผม ยืดผม -สารฟอมาลีน -ควันไฟ กลิ่น สารปนเปื้อน -สารเคมีกำจัดศัตรูพืช -ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ -สารเคมีสำหรับเติมน้ำยาง -สารเคมี เชื้อโรค -ควัน ฝุ่นละออง -กลิ่น เชื้อโรคจากสัตว์ -อุบัติเหตุ -โรคทางผิวหนัง -โรคฉี่หนู โรคหวัด -โรคทางสายตา -โรคจากยุง และแมลง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-กองทุนเข้าร่วม จำนวน 17 กองทุน มีความเข้าใจการดำเนินงานของกองทุนตำบล ที่จะขับเคลื่อนในประเด็นแรงงานนอกระบบ ให้กับกลุ่มองค์กรในพื้นที่เพื่อขอรับทุน กองทุนที่เข้าร่วมได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์แรงงงานในพื้นที่ เรียนรู้การใช้เครื่องมือแอบพลิเคชั่น application แรงงานนอกระบบ หรือ informallabor เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอาชีวอนามัยของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ ) หรือที่เว้ปไซต์ http://iw.in.th/app

-กองทุนและพี่เลี้ยงจังหวัดมีความเข้าใจในการจัดทำแผน และการจัดทำโครงการแรงงานนอกระบบและฝึกปฎิบัติการคีย์ข้อมูลในเว้ปไซต์ กองทุนตำบล localfund.happynetwork.org

-พี่เลี้ยงจังหวัดสามารถออกแบบแผนงานในการทำงานในระดับพื้นที่ร่วมกัน

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯรายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดปัตตานี6 พฤศจิกายน 2562
6
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จังหวัดปัตตานี จัดประชุมพัฒนาแผน ร่างโครงการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ณ ห้องประชุม สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมีกองทุนนำร่องจำนวน 20 พื้นที่ เข้าร่วม อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี ให้ความรู้การจัดทำแผนและการพัฒนาโครงการในระบบเว้ปไซต์กองทุน นายฐากูร ปราบปรี ให้ความรู้การใช้แอพพลิเคชั่นในการเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ ทำให้กองทุนมีความเข้าใจในการออกแบบกิจกรรมโครงการในกลุ่มอาชีพ(แรงงานนอกระบบ)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 20 พื้นที่ และพี่เลี้ยงจังหวัดจำนวน5 คน มีความเข้าใจในเครื่องมือการเก็บข้อมูล และการออกแบบกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

2.กองทุนปัตตานี จำนวน 20 พื้นที่ มีการดำเนินเป็นพื้นที่นำร่องทั้งหมด

3.กลไกพี่เลี้ยงจังหวัดปัตตานี ได้แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบดังนี้

1.)เทศบาลตำบลหนองจิก, องค์การบริหารส่วนตำบลดาโต๊ะ ,องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละปุโย ,องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ ,องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ รับผิดชอบโดย นายมูหมัด วันสุไลมาน

2.)องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ,องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ, องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก ,องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ,องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว รับผิดชอบโดย นายมะรอกี เวาะเวง

3.)องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา ,องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ,องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอ รับผิดชอบโดย นส.ซำซียะห์ ดือราแม

4.)องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะไง ,องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ ,องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน ,องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย รับผิดชอบโดย นายอับดุลก้อเดช โตะยะลา

5.)องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี, องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน,องค์การบริหารส่วนตำบลบางโกระ รับผิดชอบโดย นส.เครือวัลย์ ลาภานันท์

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดปัตตานี 2563 : ลงพื้นที่ประชุมจัดทำแผนและพัฒนาร่างโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)6 พฤศจิกายน 2562
6
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี นายมะรอกี เวาะเวง ผอ.กองสาธารณสุข ทต.หนองจิก พี่เลี้ยงผู้ประสานงานได้จัดประชุมการจัดทำแผนและพัฒนาร่างโครงการฯ กลุ่มอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) โดยมีอาจารย์อะหมัด หลีขาหรี คณะทำงานเขต 12 ได้ให้ความรู้ในการจัดทำแผนผ่านระบบเว้ปไซต์กองทุนฯ ให้กับกองทุน จำนวน 20 พื้นที่ ใน 3 อำเภอ (หนองจิก ,แม่ลาน ,โคกโพธิ์) จังหวัดปัตตานี ตลอดจนฝึกปฎิบัติการใช้แอพพลิเคชั่น ในการเก็บข้อมูล โดยนายฐากูร ปราบปรี เพื่อให้พี่เลี้ยงจังหวัดและกองทุนที่เข้าร่วมเข้าใจเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ดังนี้
1 เทศบาลตำบลหนองจิก อ.หนองจิก ,2 องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง อ.หนองจิก ,3 องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อ.หนองจิก ,4 องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา อ.หนองจิก ,5 องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา อ.หนองจิก ,6 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก อ.หนองจิก ,7 องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละปุโย อ.หนองจิก ,8 องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะไง อ.หนองจิก ,9 องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี อ.หนองจิก ,10 องค์การบริหารส่วนตำบลดาโต๊ะ อ.หนองจิก ,11 องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอ อ.หนองจิก 12 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อ.หนองจิก ,13 องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง อ.หนองจิก ,14 องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ ,15 องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อ.โคกโพธิ์ ,16 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน อ.โคกโพธิ์ ,17 องค์การบริหารส่วนตำบลบางโกระ อ.โคกโพธิ์ ,18 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ อ.แม่ลาน ,19 องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน อ.แม่ลาน ,20 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 20 พื้นที่ และพี่เลี้ยงจังหวัดจำนวน5 คน มีความเข้าใจในเครื่องมือการเก็บข้อมูล และการออกแบบกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

2.กองทุนปัตตานี จำนวน 20 พื้นที่ มีการดำเนินเป็นพื้นที่นำร่องทั้งหมด

3.กลไกพี่เลี้ยงจังหวัดปัตตานี ได้แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบดังนี้

1.)เทศบาลตำบลหนองจิก, องค์การบริหารส่วนตำบลดาโต๊ะ ,องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละปุโย ,องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ ,องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ รับผิดชอบโดย นายมูหมัด วันสุไลมาน

2.)องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ,องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ, องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก ,องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ,องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว รับผิดชอบโดย นายมะรอกี เวาะเวง

3.)องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา ,องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ,องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอ รับผิดชอบโดย นส.ซำซียะห์ ดือราแม

4.)องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะไง ,องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ ,องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน ,องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย รับผิดชอบโดย นายอับดุลก้อเดช โตะยะลา

5.)องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี, องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน,องค์การบริหารส่วนตำบลบางโกระ รับผิดชอบโดย นส.เครือวัลย์ ลาภานันท์

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดยะลา 2563 : ประชุมกองทุนสุขภาพตำบลชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)5 พฤศจิกายน 2562
5
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.กองทุนจังหวัดยะลา จัดประชุมชีแจงโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุนนำร่องจำนวน 15 พื้นที่ จากที่วางแผนไว้ 20 พื้นที่ ณ ห้องประชุมศรีสวัสดิ์ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา นายประพันธ์ สีสุข ทบทวนรายชื่อกองทุนที่เข้าร่วมโครงการ คือ รายชื่อกองทุนสุขภาพตำบลทั่วไป 1 ทต.บุดี อำเภอเมืองยะลา, 2 อบต.พร่อง อำเภอเมืองยะลา,3 ทต.ยุโป อำเภอเมืองยะลา, 4 อบต.ห้วยกระทิง อำเภอกรงปีนัง 5 อบต.สะเอะ อำเภอกรงปีนัง 6 อบต.บุโรง อำเภอกรงปีนัง 7 อบต.กอตอตือระ อำเภอรามัน 8.อบต.บาโงย อำเภอรามัน 9 อบต.วังพญา อำเภอรามัน 10 อบต.ตือโละหาลอ อำเภอรามัน 11 อบต.คีรีเขต อำเภอธารโต 12 อบต.ลำพะยา อำเภอเมือง 13 อบต.อัยเยอร์เวง อำเภอเบตง 14 อบต.บาโระ อำเภอเมือง 15 อบต.บาละ อำเภอกาบัง รายชื่อกองทุนนำร่องฯ 1 ทม.เบตง อำเภอเบตง 2 อบต.บาลอ อำเภอรามัน 3 อบต.ตาชี อำเภอยะหา 4 อบต.ตาเนาะปูเตะ อำเภอบันนังสตา 5 ทต.โกตาบารู อำเภอรามัน

