กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดสงขลา 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)12 ธันวาคม 2562
12
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น.-15.30 น. พี่เลี้ยงจังหวัดสงขลาจัดประชุมชีแจงโครงการฯแรงงานนอกระบบ ให้กับ กองทุนนำร่อง ในพื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จำนวน 20 กองทุน
- นายธนพนธ์ จรสุวรรณ ผอ.รพ.สต.ท่าหมอไทร อธิบายความสำคัญ และการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มแรงงานนอกระบบ
- อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี อธิบายการจัดทำแผน และการะพัฒนาโครงการ แรงงานนอกระบบ ให้กับกองทุนที่เข้าร่วม กองทุนฯร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ ดังนี้

  • ต.ท่าหมอไทร สถานการณ์แรงงานอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /รับจ้างทั่วไป / ทำนา

  • ต.ขุนตัดหวาย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /ค้าขาย/รับจ้างทั่วไป

  • ต.แค สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/ทำขนม/ปรุงอาหาร

  • ต.คู สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.ตลิ่งชัน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /รับจ้างแกะปูปลา/รับซื้อของเก่า/เก็บขยะ

  • ต.น้ำขาว สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/แม่ค้า

  • ต.สะพานไม้แก่น สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / รับจ้างยกไม้ยาง/รับจ้างตัดหญ้าสวนยางพารา/สวนผลไม้

  • ทต.บ้านนา สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

  • ทต.นาทับ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /ร้านซ่อมมอเตอร์ไชค์/โรงกลึง/สวนแตงโม

  • ต.ป่าชิง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.จะโหนง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ปลูกผัก

  • ต.นาหว้า สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา

  • ต.สะกอม สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง /ออกทะเล /ปลดปู/ผูกอวน/ปลูกผัก/สวนยางพารา/แม่ค้า

  • ทต.นาทวี สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ แม่ค้าตลาดสด / พนักงานเก็บขยะ /

  • ทต.นาทวีนอก สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้/พนักงานเก็บขยะ

  • ต.คลองทราย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ทับช้าง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ท่าประดู่ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/เกษตรกรปลูกผัก

  • ต.ประกอบ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง

  • ต.สะท้อน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

การวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการทำงาน

  • สารเคมี

  • ท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่ง การยืน การก้ม เป็นต้น

  • ระยะเวลาในการนั่งทำงานที่นานเกิน ไม่ได้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือการปรับท่าทาง ทำให้ป่วย และมีการอาการปวดเมื่อย

  • อุบัติเหตุ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือช่าง

  • สายตา

  • ฝุ่นละออง

  • สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ เป็นต้น

  • การสัมผัสเชื้อโรค เช่น คนเก็บขยะ

กองทุนที่ไม่ได้เข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ ทต.จะนะ / ต.ฉาง /ต.นาหมอศรี /ต.ปลักหนู และต.คลองกวาง ทางพี่เลี้ยงจังหวัดจะมีการนัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดทีมพี่เลี้ยงกองทุนที่มีจิตอาสา จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ต.ประดู่ /ทต.นาทวี/ต.ท่าหมอไทร และต.สะกอม
  • กองทุนนำร่องมีความเข้าใจในการจัดทำแผน และโครงการแรงงานนอกระบบ
  • มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการเสนอต่อกองทุนสุขภาพตำบลในระดับท้องถิ่นได้
  • เจ้าหน้าที่กองทุนเข้าใจแนวทางการใช้เครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูล(แอพลิเคชั่น)