2.เจ้าหน้าที่กองทุนได้ฝึกปฎิบัติการจัดทำแผนและพัฒนาร่าง คก.ประเด็นแรงงานนอกระบบ โดยมีเภสัชกรสมชาย (สปสช.เขต 12สงขลา ) ได้ให้คำแนะนำ และฝึกการใช้แอพพลิเคชั่นในการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง โดยนายฐากูร ปราบดี (มอ)

3.พท.ยะลา เช่น ทม.ยะลา มีต้นทุนเดิมเคยมีการทำ คก.กลุ่มจักสานพลาสติก ทำให้สามารถลดความเสี่ยงในเรื่องของนิ้วล็อก และทำให้กลุ่มอาชีพมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการนั่งทำงาน

4.กองทุนบางพื้นที่ ยังเป็นเรื่องใหม่ จึงต้องกลับไปเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น ,รพ.สต.และการค้นหา ทำข้อมูลกลุ่มอาชีพเสี่ยงในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีข้อเสนอแนะต่อพื้นที่ เรื่องกลไก อสอช.ในพื้นที่ แทบไม่มีบทบาท หรือ พื้นที่หาไม่เจอ ส่งผลให้ยังไม่ค่อยมีข้อมูล/หาข้อมูลไม่เจอ ว่า แรงงานนอกระบบในพื้นที่ เป็นอย่างไร ? ดังนั้นในโครงการที่ขอรับผ่านกองทุนฯ ให้มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. ข้อมูลการทำแผนในเว็บไซต์localfund.happynetwork.org/ ยังไม่สมบูรณ์ ต้องให้พื้นที่ทำข้อมูล และปรับให้มีแผนที่สมบูรณ์มากขึ้น พี่เลี้ยงติดตามต่อ ประเมินผ่านเว็บไซต์

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดยะลา5 พฤศจิกายน 2562
5
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุนสุขภาพตำบลจำนวน 20 พื้นที่ ประกอบด้วย กองทุนแบบนำร่องเข้มข้น และกองทุนแบบทั่วไป ซึ่ง จว.ยะลา ได้เสนอรายชื่อกองทุน ดังนี้ รายชื่อกองทุนสุขภาพตำบลทั่วไป 1 ทต.บุดี อำเภอเมืองยะลา, 2 อบต.พร่อง อำเภอเมืองยะลา,3 ทต.ยุโป อำเภอเมืองยะลา, 4 อบต.ห้วยกระทิง อำเภอกรงปีนัง 5 อบต.สะเอะ อำเภอกรงปีนัง 6 อบต.บุโรง อำเภอกรงปีนัง 7 อบต.กอตอตือระ อำเภอรามัน 8.อบต.บาโงย อำเภอรามัน 9 อบต.วังพญา อำเภอรามัน 10 อบต.ตือโละหาลอ อำเภอรามัน
11 อบต.คีรีเขต อำเภอธารโต 12 อบต.ลำพะยา อำเภอเมือง 13 อบต.อัยเยอร์เวง อำเภอเบตง 14 อบต.บาโระ อำเภอเมือง 15 อบต.บาละ อำเภอกาบัง
รายชื่อกองทุนนำร่องฯ 1 ทม.เบตง อำเภอเบตง 2 อบต.บาลอ อำเภอรามัน 3 อบต.ตาชี อำเภอยะหา 4 อบต.ตาเนาะปูเตะ อำเภอบันนังสตา 5 ทต.โกตาบารู อำเภอรามัน

เวลา 09.00 -16.00 น. ณ ห้องประชุมอรุณสวัสดิ์ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา  นายประพันธ์ สีสุข พี่เลี้ยงผู้ประสานจังหวัดยะลา กล่าวทักทายกองทุนสุขภาพตำบลที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 กองทุน จากเดิมที่วางแผนไว้ 20 กองทุน พร้อมทั้งกล่าวต้อนรับคณะทำงานจาก สปสช.เขต 12 สงขลา และผู้ประสานงานโครงการจากสมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SADA) นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ผู้ประสานงานโครงการฯ เขต 12สงขลา ชี้แจงภาพรวม วัตถุประสงค์โครงการฯ พื้นที่กองทุนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดำเนินงานอยู่ในพื้นที่ เช่น ทม.เบตง ในปี 2561 ได้มีการทำโครงการกับกลุ่มอาชีพจักสานเชือกพลาสติก เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องของนิ้วล็อกจากการทำงาน ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้จากการอบรม และจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อแก้ปัญหานิ้วล็อก ในส่วนพื้นที่กองทุนอื่นๆ ยังต้องทำความเข้าใจกับผู้บริหาร หน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการค้นหาแกนนำ (อสอช) กลุ่มอาชีพเสี่ยงในพื้นที่
เวลา 13.00 น. เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ แนะแนวการจัดทำแผนกลุ่มอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุนและพัฒนาร่าง คก. ในระบบเว้ปกองทุนlocalfund.happynetwork.org ซึ่งกองทุนจะต้องไปดำเนินการต่อเพื่อให้ คก.มีความสมบรูณ์ ในส่วนพี่เลี้ยง จว.จะมีการติดตามในระบบเพื่อแนะนำในเรื่องของการออกแบบกิจกรรม คก.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.อปท. จำนวน 15 พท.ที่เข้าร่วมมีความเข้าใจโครงการฯ และจะมีการนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารท้องถิ่น

2.อปท. จำนวน 5 พท. ที่ไม่ได้เข้าร่วม ทางพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จะมีการจัดประชุมทำความเข้าใจเพิ่มเติม

3.จากการลงพื้นที่ คณะทำงานเขต ได้เสนอต่อพื้นที่ในเรื่องของกลไก อสอช.ในพื้นที่ แทบไม่มีบทบาท หรือ พื้นที่หาไม่เจอ ส่งผลให้ยังไม่ค่อยมีข้อมูล/หาข้อมูลไม่เจอ ว่า แรงงานนอกระบบในพื้นที่ เป็นอย่างไร ? ดังนั้นในโครงการที่ขอรับผ่านกองทุนฯ ให้มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. ข้อมูลการทำแผนในเว็บไซต์localfund.happynetwork.org/ ยังไม่สมบูรณ์ ต้องให้พื้นที่ทำข้อมูล และปรับให้มีแผนที่สมบูรณ์มากขึ้น พี่เลี้ยงติดตามต่อ ประเมินผ่านเว็บไซต์

การบริหารจัดการโครงการ เดือนตุลาคม 256231 ตุลาคม 2562
31
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

การประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการฯ(ทีมบริหารเขต12 ) ในการวางแผนงานและติดตามการดำเนินโครงการฯ24 ตุลาคม 2562
24
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 24 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา ชั้น 3 อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะทำงานโครงการฯ มีการประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน เริ่มประชุมเวลา 13:00น.

วาระที่ 1 รายชื่อคณะกรรมการระดับเขต (อย่างเป็นทางการ) ดังนี้

1.นายสุริยา ยีขุน  นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลปริก

2.นายฉลอง พัฒโน รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองคอหงส์

3.นางพรศิริ ขันติกุลานนท์ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี

4.ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5.นางสาวกนกวรรณ หวนศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

6.นางสาวฟาอีซ๊ะ โตะโยะ นักวิชาการสาธารณะสุขระดับชำนาญการพิเศษ สำนักงานควบคุมโรคที่๑๒จังหวัดสงขลา

7.นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ผู้ประสานงานโครงการฯ เขต12 สงขลา

8.เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ หัวหน้ากองทุนฯ (สปสช.เขต12)

9.นางสาวยุรี แก้วชูช่วง  คณะทำงานโครงการฯ เขต12สงขลา

10.นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี คณะทำงานโครงการฯ เขต12สงขลา

11.ว่าที่ร้อยตรีหญิง คณิชญา แซนโทส คณะทำงานโครงการฯ เขต12สงขลา

12.นายบรรเจต นะแส  ตัวแทนภาคประชาชน ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

13.นายวิเชียร มณีรัตนโชติ ภาคประชาชน ที่อยู่เลขที่ 53 หมู่ที่ 4 ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัด สงขลา

14.นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ ผู้ประสานงานภาคใต้มูลนิธิแรงงานและอาชีพ

วาระที่ 2 การรายงานการเงิน
1.เรื่องค่าตอบแทน นางสาวยุรี แก้วชูช่วง และนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ให้รับจากแผนงานกลาง
2.การโอนเงินสนับสนุนพี่เลี้ยงกองทุนในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ กองทุนละ 1,000 บาท จำนวน 140 กองทุน ในงวดที่1 เมื่อพี่เลี้ยงจังหวัดนำส่งแผนงานการทำงาน ในระบบเว้ปไซต์กองทุนฯ https://localfund.happynetwork.org

วาระที่3 เรื่องการประเมินภายใน มีงบประมาณ 100,000 – (หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยให้ทางอาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย เขียนเสนอโครงการไปยังแผนงานกลาง เพื่อทำสัญญา (Tor) ซึ่งจะมีการแบ่งงวดงานเหมือนกับของโครงการฯเขต12 ในการทำกระบวนการพัฒนาศักยภาพ ทีมติดตามประเมินผลภายใน เพื่อให้เกิดการติดตามประเมินผลแบบเสริมพลัง เชื่อมโยงกับระบบแผนงานกลาง.Outputs คือ
1. โครงการฯ พร้อมเกณฑ์และเครื่องมือ และแผนการติดตามประเมินผลระดับเขต/จังหวัด
2. รายงานผลการติดตามประเมินรายงวด พร้อมแผนการติดตามประเมินผลภายในงวดต่อไป ที่ต้องส่งมาพร้อมกับรายงานผลการดำเนินงานของเขต เพื่อประกอบงวดงาน งวดเงิน 3. รายงานผลการติดตามประเมินผล เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ฯ ส่งมาพร้อมกับรายงานโครงการฯ
วาระที่4 บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานเขต12 ในการติดตามหนุนเสริมลงพื้นที่หนุนเสริมทีมระดับกลไกจังหวัด เพื่อให้เกิดแผนการทำงานของพี่เลี้ยงจังหวัด ซึ่งทางเขตรับผิดชอบในเรื่องของค่าเดินทางและค่าตอบแทนวิทยากรตามความเหมาะสมของงาน ในการลงพื้นที่แต่ละครั้งจะต้องมีการรายงานผลงานให้กับเขตได้รับทราบ และคณะทำงานโครงการฯต้องทำความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำต่อทีมจังหวัดได้ในเรื่องของระบบเว้ปไซต์กองทุนhttps://localfund.happynetwork.org
-จังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี โดยนางสาวยุรี แก้วชูช่วง
-จังหวัดนราธิวาส ยะลา ตรัง และสตูล โดยนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน

วาระที่5 แผนงาน/ กิจกรรมของพี่เลี้ยงจังหวัด จากการตรวจดูในระบบเว้ปฯในบางรายจังหวัดพี่เลี้ยงยังมีการออกแบบแผนไม่ครอบคลุม ให้มีการแก้ไข เช่น จังหวัดสตูล สงขลา ส่วนจังหวัดอื่นๆ ยังไม่ใสข้อมูลในระบบเว้ปกองทุนฯ ดังนั้นเพื่อให้เป็นในแนวทางเดียวกัน และเพื่อให้เกิดผลผลิต /ผลลัพธ์ ในเรื่องของทีมคณะทำงานกลไกแต่ละจังหวัด รายชื่อกองทุนนำร่อง กองทุนตำบลเข้มข้น และ ข้อมูลกลุ่มอาชีพที่จะเก็บข้อมูลผ่านApp จึงต้องให้แต่ละจังหวัดต้องจัดเวทีการประชุมพูดคุยทำความเข้าใจโครงการฯ พร้อมนำส่งผลงานในระบบเว้ป กองทุนฯ ส่วนการนัดหมายวันเวลา ระหว่างพื้นที่จังหวัดและคณะทำงานเขต12 ให้ทางนางสาวอารีย์ เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งแต่ละจังหวัดต้องดำเนินการให้เสร็จภายในเดือน พย. 2562

เวลา 16.00 น. ปิดการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.) คณะทำงานเข้าร่วมการประชุมมีดังนี้
1.นายเจ๊ะอับดุลห์ แดหวัน , 2.เภสัชกร สมชาย ละอองพันธุ์ ,3.นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการ เขต๑๒สงขลา 4.นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี 5.ว่าที่ร้อยตรีหญิง คณิชญา แซนโทส
คณะทำงานมีการแบ่งบทบาท หน้าที่ในการหนุนเสริมการทำงานของเขต 12 ดังนี้
1.พื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และปัตตานี รับผิดชอบโดย นางสาวยุรี รับผิดชอบ
2.พื้นที่จังหวัด นราธิวาส ยะลา สตูล และตรัง รับผิดชอบโดย นายเจ๊ะอับดุลล่าห์
หมายเหตุ : ในการลงพื้นที่หนุุนเสริมการทำงานของกลไกจังหวัด ทางเขตจ่ายเป็นค่าตอบแทนวิทยากร และค่าเดินทาง ซึ่งคณะทำงานที่ลงไปหนุนเสริมต้องมีการทำรายงาน นำส่งผลงานกับเขต และก่อนลงไปพื้นที่ จะต้องมาออกแบบ ประชุมรว่มกับเขตก่อนทุกครั้ง
2.) คณะทำงานทีมระดับเขต ประกอบด้วย อปท. (ทต.ปริก ,ทม.คอหงส์ / ส่วนราชการ (เขต 12 ,สคร) ภาคประชาชน /นักวิชาการ และคณะทำงานโครงการเขต12 รวม 14 คน

3.) แผนการทำงานของพี่เลี้ยงกลไกจังหวัด ยังต้องมีการปรับแก้ไข บางจังหวัดยังขาดความสมบรูณ์ของแผนและยังไม่ได้บันทึกในระบบเว้ปกองทุนฯ ดังนั้นจึงต้องให้ทีมจังหวัดทำข้อมูลลงในระบบ นำส่งแผน เพื่อที่จะมีการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการฯ ในงวดที่1

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดปัตตานี 2563 : ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)16 ตุลาคม 2562
16
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00-13.00น. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกองทุนฯแผนแรงงานนอกระบบ ณ. สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ร่วมกับเทศบาลตำบลหนองจิกและทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล พูดคุยทำความเข้าใจการจัดทำแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ โดยมีพื้นที่นำร่อง.๓อำเภอของจังหวัดปัตตานี คือ อำเภอแม่ลาน อำเภอโคกโพธิ์ และอำเภอหนองจิกเข้าร่วม
นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ ตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอหนองจิก เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมกล่าวต้อนรับคณะทำงาน เขต 12 สงขลา (สปสช) ,คณะทำงานโครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง จำนวน 20 กองทุน
นายมะรอกี เวาะเลง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขเทศบาลตำบลหนองจิก ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม และทบทวนพื้นที่กองทุนนำร่องแนะนำพี่เลี้ยงทีมจังหวัดให้กองทุนได้รู้จัก นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ ระดมความคิดเห็นสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ กองทุนที่เข้าร่วมได้เสนอและวิเคราะห์กลุ่มอาชีพเสี่ยงและโรคที่เกิดจากการทำงาน ดังนี้

1.องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก มีสถานการณ์แรงงาน คือ อาชีพประมง ร้อยละ80 ความเสี่ยงของอาชีพประมง เช่น อุบัติเหตุ ,ประชาชนในพื้นที่ขาดความรอบรู้เรื่องความเสี่ยงของอาชีพ

2.เทศบาลตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตรกร มีความเสี่ยงเรื่องสารเคมีตกค้าง เช่น ยาฆ่าหญ้า มีความสนใจการทำเกษตรปลอดสารพิษ

3.องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยอำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง,ทำไร่,ทำนา ,ประมง เกษตรกรเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี และประมง เสี่ยงเกี่ยวกับการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดเมื่อย

4.องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี อำเภอหนองจิก ร้อยละ90 ประกอบอาชีพทำเกษตร เช่น ทำสวนปาล์ม ทำนา สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์( วัว,แพะ) ความเสี่ยง มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ปลูกติดกับที่อยู่อาศัย อาจทำให้เป็นพาหนะโรคมาสู่คน ,สารเคมีปนเปื้อนจากการทำเกษตร

5.องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพทำเกษตร สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์ ,ก่อสร้าง มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เนื่องจากโรงเรือนปลูกติดกับที่อยู่อาศัย การสัมผัสสารเคมี

6.องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพเกษตร เช่น ปลูกข้าว สวนยางพารา ปลูกผักสวนครัว ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

7.องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ ประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง ,ทำนา ความเสี่ยง การปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

8.องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก การประกอบเกษตร เช่น ทำนา ,สวนยางพารา ,รับจ้างก่อสร้าง ,เลี้ยงสัตว์ (นกเขา ,นกกรง ,ไก่ดำ ,เลี้ยงวัว) กลุ่มแม่บ้าน ทำกาละแม ,ฉีกปลาจิ้งจัง ,ประมง ออกเรือ มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เพราะมีโรงเรือนใกล้ที่อยู่อาศัย และ อุบัติเหตุ /การจมน้ำ ,การสัมผัสสารเคมี, การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว

9.องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ ทุเรียน เงาะ มีความเสี่ยง การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ,สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ,การสัมผัสสารเคมี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เจ้าหน้าที่กองทุนฯนำร่อง จำนวน 20กองทุน ได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่และความเสี่ยงจากการทำงานของกลุ่มอาชีพในพื้นที่

2.มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพเสี่ยง ประกอบด้วย ทำนา สวนผลไม้ทุเรียน เงาะ ลองกอง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง รับจ้างฉีกปลาจิ้งจัง ,การทำอาชีพประมง ออกเรือ และการรวมกลุ่มแม่บ้านทำขนมกาละแม

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัดและการทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ รายจังหวัดปัตตานี16 ตุลาคม 2562
16
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00-13.00น. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกองทุนฯแผนแรงงานนอกระบบ ณ. สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ร่วมกับเทศบาลตำบลหนองจิกและทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล พูดคุยทำความเข้าใจการจัดทำแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ โดยมีพื้นที่นำร่อง.๓อำเภอของจังหวัดปัตตานี คือ อำเภอแม่ลาน อำเภอโคกโพธิ์ และอำเภอหนองจิกเข้าร่วม
นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ ตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอหนองจิก เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมกล่าวต้อนรับคณะทำงาน เขต 12 สงขลา (สปสช) ,คณะทำงานโครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง จำนวน 20 กองทุน
นายมะรอกี เวาะเลง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขเทศบาลตำบลหนองจิก ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม และทบทวนพื้นที่กองทุนนำร่องแนะนำพี่เลี้ยงทีมจังหวัดให้กองทุนได้รู้จัก นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ ระดมความคิดเห็นสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ กองทุนที่เข้าร่วมได้เสนอและวิเคราะห์กลุ่มอาชีพเสี่ยงและโรคที่เกิดจากการทำงาน ดังนี้

1.องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก อาชีพ ประมง ร้อยละ80 ความเสี่ยงของอาชีพประมง เช่น อุบัติเหตุ ,ประชาชนในพื้นที่ขาดความรอบรู้เรื่องความเสี่ยงของอาชีพ

2.เทศบาลตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตรกร มีความเสี่ยงเรื่องสารเคมีตกค้าง เช่น ยาฆ่าหญ้า มีความสนใจการทำเกษตรปลอดสารพิษ

3.องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยอำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง,ทำไร่,ทำนา ,ประมง เกษตรกรเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี และประมง เสี่ยงเกี่ยวกับการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดเมื่อย

4.องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี อำเภอหนองจิก ร้อยละ90 ประกอบอาชีพทำเกษตร เช่น ทำสวนปาล์ม ทำนา สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์( วัว,แพะ) ความเสี่ยง มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ปลูกติดกับที่อยู่อาศัย อาจทำให้เป็นพาหนะโรคมาสู่คน ,สารเคมีปนเปื้อนจากการทำเกษตร

5.องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพทำเกษตร สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์ ,ก่อสร้าง มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เนื่องจากโรงเรือนปลูกติดกับที่อยู่อาศัย การสัมผัสสารเคมี

6.องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพเกษตร เช่น ปลูกข้าว สวนยางพารา ปลูกผักสวนครัว ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

7.องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ ประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง ,ทำนา ความเสี่ยง การปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

8.องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก การประกอบเกษตร เช่น ทำนา ,สวนยางพารา ,รับจ้างก่อสร้าง ,เลี้ยงสัตว์ (นกเขา ,นกกรง ,ไก่ดำ ,เลี้ยงวัว) กลุ่มแม่บ้าน ทำกาละแม ,ฉีกปลาจิ้งจัง ,ประมง ออกเรือ มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เพราะมีโรงเรือนใกล้ที่อยู่อาศัย และ อุบัติเหตุ /การจมน้ำ ,การสัมผัสสารเคมี, การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว

9.องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ ทุเรียน เงาะ มีความเสี่ยง การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ,สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ,การสัมผัสสารเคมี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เจ้าหน้าที่กองทุนฯนำร่อง จำนวน 20กองทุน ได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่และความเสี่ยงจากการทำงานของกลุ่มอาชีพในพื้นที่

2.มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพเสี่ยง ประกอบด้วย ทำนา สวนผลไม้ทุเรียน เงาะ ลองกอง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง รับจ้างฉีกปลาจิ้งจัง ,การทำอาชีพประมง ออกเรือ และการรวมกลุ่มแม่บ้านทำขนมกาละแม

ประชุมเชิงปฎิบัติการคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการระดับเขตสุขภาพฯ เพื่อจัดเก็บข้อมูลความเสี่ยงจากการทำงานและการติดตามประเมินผลภายในฯ12 ตุลาคม 2562
12
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่12-13ตุลาคม ณ รร.ปุรนคร อ.เมืองจ.นครศรีธรรมราช ประชุมเพื่อทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูลจากการทำงานและการติดตามประเมินผลภายในโครงการระดับเขต      โดยมีผู้เข้าร่วมจาก คณะทำงานโครงการฯ สปสช.เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี สปสช.เขต12สงขลา นักวิเคราะห์และนโยบาย สสส.สำนัก9 นักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานควบคุมโรค (สคร) ที่1 เชียงใหม่ และ สคร.ที่8อุดรธานี ตลอดจนมูลนิธิมิตรภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่โครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์

1.เพื่อพิจารณากรอบคิดและพัฒนาเครื่องมือการติดตามประเมินผลภายในโครงการฯ

2.เพื่อพิจารณาแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลความเสี่ยงและความรอบรู้ด้านสุขภาพ

กรอบคิดการประเมินภายใน โดยอาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เสนอหลักการประเมินแบบมีส่วนร่วมและการเสริมศักยภาพของคณะทำงานในทุกระดับ ใช้เครื่องมือรูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model)

แบ่งกลุ่มคณะทำงานระดับเขต ในการจัดทำตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินผลการติดตามแบบเสริมพลัง
สำหรับเกณฑ์การประเมินระดับเขต12 สงขลา ได้ออกแบบกลไกเป็น 3ระดับ คือ ทีมบริหารโครงการฯ ทีมระดับเขต (Core Team ) และพี่เลี้ยงทีมระดับจังหวัด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-วิเคราะห์เครื่องมือแบบสอบถาม ที่ทางอาจารย์อรุณ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำ ซึ่งในที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง โดยทางอาจารย์อรุรจะมีการปรับปรุงให้เสร็จภายในวันที่๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๒

-การเก็บข้อมูล ในส่วนของเขต๑๒ จะใช้เครื่องมือAppในการเก็บข้อมูล โดยอาจารย์แสงจะประสานกับทีมทำงานที่ออกแบบAppในการทำให้เสร็จภายในสิ้นเดือนตุลาคม และนำไปใช้ในพื้นที่กองทุนฯ แต่ละจังหวัด

-การจัดทำตัวชี้วัด และเกณฑ์ในการประเมิน แบบการเสริมพลัง โดยใช้เครื่องมือแบบซิปโมเดล

การประชุมปฏิบัติการ การ Coaching การทำแผนกองทุน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ การใช้เว็บ ไซด์เพื่อการพัฒนาโครงการ (ประชุมทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ )8 ตุลาคม 2562
8
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 8-9 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. ประชุมปฎิบัติการ Coaching ทำแผนสุขภาพและพัฒนาข้อเสนอโครงการแก้ปัญหาสุขภาวะชีวิตผู้ประกอบอาชีพ ที่มีความเสี่ยงผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ณ ห้องประชุมศาลาเสียงสน โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

วันที่ 8 ตุลาคม 2562
วิทยากรกระบวนการ นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแนะนําตัว /เขียนความคาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม และบอกเล่าเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ในองค์กร และความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำอยู่ ซึ่งผุ้ที่เข้าร่วมประชุม เช่น คณะกรรมการกองทุน ,เจ้าหน้าที่กองทุน และพี่เลี้ยงกองทุน(สปสช)  สิ่งที่สะท้อนถึงความสำเร็จของงานส่งเสริมสุขภาพของคนในพื้นที่ คือ มีโครงการฯของกองทุนตำบลที่ทำเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง และประเด็นแรงงานฯ ในช่วงปีแรก (2561) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี คนในชุมชนเข้าถึงบริการสุขภาพ มีการคัดกรองโรค และการตรวจเลือดในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มประมง ที่ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมสร้างเรือ เงื่อนไขที่ทำให้สำเร็จ คณะกรรมการกองทุนในบางพื้นที่มีความเข้าใจ และการมีกลไกพี่เลี้ยงหนุนเสริมในพื้นที่

แบ่งกลุ่มตามจังหวัด 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ,ยะลา,ปัตตานี,สงขลา,พัทลุง,สตูลและตรัง ในการให้แต่ละพื้นที่ได้วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่ม /หรือผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง และประสบการณ์ส่งเสริมป้องกันโรค นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ สรุปจากการวิเคราห์และนำเสนอในแต่ละกลุ่มจังหวัด ชี้ให้เห็นสถานการณ์แรงงานนอกระบบ ดังนี้

1.)จังหวัดนราธิวาส บริบทของพื้นที่ โซนภูเขา อาชีพทำสวนผลไม้ สวนยางพารา โซนเมือง มอเตอร์ไซต์รับจ้าง และโซนทะเล อาชีพประมงพื้นบ้าน และแปรรูปอาหารทะเล

2.)จังหวัดสตูล บริบทพื้นที่ โซนบก โซนทะเล มีอาชีพ เช่น ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมง

3.)จังหวัดตรัง การประกอบอาชีพ สวนยางพารา ,ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป

4.)จังหวัดสงขลา บริบทพื้นที่ ประกอบด้วยเขตเมือง/ เขตชนบท ( ภูเขา ,ทะเล ) การประกอบอาชีพในเขตเมือง เช่น แม่ค้า ซาเล้ง จ้างเหมาบริการ ,เก็บขยะ รับซื้อของเก่า
การประกอบอาชีพในเขตชนบท เช่น สวนยางพารา ขึ้นมะพร้าว เลี้ยงสัตว์ เกษตรกร งานฝีมือ หัตถกรรม การประกอบอาชีพในเขตชายฝั่ง เช่น ทำประมง ปอกกุ้ง ปอกหัวปลา ลูกจ้างแพปลา

5.)จังหวัดพัทลุง บริบทพื้นที่ประกอบด้วยเขตเมือง/ เขตชนบท และเขตชายฝั่ง
การประกอบอาชีพ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถเมล์เล็ก กระจูด ประมง และช่างเสริมสวย

6.)จังหวัดปัตตานี บริบทพื้นที่ประกอบด้วยเขตเมือง ชนบทและชายฝั่ง
การประกอบอาชีพ ทำประมง ,รับจ้าง ปลอกหัวหอม กระเทียม เย็บอวน แกะหัวปลา คัดปลา เก็บขยะ ,ตัดเย็บเสื้อผ้า,ขายผ้ามือ๒.,ช่างซ่อม,ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้

ปัญหาสถานการณ์เสี่ยงของกลุ่มแรงงานนอกระบบ

1.โรคทางเดินหายใจ

2.ด้านสายตา

3.โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

4.สารเคมี(ย่าฆ่าหญ้า,สารตะกั่ว)

5.สภาพแวดล้อม

6.อิริยาบถจากการทำงาน, สุขภาพจิต, สภาพที่อยู่อาศัยของคนกรีดยางไม่เหมาะสม

7.อุบัติเหตุจากอาชีพ

แนวทางการทำงานต่อ

1.สร้างข้อมูล(ผลกระทบในข้อมูลเข้างาน)

2.ตรวจสุขภาพในพื้นที่(ใกล้บ้าน)

3.การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ

4.ทำทะเบียนผู้ประกอบการ

5.สร้างชุดความรู้จากอาชีพ(การป้องกัน, การติดตามการประเมินผล)

6.มาตราการทางกฎหมาย

7.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

8.สร้างทีมงานเครือข่าย

9.ทำให้กลุ่มเสี่ยงได้ร็และเข้าถึงสิทธิ

10.ประสานความร่วมมือจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง

นางสาวฟาอีซ๊ะ โตะโยะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา และผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ร่วมด้วยอ.กนกวรรณ หวนศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยายให้ความรู้ผลกะทบ หรือสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงาน/สถานที่ทำงาน และการจัดบริการอาชีวอนามัยในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง


วันที่9 ตุลาคม 2562 เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ บรรยายเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ :นโยบายและแนวทางสนับสนุนการสร้างเสริมอาชีวอนามัยในวัยทำงานกลุ่มเสี่ยงในชุมชน และการจัดทำแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ ในระบบเว้ปไซต์กองทุนฯ (www.localfund.happynetwork.org) และแบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงตามจังหวัดในการจัดทำแผนการทำงานลงพื้นที่สนับสนุนงานกองทุนฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่ม/ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ในแต่ละพื้นที่ ทำให้เห็นอาชีพที่หลากหลาย เช่น เกษตรกรรม ,รับจ้าง ,ประมง และกลุ่มหัตถกรรมงานฝีมือ ซึ่งแต่ละอาชีพมีความเสี่ยง เช่น สารเคมี ,ท่าทางในการนั่งทำงาน และการเจ็บป่วย ปวดข้อ ปวดเมื่อย เป็นต้น

2.เกิดแผนการทำงานในแต่ละจังหวัด และพี่เลี้ยงได้ทบทวนพื้นที่กองทุนนำร่องฯ

3.การดำเนินงานต่อหลังจากเวที พี่เลี้ยงทีมระดับจังหวัดต้องมีการจัดประชุมทำความเข้าใจโครงการฯ กับพื้นที่และพี่เลี้ยงในจังหวัดตนเอง เพื่อวางแผนในการทำงานร่วมกัน

ประชุมเตรียมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง7 ตุลาคม 2562
7
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 15.00-17.00น. ณ ห้องประชุมศาลาเสียงสน โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา คณะทำงานจากแผนงานกลางโดยนางสาววรกมล ไชยกัน ได้ร่วมวางแผนเตรียมงานกับคณะทำงานเขต12 ประกอบด้วย นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ,นางสาวยุรี แก้วชูช่วง ,นายบรรเจต นะแส , นางจันทนา  เจริญวิริยะภาพ ,อาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย , อาจารย์กนกวรรณ หวนศรี นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี และนางสาวคณิชญา แซสโทส ซึ่งได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

-นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน เป็นวิทยากรหลักที่จะชวนคิด ชวนคุยในเวทีและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม

-นางสาวยุรี แก้วชูช่วง วิทยากรกระบวนการ ชวนพี่เลี้ยงวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่

-อาจารย์แสงอรุณ อาจารย์กนกวรรณ และนางสาวฟาอีซ๊ะ บรรยายให้ความรู้เรื่องอาชีวอนามัย และการจัดบริการงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการทำงาน

-นางจันทนาและนายบรรเจต วิทยากรกลุ่มย่อย ชวนคิด ชวนคุย ของกลุ่มพี่เลี้ยงจังหวัดในการวิเคราะห์แผนงานและสถานการณ์ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง

-นางสาวอารีย์ และนางสาวคณิชญา อำนวยความสะดวกในการจัดประชุม และการจัดการการเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการฯเขต12และคณะทำงานแผนงานกลาง จำนวน 6คน ร่วมออกแบบกิจกรรมในการเวทีประชุม ทำให้คณะทำงานแต่คนได้เข้าใจบทบาทและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบงาน

2.มีการปรับห้องปรับจากเดิมที่จัดเป็นคลาสรูม ซึ่งคณะทำงานได้ไห้ความเห็นว่ายังขาดพื้นที่ที่ทำกิจกรรมกลุ่มย่อย จึงได้มีการจัดให้เหลือเพียงเก้าอี้ จัดเป็นวงกลม ส่วนกิจกรรมกลุ่มย่อยจัดโ๖ีะอยู่ด้านนอกห้องประชุม ซึ่งจะมีความสะดวกมากกว่า

ประชุมเพื่อหารือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยง4 ตุลาคม 2562
4
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันศุกร์ที่ 4 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00-16.30 น. ประชุมเพื่อหารือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยง (Coaching Team) ระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา ชั้น 3 อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

นายสมชาย ละอองพันธุ์ ทบทวนความเข้าใจและเป้าหมายการดำเนินงานโครงการ ฯ -ทบทวนโครงสร้าง องค์ประกอบของกลไกระดับเขต Core team 10-12 คน (ตามรายชื่อในเอกสาร ) ได้มีการเสนอส่วนของท้องถิ่นเพิ่มเติม ได้แก่ นายกสุริยา ยีขุน ตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปริก ,นายกอบต.โคกเคียน, ซึ่งจะมีการประสานในการส่งเอกสารและเชิญเข้าร่วมประชุมในครั้งต่อไป

-บทบาทในการทำงานพี่เลี้ยงเขต ร่วมวางแผน ร่วมออกแบบการบริหารโครงการ การให้คำปรึกษาและการติดตามประเมินผล พัฒนาทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยงในระดับจังหวัดเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุก อำนวยกระบวนการติดตามประเมินผลภายในและกระบวนเรียนรู้เพื่อการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ (จำนวนพื้นที่) และนวัตกรรมในรูปแบบของเขต 12  ตลอดจนข้อเสนอนโยบายสาธารณะ

-บทบาทการทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จังหวัดละ 10 คน (มาจากพี่เลี้ยงกองทุนที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ ) พี่เลี้ยง จว.และพี่เลี้ยงเขตจะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน พัฒนาทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง ขับเคลื่อนงานกองทุน 140 กองทุน และอาสาสมัครอาชีวอนามัย / พื้นที่ต้นแบบ / ระบบข้อมูล /นโยบายสาธารณะระดับตำบล /ระดับอำเภอ

คณะทำงานโครงการฯ จากแผนงานกลาง หารรือระบบฐานข้อมูลด้านอาชีวอนามัย และการประเมินผล 1.การจัดการระบบข้อมูล
• การกำหนดเป้าหมายที่ต้องใช้กลุ่มอาชีพที่มีภาวะเสี่ยง(ความรู้รอบด้านเรื่อง อาชีวอนามัย,การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม,ระบบบริการสุขภาพ
• คนที่เก็บข้อมูล เช่น (กลุ่มอาชีพ / อปท. /กรรมการกองทุน จนท. )
• ประเภทข้อมูลที่ต้องเก็บตลอดจนการใช้กระบวนการอบรมฝึกให้เกิดการเรียนรู้การวิเคราะห์ การเขียนแผน/โครงการเสนอของบกองทุนตำบล • เครื่องมือชุดแบบแบบสอบถาม,App เชื่อมกับระบบข้อมูลกองทุน/บูรณาการร่วมกับระบบเว้ปไซต์กองทุนเพื่อการสร้างเสริมอาชีวอนามัยในวัยทำงานกลุ่มเสี่ยงในชุมชนผ่านเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล(www.localfund.happynetwork.org)

2.การประเมินผล : ประเมินภายใน  จัดตั้งทีมการประเมินและพัฒนาศักยภาพ
• ระบบข้อมูล : จำนวนพื้นที่ ชุดข้อมูลที่จะเก็บ ( ความเสี่ยง)  จำนวนเป้าหมายที่จะเก็บ • การออกแบบการประเมินเพื่อการเสริมพลังทีมงาน กลุ่มเป้าหมาย •  ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ :เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เป็นกลุ่มหลัก ( จำนวนการใช้ พื้นที่การใช้ การป้องกันในการใช้  จำนวนโครงการที่ขอใช้งบกองทุนตำบล ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาของพื้นที่) พื้นที่ประเมิน วัดผลที่พื้นที่เดิมในกรณีที่เกิดนวัตกรรม พื้นที่ใหม่วัดผลตามกิจกรรม •  พื้นที่ตัวอย่าง/พื้นที่ต้นแบบ :การวัดผลสำเร็จ นวัตกรรม (จำนวนพื้นที่) ในรูปแบบของเขต 12

การประเมินภายใน วัตถุประสงค์ :รู้สถานการณ์ของพื้นที่ (ตนเอง /พี่เลี้ยง /ส่วนกลาง )และการใช้ข้อมูลจากการประเมินวางแผนพัฒนาปรับกระบวนการและสร้างการเรียนรู้
รูปแบบการประเมินเพื่อเสริมพลัง ประเมิน 3 ระดับ
• ทีมพื้นที่ประเมินตนเอง • พี่เลี้ยงระดับเขต / ภาค... ( คุณอ้อย / อาจารย์แสง / คุณจุรีรัตน์/ คุณหญิง / คุณวนิดา / คุณสากุล • ทีมกลาง ( คุณหญิง /คุณอ้อย /คุณวนิดา / คุณอรจิตต์ /คุณแอ็ด /คุณแอ๊ว /ดร. ประวิตร์ และ สคร 11 )

การบ้าน :ทีมประเมินภายในโครงการ ( เขต 12) : เขตละ 4 คน ใครบ้าง.......
• เขต 11 : จุรีรัตน์ / อนันต์ / กรวรรณ/ ดร. ปวิตร • เขต 12 : อ. แสง ( เขต 12 หาคนเพิ่ม )
• ทีมประเมินกลาง  5 คน ( อ.วนิดา / วราพันธุ์ / ศิมาลักษณ์/ อ. แสง /จุรีรัตน์

นางสาวยุรี แก้วชูช่วง หารือเวทีประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยง (Coaching Team) ในวันที่ 8-9 เดือนตุลาคม พ.ศ.2562 เนื้อหาวันที่8 ตุลาคม 2562 (รู้ตัวตน รู้บทบาทการทำงานเป็นทีม) • บทบาทของกลไกระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับพื้นที่/ระดับตำบล • ความรู้ แรงงานนอกระบบ,ความรู้เรื่องอาชีวอนามัย,ความรู้เรื่องระบบบริการ
• กองทุนสุขภาพตำบล • การทำความเข้าใจโครงการและภารกิจในการขับเคลื่อนงานฯ (การพัฒนาระบบข้อมูล, การร่วมประเมินอย่างมีส่วนร่วม ,การพัฒนาต่อยอดและสรุปบทเรียนสิ่งที่ทำมา) • ใช้กระบวนกลุ่ม การนำเสนอบทเรียนเพื่อการวิเคราะห์ และเรียนรู้

เนื้อหาวันที่9 ตุลาคม2562 (รู้สถานการณ์และกำหนดแนวทางการพัฒนาและการขยายผล) • สถานการณ์การสนับสนุนงบของกองทุนตำบล
• สถานการณ์การพัฒนากลุ่มแรงงานในปี2562
• แบ่งกลุ่ม เสนอสถานการณ์ต้นทุนของพื้นที่และสถานการณ์อุบัติการณ์ของโรค ตลอดจนหน่วยงานแหล่งสนับสนุน
• แบ่งกลุ่มวิเคราะห์และเสนอแนวทางการขยายผล และนำเสนอในกลุ่มใหญ่

ในส่วนสถานที่ประชุมให้ทางคณะทำงาน นางสาวอารีย์และว่าที่ ร.ต.หญิงคณิชญา ได้เลือกสถานที่ที่มีความเหมาะสม เดินทางสะดวกสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม ประสานงานพี่เลี้ยงเชิญพี่เลี้ยงเข้าร่วมประชุมตัวแทนจังหวัดละ 5 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับเขต (Core team) นายฉลอง พัฒโน รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองคอหงษ์ มีความเข้าใจการดำเนินโครงการฯ ประเด็นแรงงานนอกระบบเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาประชุมร่วมกับคณะทำงานโครงการฯ ในการประชุมมีการเสนอให้เพิ่มสัดส่วนของท้องถิ่น ซึ่งในที่ประชุมได้เสนอ นายสริยา ยีขุน นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลปริก

2.การเตรียมหลักสูตรอบรมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับจังหวัด (Coaching Team) ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม ในการอบรมจะมีบรรยายให้ความรู้เรื่องอาชีวอนามัย โดยอาจารย์แสงอรุณ และนางสาวฟาอีซ๊ะ (สคร.)  และแบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงจังหวัดในการจัดทำแผนงาน ลงบนเว้ปกองทุนฯ (www.localfund.happynetwork.org)

ลงพื้นที่ประสานจัดประชุมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงการ Coaching จัดทำแผนและพัฒนาโครงการฯ2 ตุลาคม 2562
2
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 13.00 น.ลงพื้นที่ประสานการจัดประชุม ณ รร.หาดแก้วรีสอร์ท ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เพื่อดูห้องประชุม ห้องพัก และการเลือกเมนูอาหาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการปรับเปลี่ยนห้องประชุมจากเดิมห้องเฟื่องฟ้า1 เป็นห้องประชุมศาลาเสี่ยงสน เนื่องจากมีความเหมาะสม และมีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยมากกว่าห้องเดิม

การบริหารจัดการโครงการ เดือนกันยายน 256230 กันยายน 2562
30
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

-นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี 10,000 บาท

-ว่าที่ ร.ต.หญิงคณิชญา แซนโทส 5,000 บาท

2.สำรองจ่าย นางสาวยุรี แก้วชูช่วง 10,200 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

-นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี 10,000 บาท

-ว่าที่ ร.ต.หญิงคณิชญา แซนโทส 5,000 บาท

2.สำรองจ่าย นางสาวยุรี แก้วชูช่วง  10,200 บาท

ประชุมวางแผนทีมติดตาม ประเมินผลภายใน การจัดทำระบบฐานข้อมูล ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่23 กันยายน 2562
23
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา 13.00 -16.30 น.ประชุมวางแผนทีมติดตามภายใน การจัดทำข้อมูลผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ชั้น 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วาระที่1 เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ชี้แจงแผนการดำเนินงานโครงการฯ ในช่วงปี 2561 นำร่องใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย
- จังหวัดตรัง ได้แก่ อบต.นาหมื่นสี
- จังหวัดพัทลุง ได้แก่ อบต.เกาะหมาก , ทต.เกาะหมาก - จังหวัดสตูล ได้แก่ อบต.ปากน้ำ - จังหวัดปัตตานี ได้แก่ ทต.หนองจิก ,อบต.บานา - จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อบต.โคกเคียน - จังหวัดยะลา ได้แก่ ทม.เบตง - จังหวัดสงขลา ได้แก่ เทศบาลนครหาดใหญ่ , เทศบาลนครสงขลา

จากการพัฒนาโครงการมีโครงการผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนจำนวน 21โครงการ และมีบางส่วนที่ตกหล่นไป เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนยังไม่เข้าใจ ดังนั้นการดำเนินโครงการฯในปี ุ62-63 ได้มีการดำเนินการในรูปแบบดังนี้
1 การพัฒนากลไกทีมระดับเขต ( จำนวน 10 คน) ประกอบด้วย 3 ภาคส่วน คือ ผู้ประสานงานกองทุนสุขภาพตำบล สปสช.เขต 12 สงขลา ผู้แทนพี่เลี้ยงกองทุน สปสช. นักวิชาการในพื้นที่ ภาคประชาสังคมด้านแรงงานนอกระบบ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานการควบคุมโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากการทำงาน สคร. เลขานุการหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในฐานะเลขานุการ พชอ. ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง การเลือกพื้นที่ และให้คำแนะนำการดำเนินโครงการ

2 ทีมระดับพื้นที่ ทีมพี่เลี้ยงจังหวัด ๆละ 10คน รวม 70 คน มีการเพิ่มศักยภาพพี่เลี้ยงในการ coaching เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของสสส. สปสช.และสธ. ในประเด็นแรงงานนอกระบบรวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ และการติดตามประเมินผลระดับจังหวัด และระดับพื้นที่หรือกองทุน

3.กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และประเด็นอื่น ๆ ตามบริบทของพื้นที่ ในพื้นที่นำร่อง 140 กองทุนได้ข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ตามบริบทของพื้นที่ ที่มีคุณภาพ จำนวน 280 โครงการ

วาระที่ 2 : ประเด็นการหารือ การเตรียมจัดเวทีพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง coaching ในช่วงเดือนตุลาคม 2562 ซึ่งจะมีพี่เลี้ยงมาอบรมจังหวัดละ10คน อาจจะมีการปรับให้เหลือจังหวัดละ5 คน มาเป็นตัวแทน จากเดิมทีวางแผนไว้ที่จะอบรมเป็นโซนพื้นที่ ลดลงมาจัดครั้งเดียว
ในส่วนของหลักสูตรการอบรมจะให้ทางอาจารย์แสงอรุณ ช่วยการออกแบบเนื้อหา และจะมีการนัดประชุมเตรียมในครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการระดับเขต ประกอบด้วยอาจารย์แสงอรุณ และ ตัวแทนจากสำนักงานควบคุมโรคที่12สงขลา (สคร.) มีความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ ประเด็นแรงงานนอกระบบ

2.ได้แนวทางการอบรมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง coaching จากเดิมที่มีแผนอบรมจำนวน 2ครั้ง ตามโซนจังหวัด มีการปรับให้เหลือ 1ครั้ง และให้มีตัวแทนพี่เลี้ยงเข้าอบรมจำนวน5คน/จังหวัด เพราะมีข้อกำจัดในเรื่องของงบประมาณ

การบริหารจัดการโครงการ เดือนสิงหาคม 256231 สิงหาคม 2562
31
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการผู้ประสานงานหลัก เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการด้านเนื้อหาวิชาการ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการด้านบริหารงานทั่วไป เป็นเงิน 5,000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการผู้ประสานงานหลัก เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการด้านเนื้อหาวิชาการ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการด้านบริหารงานทั่วไป เป็นเงิน 5,000 บาท

ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการและคณะทำงานจากแผนงานกลาง30 สิงหาคม 2562
30
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 30 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00 น. ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการฯและคณะทำงานจากแผนงานกลาง ณ ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ชั้น 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

อาจารย์ อรพิน วิมลภูษิต ได้กล่าวถึงกรอบการแลกเปลี่ยนและหารือการทำงานร่วมกัน ในโครงการ โดยการนำเสนอผ่านไดอะแกรม ดังนี้ 1.ทบทวนเป้าหมาย กระบวนการ และตัวชี้วัด สู่ความเข้าใจกรอบคิด ขอบเขตและนิยามที่ตรงกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้ เป้าหมายปลายทาง คือ ความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 10 จากการได้รับบริการเชิงรุกและมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อ - ขอบเขตของข้อมูลและองค์ความรู้ - ความหมาย และ กรอบการพัฒนาศักภาพ ใครบ้าง และ ระดับไหน - การบูรณาการในความเข้าใจและความหมายที่ตรงกัน
ตัวชี้วัด
มีความชัดเจนเรื่องความหมายและความเข้าใจที่ตรงกัน equirements ระดับไหน ขั้นต่ำ /สูงสุด
การประเมินผลและเสริมศักยภาพ กลไกและวิธีการ ด้านการบริหารจัดการ
- คนทำงานคือ ใครบ้าง มีบทบาทอย่างไร - วิชาการ / นโยบาย - การจัดการ ปฏิบัติการ - ใครคือคนหมุน - ใคร คือ คนกำกับหลัก ใครสนับสนุนอย่างไร
- งบประมาณ การดำเนินงานและการบริหาร - การจัดการข้อมูลและการรายงาน

  1. กระบวนการทำงาน
    กิจกรรมหลัก และกลยุทธ Requirements , How to and Mechanisms มี priority และจุดเน้น
    output แผนปฏิบัติการ Q1 และงวดแรก แบบ Action plan - Mobilizing , Monitoring การวิเคราะห์/สังเคราะห์ ประเมินผล และ สรุปบทเรียน และรายงาน ระดับกิจกรรมหลัก กิจกรรมย่อย ให้เห็น How to นอกจากนี้ อาจารย์อรพิน ได้กล่าวถึงเรื่องการจัดการข้อมูลความเสี่ยงจากอาชีพและสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ ความมีข้อมูลดังนี้

1.ระดับความเสี่ยง

2.โปรแกรมการจัดการสุขภาพ (การส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน)

3.ฐานข้อมูล อันประกอบด้วย 1.กลุ่มอาชีพ ซึ่งได้มาจาก อปท

4.ข้อมูลสิ่งคุกคามได้ข้อมูลจาก อสอช/ อสร./อสม.

5.ข้อมูลพฤติกรรม ได้ข้อมูลจาก อสอช/อสร./อสม.

6.ข้อมูลความเจ็บป่วย ได้ข้อมูลจาก รพสต./รพช

7.ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้ข้อมูลจาก รพสต./รพช.

หลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว ต้องประเมินความถูกต้องและครอบคลุม โดยคณะทำงานหรือกลไกระดับพื้นที่(จังหวัด ,อำเภอ,ตำบล)(พี่เลี้ยง) ส่งกลับข้อมูลมายังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สู่สปสช ระดับเขต ต่อไป พิจารณา

หลังจากนั้น เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ได้นำเสนอข้อมูลโครงการในที่ประชุม โดยได้ยกเรื่องการแจ้งผลการพิจารณาเพื่อปรับแก้ไขข้อเสนอโครงการ เขต 12จากบันทึกข้อความเลขที่ อชว.004/2562 ทางเภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ และทีมงานได้ร่วมแก้วัตถุประสงค์ดังนี้

1.พัฒนาศักยภาพทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง อาสาสมัครอาชีวอนามัย คณะกรรมการกองทุนในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในระดับพื้นที่

2.การนำร่องพื้นที่ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โครงการดังกล่าวจะเป็นการเสริมพลังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.การพัฒนาระบบข้อมูลและสู่การยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะด้านคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่

จากนั้นได้กล่าว ถึง การเข้าไปรายงานผ่านwebsite:localfund.happynetwork.org โดยมีความง่ายและสะดวกต่อคณะทำงานที่จะรายงานกิจกรรมของโครงการและพี่เลี้ยงระดับพี้นที่จังหวัด อำเภอ และตำบลสามารถเข้าไปใช้เว็ปไซต์ในการพัฒนา โครงการ และ รายงาย สื่อสารข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีห้องเรียนออนไลน์ ที่สะดวกในการสื่อสาร และ ประชุม กับพื้นที่อย่างสะดวกมากขึ้น อีกทั้ง ระบบยังเอื้อต่อการลดการทำข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ลดการใช้กระดาษ ย่อระยะเวลาในการติดตามผลจากพี่เลี้ยง และแต่ละโครงการสามารถ บันทึกข้อมูลต่างๆ และพิมพ์ออกมาได้อีกด้วย

จากนั้นที่ประชุมจึงได้แลกเปลี่ยนกันถึงเรื่องการจัดตั้งคณะตรวจประเมิน ภายใน และเสริมศักยภาพการทำงาน โดยผ่านงบประมาณจากส่วนกลาง ทีมประเมินภายในจะเข้ามาหนุนเสริมการทำงานระบบฐานข้อมูล เครื่องมือในการทำงาน เสริมศักยภาพการทำงานของทีมทำงานและเครือข่ายพี่เลี้ยง

การบริหารจัดการของคณะทำงานโดย ส่วนกลางจะจ่ายค่าตอบแทนนักวิชาการ (ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย) ค่าตอบแทนผูรับผิดชอบด้านงานวิชาการ(นางสาวยุรี แก้วชูช่วง) ที่ปรึกษาโครงการ(นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการฯ เขต 12 มีความเข้าใจการดำเนินโครงการเพิ่มมากขึ้น

2.มีการปรับวัตถุประสงค์โครงการให้มีความสอดคล้องกับโครงการในประเด็นแรงงานนอกระบบ และการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

การประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการในการวางแผนงานและติดตามการดำเนินโครงการฯ :ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการและคณะทำงานจากแผนงานกลาง22 กรกฎาคม 2562
22
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.00-15.00 น. ณ.ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต12 สงขลา อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ชั้น 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประชุมโครงการกลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับแรงงานนอกระบบ เพื่อหารือและกำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และการนำเสนอโครงการฯ กรอบคิดและกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ โดยอาจารย์อรพิน วิมลภูษิต ได้กล่าวว่า คุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบนั้น ต้องมีปัจจัยและหน่วยงานต่างๆเข้าบูรณางานร่วมกัน ดังนี้

1.ด้านการคุ้มครองแรงงานและการมีหลักประกันทางสังคมตามมาตรา 40 , กอช.และสวัสดิการชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องโดยมีกระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตร กระทรวงการคลัง อปท.และพม.เข้ามาร่วมด้วย

2.ด้านสุขภาพและความปลอดภัย ต้องมีหน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค ,สปสช. ,สสส.,กรมสวัสดิการและสังคม กระทรวงแรงงาน ,อปท. กระทรวงมหาดไทย

3.ด้านองค์กรแรงงาน ผู้นำ เครือข่ายแรงงาน จำเป็นต้องมี สภาองค์กรชุมชนเข้ามาร่วมด้วย สภาเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มารีวมกันขับเคลื่อน

4.ด้านสัมมาชีพ ต้องมีหน่วยงาน พช. หรือ กศน.เข้ามาร่วมอีกทั้งต้องมีกลุ่มภาคเกษตรกร แรงงาน พานิชย์ อุตสาหกรรม และภาคเอกชน นอกจากนี้ สถาบันการศึกษา นักวิชาการ และ กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร(NGOs)ในระดับภูมิภาคหรือระดับจังหวัดเข้ามาร่วมด้วย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลือนแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ร่วมกันซึ่งหากจะเกิดกลไกการ  ขับเคลือนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมี กลไกสำคัญคือ กลไกการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ คือ ่ระดับชุมชน ระดับตำบล และระดับอำเภอ ที่เข้าถึงและเข้มแข็ง ซึ่งเป็นผลกระทบเชิงบวกที่ดีของการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนั่นเอง จากเป้าหมายการส่งเสริมการป้องกันโรคกลุ่มแรงงานนอกระบบ โครงการในปีที่ผ่านมานี้เป็นเป้าหมายระยะสั้นที่จัดทำขึ่นในเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม 2561ได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางได้ด้วยดีและ สำเร็จได้ทันเวลา ท่านอาจารย์อรพินได้ กล่าวชื่นชมการทำงานของเขต 12 สงขลา ที่ได้ทำโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ(อาชีวะอนามัย)ในพื้นที่เขต12 และได้ดำเนินการต่อในปี 2562-2563 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการส่งเสริมป้องกันโรคกลุ่มแรงงานนอกระบบ ของสสส. ที่มุ่งเน้นการจัดการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อหรือส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น หน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิและกลุ่มหรือเครือข่ายแรงงานนอกระบบในพื้นที่เป้าหมาย

เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ได้สรุปทบทวนผลการดำเนินโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ(อาชีวะอนามัย)ในเขตพื้นที่ 12 สงขลาให้ที่ประชุมทราบดังนี้ โครงการมีกระบวนการสำคัญ 3 ขั้นตอน ได้แก่

  1. การประชุมกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบระดับพื้นที่ เขต 12 สงขลา

  2. พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวะอนามัยในระดับชุมชนท้องถิ่น

3.พัฒนาแผนแรงงานนอกระบบ (กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง)โครงการเข้าสู่กองทุนสุขภาพท้องถิ่น ซึ่งผลลัทธ์จากทำแผนแรงงานนอกระบบใน 7 จังหวัด ของเขต12 ได้ โครงการที่เข้าสู่กองทุนท้องถิ่น จำนวน 21 โครงการ เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ยังกล่าวถึง สถานการณ์ทางการเงินคงเหลือสะสม ของทั้ง 7 จังหวัด สามารถกล่าวได้ว่าเงินพร้อมกับการทำงานอย่างยิ่ง นอกจากนี้ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนากองทุนสุขภาพตำบลเขต 12 สงขลา ที่เป็นจุดแข็งของการทำงานคือ 1. )การมีพี่เลี้ยงประจำกองทุนตำบล ซึ่งพี่เลี้ยงมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษากองทุนที่รับผิดชอบ เช่น การปรับแผน การปรับโครงการ 2.) มีระบบโปรแกรมบริหารกองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้ www.localfund.happynetwork.org เพื่อให้การสื่อสารและการรายงานผล ในการดำเนินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบโดยกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(สปสช.) กลไกสุขภาพภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดย คณะบุคคลพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบเขต 12 เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์
1.พัฒนาศักยภาพทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง อาสาสมัครอาชีวะอนามัยในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในระดับพื้นที่

2.การนำร่องพื้นที่ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตัวชีวัด ผลผลิต ผลลัพธ์ของโครงการ 1. ด้านการจัดการความรู้ นวัตกรรม และสื่อรณรงค์ 2 ได้คู่มือการพัฒนา และติดตามโครงการ อย่างน้อย 2 ชุด 3.ได้เอกสารชุดการสังเคราะห์ความรู้และประสบการณ์การบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ แรงงานนอกระบบ ระดับพื้นที่ 4.เกิดชุดสื่อรณรงค์เพื่อการสื่อสารสาธารณะที่เป็น Mass idea อย่างน้อย 1 เรื่อง 5.เกิดการสื่อสารเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานสู่สังคมวงกว้างเพื่อสร้างความตระหนักต่อการสร้างเสริมสุขภาวะตนเอง 6.ได้ข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานของรระบบ สสส., สปสช.,และ สธ.โดยเป็นโครงการที่มีคุณภาพร้อยละ 80 7.ได้ระบบสารสรเทศ Online ที่ใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกรระบบระดับพื้นที่ 8. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเกิดความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาวะ 9.ทีมพี่เลี้ยง นักวิชาการ และผู้เสนอโครงการร้อยละ 100 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผลและนำความรู้ไปปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ 10.เกิดข้อเสนอโครงการ 140 โครงการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในพื้นที่ 14 อำเภอของ 7 จังหวัด 11.เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในการบูรณาการทำงานร่วมของสสส. สปสช. และ สธ.ที่สามารถนำไปขยายผลในเชิงพื้นที่ และนโยบาย 12.เกิดพื้นที่สุขภาพวะต้นแบบ 1 พื้นที่ 13.เกิดพื้นที่ต้นแบบนำร่องในการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบรับดับ่พื้นที่อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง 14.อาสาสมัครอาชีวะอนามัยชุมชนอย่างน้อยตำบลละ 5 คน ที่มีความรู้ในการวิเคราะห์จัดการความเสี่ยงจากการทำงานด้วยตนเองและกลุ่ม 15.เกิดนโยบายสาธารณะทั้งระดับชาติ ระดับพื้นที่ ระดับหน่วยงาน 16.เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายในระบบบริการสุขภาพ ในการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบระดับพื้นที่ 17.กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนและโครงการการสร้างเสริมสุขภาวะ ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบที่เกี่ยวข้องตามบริบทของพื้นที่ประมาณ 140 กองทุน

แนวทางการทำงาน เขต 12

1.ทีมงานระดับเขต 12 (7-8 คน)

2.ตัวแทนจังหวัด เลือกกองทุนตำบล 20 แห่ง ต่อ จังหวัด

3.เลือกทีมระดับจังหวัด 10 คนต่อจังหวัด

4.เน้นกระบวนการพัฒนาแผน และ โครงการ อนุมัติโครงการ

5.จัดถอดบทเรียน ผลงาน ประเมินคุณค่าโครงการ และแสดงข้อมูลบนเว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการจากแผนงานกลาง และคณะทำงานโครงการ เขต 12 จำนวน....12.....คน ทำความเข้าใจโครงการฯ ร่วมกัน